บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ชตุกัณณิกเถราปทานที่ ๙ (๔๐๙) ว่าด้วยผลแห่งการบำรุงพระพุทธองค์ [๔๑๑] ในกาลนั้น เราเป็นบุตรเศรษฐีอยู่ในนครหงสวดี เพียบพร้อมแวดล้อมอยู่ ด้วยกามคุณทั้งหลาย ในกาลนั้น เราขึ้นอยู่ในปราสาท ๓ หลัง ใช้สอย โภคสมบัติมากมาย แวดล้อมด้วยการฟ้อนรำขับร้องอยู่ในปราสาทนั้น นัก ดนตรีอันประกอบด้วยเครื่องประโคมอย่างดีมาประโคมเรา หญิงทั้งปวง บำเรอเรา นำเอาใจของเราไป นักเจลาวกา นักวามนิกา กุญชวาสีหิมชฺฌิตา นักห้อยโหน นักจำอวด ย่อมแวดล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ คนเฝ้ายาม คนตีกลอง นักเต้นรำ นักฟ้อนรำ ลคร และพวกดีดสีตีเป่าเป็นอันมาก แวดล้อม เราอยู่ทุกเมื่อ ช่างกัลบก คนรับใช้เมื่ออาบน้ำ พ่อครัว ช่างดอกไม้ สุปาสกา ช่างกัลบก และนักมวย ทั้งหมดแวดล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ เมื่อคน เหล่านั้นแสดงกีฬาอยู่ เมื่อเราชื่นชมการบำเรอที่คนเหล่านั้นทำ เราย่อม ไม่รู้คืนและวัน เปรียบเหมือนพระอินทร์ในดาวดึงส์ คนเดินทาง คน กำพร้า คนขอทาน นักสืบ (นักเที่ยว) เป็นอันมาก ย่อมเข้ามาขอเรา จนถึงเรือนเป็นนิตย์ สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นบุญเขตอย่างยิ่ง เมื่อจะยังบุญของเราให้เจริญ ย่อมมาจนถึงเรือนเรา พวกนิครนถ์นุ่งผ้าลฏุกา เอาดอกไม้กรองนุ่ง ถือไม้ ๓ อัน ขมวดผมรวมกัน ทั้งปวง ย่อมมาหา เราจนถึงเรือน พวกอาชีวกถอนผม ถือว่าตนประเสริฐ เกลือกกลั้วด้วย ละอองธุลีเหล่านี้ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน ปริวตฺตกา สิทฺธปตฺตา โกธปุคฺคนิกา พหู ตปสี วนจารี จ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน คนตาบอด คนทมิฬ สากุฬา มลยาฬกา สวรา โยนกา เจว ย่อมมาหาเราจนถึง เรือน คนฺธกา มุณฺฑกา สพฺเพ กุฏฺฐลา สานุวินฺทกา อาราว จีนรฏฺฐา จ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน อลสนฺทกา ปลฺลวกา ปพฺพตานคฺคมารุหา พาหิกา เจตปุตฺตา จ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน ชาวมธุรรัฐ ชาวโกศล รัฐ ชาวกาสี ชาวหัตถิบุรี ชาวอิสินทรัฐ ชาวมักกลรัฐ ย่อมมาหาเรา จนถึงเรือน เจลาวกา อารมฺพา จ โอภาสา เมฆลา พหู ขุทฺทกา สุทฺทกา เจว ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน โรหกา สินฺธวา เจว จิตฺตกา เอกกณฺณิกา สุรฏฺฐา อปรนฺตาจ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน สุปารกา กุมาราจ มลยา โสณฺณภูมิกา วิชฺชิหารา จ เต สพฺเพ ย่อมมาหาเรา จนถึงเรือน ช่างสาน ช่างหูก ช่างหนัง ช่างถาก คนงาน และช่างหม้อ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน ช่างแก้ว ช่างเหล็ก ช่างทอง ช่างเย็บผ้า และ ช่างดีบุก ทั้งหมดนั้น ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน ช่างศร ช่างกลึง คนรับใช้ ส่งของ ช่างปรุงของหอม ช่างย้อม และช่างชุน ย่อมมาหาเราจน ถึงเรือน คนขาย น้ำมัน คนหาฟืน คนหาบน้ำ คนรับใช้ คนหุงต้ม คนตักน้ำ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน คนเฝ้าประตู ทหาร ช่างกรองดอกไม้ คนทิ้งดอกไม้ ควาญช้าง คนเลี้ยงช้าง ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน เราได้ ถวายแก่พระราชาพระนามว่าอานันทะทุกอย่าง เรายังความพร่องด้วยรัตนะ มีวรรณ ๗ ประการให้เต็ม คนทั้งหมดมากด้วยกันมีวรรณะต่างกันเหล่าใด ที่เราตั้งไว้แล้ว เรารู้จิตของคนเหล่านั้นแล้วให้เขาอิ่ม (พอใจ) แม้ด้วย รัตนะ เมื่อดนตรีมีเสียงไพเราะบรรเลงอยู่ เมื่อกลองดังก้องอยู่ เมื่อสังข์ เขาเป่าอยู่ เรารื่นรมย์อยู่ในเรือนของตน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค พระนามว่าปทุมุตระ พระองค์ผู้มีจักษุ พร้อมด้วยภิกษุขีณาสพประมาณ แสนรูป เสด็จดำเนินไปตามถนนด้วยกัน ทรงยังทิศทั้งปวงให้สว่าง โชติช่วง เหมือนต้นไม้ประจำทวีป เมื่อพระองค์ผู้นำของโลกกำลังเสด็จ ไป กลองทั้งปวงยังดังก้องอยู่ รัศมีของพระองค์สว่างไสวดุจพระอาทิตย์ อุทัย ฉะนั้น ขณะนั้น แสงสว่างจ้าส่องเข้าไปภายในเรือนของเรา ด้วย พระรัศมีที่ส่องเข้าไปทางช่องหน้าต่าง เราเห็นรัศมีของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กล่าวกะพวกบริษัทว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดเสด็จมาถึงถนนนี้แน่ แล้ว เรารีบลงจากปราสาทแล้ว ได้ไปสู่ระหว่างถนน ถวายบังคมพระ- สัมพุทธเจ้า ได้กราบทูลดังนี้ว่า ขอพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระทรง อนุเคราะห์ข้าพระองค์ พระมุนีพระองค์นั้นพร้อมด้วยพระอรหันต์แสนรูป ทรงรับนิมนต์ ครั้นเรานิมนต์พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้นำพระองค์มาสู่ เรือนของตน อังคาสพระมหามุนีให้ทรงอิ่มหนำ ด้วยข้าวและน้ำในเรือนนั้น เรารู้เวลาที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้คงที่กำลังเสวย ได้บำรุงพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด ด้วยการขับร้องและดนตรี พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งอยู่ภายในเรือน ได้ตรัส พระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดบำรุงเราด้วยดนตรี แลได้ถวายข้าวน้ำแก่เรา เรา จักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว คนผู้นี้จักเป็นผู้มีอาหาร มากมาย มีเงิน มีโภชนะ เสวยรัชสมบัติผู้เดียวในทวีปทั้ง ๔ จัก สมาทานศีล ๕ ยินดีในกรรมบถ ๑๐ ครั้นสมาทานแล้วก็ประพฤติ ยัง บริษัทให้ศึกษา นางสาวแสนคน อันประดับประดาสวยงาม จักบรรเลง ดนตรีบำเรอผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการบำรุง ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ใน เทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัลป จักได้เป็นจอมเทวดา เสวยรัชสมบัติใน เทวโลก ๖๔ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๔ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า ประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้ ในแสนกัลปแต่กัลปนี้ พระ ศาสดามีพระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จัก เสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้เข้าถึงกำเนิดใด คือเป็นเทวดาหรือมนุษย์ จักเป็น ผู้เล่าเรียน รู้จบไตรเพท จักเที่ยวแสวงหาประโยชน์อันสูงสุดอยู่ใน แผ่นดิน ในกาลนั้น และภายหลัง เขาบวชแล้ว อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักยินดียิ่งในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม ผู้นี้จักยังพระ- สัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมศากยบุตรให้โปรดปราน เผากิเลสทั้งหลาย แล้ว จักได้เป็นพระอรหันต์ วันนี้ เราเป็นผู้ไม่ครั่นคร้ามอยู่ในศาสนาของ พระศากยบุตร เปรียบเหมือนพระยาเสือโคร่ง และพระยาไกรสรราชสีห์ใน ป่าใหญ่ ฉะนั้น เราไม่เห็นการบังเกิดของเราในเทวโลกก็ดี ในมนุษยโลก ก็ดี เป็นคนยากจนหรือเข็ญใจเลย นี้เป็นผลแห่งการบำรุง เราเป็นผู้ ขวนขวายในวิเวก สงบระงับ ไม่มีอุปธิ ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัด เชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษ เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้ชัด แจ้งแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระชตุกัณณิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.จบ ชตุกัณณิกเถราปทาน. เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๙๓๕๓-๙๔๓๖ หน้าที่ ๔๒๑-๔๒๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=9353&Z=9436&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=32&A=9353&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=411 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=411 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=32&A=11155 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5466 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=32&A=11155 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5466 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap411/en/walters
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]