ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
มหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕
ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโลมหังสบัณฑิต
[๓๕] เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่กระดูกทำเป็นหมอนหนุน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๐๕.

เด็กชาวบ้านพวกหนึ่ง พากันเข้าไปทำความหยาบช้าร้ายกาจนานัปการ อีกพวกหนึ่งร่าเริงดีใจ พากันนำเอาของหอม ดอกไม้ อาหาร และ เครื่องบรรณาการต่างๆ เป็นอันมากมาให้เรา พวกใดนำทุกข์มาให้ เราและพวกใดให้สุขแก่เรา เราเป็นผู้มีจิตเสมอแก่เขาทั้งหมดไม่มี ความเอ็นดู ไม่มีความโกรธ เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ใน ยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง นี้เป็นอุเบกขา บารมีของเรา ฉะนี้แล.
จบมหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕
-----------------------------------------------------
รวมจริยาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ยุธัญชยจริยา ๒. โสมนัสสจริยา ๓. อโยฆรจริยา ๔. ภิงสจริยา ๕. โสณนันทปัณฑิตจริยา ๖. มูคผักขจริยา ๗. กปีลราชจริยา ๘. สัจจสวหยปัณฑิตจริยา ๙. วัฏฏกโปตกจริยา ๑๐. มัจฉราชจริยา ๑๑. กัณหทีปายนจริยา ๑๒. สุตโสมจริยา ๑๓. สุวรรณสามจริยา ๑๔. เอกราชจริยา ๑๕. มหาโลมหังสจริยา เป็นอุเบกขาบารมีดังนี้ พระผู้มีพระภาคผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ตรัสแล้ว เราได้เสวยทุกข์ และสมบัติมากมายหลายอย่าง ในภพน้อยภพใหญ่ ตามนัยที่กล่าวแล้ว อย่างนี้ แล้วจึงได้บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด เราได้ให้ทานอันควร ให้ บำเพ็ญศีลโดยหาเศษมิได้ถึงเนกขัมมบารมีแล้ว จึงบรรลุสัม- โพธิญาณอันสูงสุดเราสอบถามบัณฑิตทั้งหลายทำความเพียรอย่าง อุกฤษฏ์อย่างถึงขันติบารมีแล้วจึงบรรลุโพธิญาณอันสูงสุด เรากระทำ อธิษฐานอย่างมั่น ตามรักษาสัจจวาจา ถึงเมตตาบารมีแล้ว จึงบรรลุ สัมโพธิญาณอันสูงสุด เราเป็นผู้มีจิตเสมอในลาภและความเสื่อม

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๐๖.

ลาภ ในยศและความเสื่อมยศ ในความนับถือและการดูหมิ่นทั้งปวง แล้ว จึงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด ท่านทั้งหลายจงเห็นความ เกียจคร้านโดยความเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียรโดยเป็น ทางเกษมแล้วจงปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็น ภัย และเห็นความไม่วิวาทโดยเป็นทางเกษมแล้วจงกล่าววาจาอ่อน หวานอันสมัครสมานกันเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเห็นความประมาทโดยความเป็นภัย และ เห็นความไม่ประมาทโดยเป็นทางเกษม แล้วจงเจริญมรรคอันประ- กอบด้วยองค์ ๘ ประการเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลายฯ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงยกย่องบุรพจรรยาของพระองค์ จึงได้ตรัสธรรมบรร- *ยายชื่อพุทธาปทานีย์ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบจริยาปิฎก
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๙๔๓๖-๙๔๗๗ หน้าที่ ๔๐๔-๔๐๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=9436&Z=9477&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=33&A=9436&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=254              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=243              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=33&A=12215              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=33&A=12215              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_33

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]