ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ธรรมสวนิยเถราปทานที่ ๙ (๓๓๙)
ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม
[๓๔๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง ทรงประกาศสัจจะ ๔ ยังชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้น (ทุกข์) สมัยนั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะอัน สูงเด่น สลัดผ้าเปลือกไม้กรอง (ผ้าคากรอง) เหาะไปในอัมพรในบัดนั้น แต่เราไม่อาจจะไปในเบื้องบนแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดได้ เวลานั้น เราเป็นเหมือนนกกระทบภูเขาหินไปไม่ได้ ความเป็นไปที่ผิดแปลกเช่นนี้ไม่ เคยมีแก่เราเลย เราเหาะไปในอัมพร เหมือนดังหลับตาไปในน้ำ ก็มนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ประเสริฐจักมีอยู่ภายใต้นี้กระมังหนอ ถ้าเช่นนั้นเราจักค้นหาเขา บางทีจะพึงได้ประโยชน์บ้างเมื่อเราลงจากอากาศ ได้ฟังเสียงของพระศาสดา ซึ่งกำลังตรัสอนิจจตาอยู่ เราจึงเรียนอนิจจาตานั้นในขณะนั้น ครั้นเรียน อนิจจสัญญาแล้ว ได้กลับไปสู่อาศรมของเรา เราอยู่ตลอดกำหนดอายุแล้ว ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น เมื่อภพที่สุดยังเป็นไปอยู่ เราระลึกถึงการฟังธรรม นั้นได้ ด้วยกุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น เราได้ไปสู่ดาวดึงส์ เรารื่นรมย์อยู่ ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัลป ได้เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๕๑ ครั้ง ได้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๑ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยจะคณนานับมิได้ พระสมณะผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว นั่งบนเรือน ของบิดา แสดงด้วยคาถา เปล่งวาจาถึงเรื่องไม่เที่ยง เราระลึกถึงสัญญานั้น ได้ ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ แทงตลอดซึ่งที่สุดคือ นิพพาน อัน เป็นบทไม่เคลื่อน ยังไม่ได้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้น สงบระงับเป็นสุข เราระลึกถึงบุรพกรรมได้ พร้อมกับได้ฟังคาถา เรานั่ง อยู่บนอาสนะเดียวนั่นเอง ได้บรรลุอรหัต เรามีอายุ ๗ ปี แต่กำเนิด ได้ บรรลุอรหัต พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุทรงรู้คุณแล้ว ให้เราอุปสมบท กิจอะไร ที่เราพึงทำในวันนี้ ในศาสนาของพระศากยบุตร เรายังเป็นเด็กอยู่เที่ยว ได้ทำกิจที่พึงทำนั้นสำเร็จแล้ว ในกัลปที่แสนแต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมใดใน กาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลเพราะการฟังธรรม คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำ ให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระธรรมสวนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ธรรมสวนิยเถราปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๗๐๗๑-๗๑๐๑ หน้าที่ ๓๒๕-๓๒๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=7071&Z=7101&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=32&A=7071&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=341              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=341              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=32&A=8324              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=32&A=8324              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap341/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]