บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์ มาติกา เอกกมาติกา [๘๔๙] ความมัวเมาในชาติ ความมัวเมาในโคตร ความมัวเมาในความ ไม่มีโรค ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ความมัวเมาในชีวิต ความมัวเมาใน ลาภ ความมัวเมาในสักการะ ความมัวเมาในการทำความเคารพ ความมัวเมาใน ความเป็นหัวหน้า ความมัวเมาในบริวาร ความมัวเมาในโภคสมบัติ ความมัวเมา ในวรรณะแห่งสรีระและคุณความดี ความมัวเมาในการศึกษา ความมัวเมาใน ปฏิภาณ ความมัวเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู ความมัวเมาในความถือบิณฑบาตเป็น วัตร ความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น ความมัวเมาในอิริยาบถ ความมัวเมาใน อิทธิฤทธิ์ ความมัวเมาในยศ ความมัวเมาในศีล ความมัวเมาในฌาน ความมัว เมาในศิลปะ ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสูง ความมัวเมาในความมีทรวดทรง สันทัด ความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์ ความมัวเมา ความประมาท ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความอยากได้เกินประมาณ ความมักมาก ความปรารถนาลามก การพูดเสียดแทง การพูดเกียดกัน การชอบ ตกแต่ง การประพฤติไม่สมควร ความไม่ยินดี ความโงกง่วง ความบิดกาย ความเมาอาหาร ความย่อหย่อนแห่งจิต การหลอกลวง การพูดประจบ การแสดง นิมิต การพูดติเตียน การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ความสำคัญตนว่าเสมอเขา ความสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตน ว่าเลิศกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่า เลวกว่าเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเสมอ เขา ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ความ ถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น ความเย่อหยิ่ง ความดูหมิ่นตัวเอง ความสำคัญว่าได้ บรรลุธรรมวิเศษ ความสำคัญว่ามีอัตตาตัวตน ความถือตัวผิด ความคิดถึงญาติ ความคิดถึงชนบท ความคิดไม่ตายตัว ความคิดเกี่ยวด้วยความเอ็นดูผู้อื่น ความ คิดเกี่ยวด้วยลาภสักการะและชื่อเสียง ความคิดเกี่ยวด้วยความไม่มีใครดูหมิ่นทุกมาติกา [๘๕๐] โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธไว้ มักขะ ความ ลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ ความตีเสมอ อิสสา ความริษยา มัจฉริยะ ความ ตระหนี่ มายา ความเจ้าเล่ห์ สาเถยยะ ความโอ้อวด อวิชชา ความไม่รู้ ภวตัณหา ความปรารถนาภพ ภวทิฏฐิ ความเห็นว่าเกิด วิภวทิฏฐิ ความเห็นว่า ไม่เกิด สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เที่ยง อันต- *วาทิฏฐิ ความเห็นว่ามีที่สุด อนันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีที่สุด ปุพพันตา- *นุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอดีต อปรันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอนาคต อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อ การประพฤติทุจริต โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มี มิตรชั่ว อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน อขันติ ความ ไม่อดทน อโสรัจจะ ความไม่สงบเสงี่ยม อสาขัลยะ ความไม่มีวาจาอ่อนหวาน อัปปฏิสันถาระ ความไม่มีการปฏิสันถาร อินทริยอคุตตทวารตา ความเป็นผู้ไม่ สำรวมในอินทรีย์ ๖ โภชนอมัตตัญญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ สีลวิปัตติ ความวิบัติแห่งศีล ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ อัชฌัตตสัญโญ- *ชนะ สัญโญชน์ภายใน พหิทธาสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายนอกติกมาติกา [๘๕๑] อกุศลมูล ๓ อกุศลวิตก ๓ อกุศลสัญญา ๓ อกุศลธาตุ ๓ ทุจริต ๓ อาสวะ ๓ สัญโญชน์ ๓ ตัณหา ๓ ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เอสนา ๓ วิธา ๓ ภัย ๓ ตมะ ๓ ติตถายตนะ ๓ กิญจนะ ๓ อังคณะ ๓ มละ ๓ วิสมะ ๓ วิสมะ ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง อัคคิ ๓ กสาวะ ๓ แม้ อีกนัยหนึ่ง อัสสาททิฏฐิ ความเห็นผิดอันประกอบด้วยความยินดี อัตตานุทิฏฐิ ความเห็นผิดว่ามีอัตตาตัวตน มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด อรติ ความไม่ยินดี วิเหสา ความเบียดเบียน อธัมมจริยา ความประพฤติอธรรม โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว นานัตตสัญญา สัญญาต่างๆ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน โกสัชชะ ความเกียจคร้าน ปมาทะ ความประมาท อสันตุฏฐิตา ความไม่สันโดษ อสัมปชัญญตา ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ มหิจฉตา ความมักมาก อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต อโนต- *ตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต ปมาทะ ความประมาท อนาทริยะ ความไม่เอื้อเฟื้อ โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตร ชั่ว อัสสัทธิยะ ความไม่เชื่อ อวทัญญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้ถ้อยคำด้วยอำนาจ ความตระหนี่อันกระด้าง โกสัชชะ ความเกียจคร้าน อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน อสังวร ความไม่สำรวม ทุสสีลยะ ความทุศีล อริยอทัสสนกัมยตา ความไม่ อยากเห็นพระอริยเจ้า สัทธัมมอโสตุกัมยตา ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม อุปา- *รัมภจิตตตา ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ อสัม- *ปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เจตโสวิกเขปะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต อโย- *นิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย กุมมัคคเสวนา การเสพทางชั่ว เจตโสลีนัตตะ ความย่อหย่อนแห่งจิตจตุกกมาติกา [๘๕๒] อาสวะ ๔ คันถะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ อุปาทาน ๔ ตัณ- *หุปปาทา ๔ อคติคมนะ ๔ วิปริเยสะ ๔ อนริยโวหาร ๔ อนริยโวหาร ๔ แม้อีก นัยหนึ่ง ทุจริต ๔ ทุจริต ๔ แม้อีกนัยหนึ่ง ภัย ๔ ภัย ๔ แม้อีกนัยหนึ่ง ภัย ๔ แม้อีกนัยหนึ่ง ภัย ๔ แม้อีกนัยหนึ่ง ทิฏฐิ ๔ปัญจกมาติกา [๘๕๓] โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ มัจฉริยะ ๕ สังคะ ๕ สัลละ ๕ เจโตขีละ ๕ เจตโสวินิพันธะ ๕ นิวรณ์ ๕ อนันตริยกรรม ๕ ทิฏฐิ ๕ เวร ๕ พยสนะ ๕ โทษแห่งความไม่อดทน ๕ ภัย ๕ ทิฏฐธัมมนิพ- *พานวาทะ ๕ฉักกมาติกา [๘๕๔] วิวาทมูล ๖ เคหสิตฉันทราคธรรม ๖ วิโรธวัตถุ ๖ ตัณหา- *กายะ ๖ อคารวะ ๖ ปริหานิยธรรม ๖ ปริหานิยธรรม ๖ แม้อีกนัยหนึ่ง โสมนัสสอุปวิจาร ๖ โทมนัสสอุปวิจาร ๖ อุเปกขาอุปวิจาร ๖ เคหสิตโสมนัส ๖ เคหสิตโทมนัส ๖ เคหสิตอุเปกขา ๖ ทิฏฐิ ๖สัตตกมาติกา [๘๕๕] อนุสัย ๗ ปริยุฏฐาน ๗ สัญโญชน์ ๗ อสัทธรรม ๗ ทุจริต ๗ มานะ ๗ ทิฏฐิ ๗อัฏฐกมาติกา [๘๕๖] กิเลสวัตถุ ๘ กุสีตวัตถุ ๘ จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม ๘ อนริย- *โวหาร ๘ มิจฉัตตะ ๘ ปุริสโทษ ๘ อสัญญีวาทะ ๘ เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘นวกมาติกา [๘๕๗] อาฆาตวัตถุ ๙ ปุริสมละ ๙ มานะ ๙ ตัณหามูลกธรรม ๙ อิญชิตะ ๙ มัญญิตะ ๙ ผันทิตะ ๙ ปปัญจิตะ ๙ สังขตะ ๙ทสกมาติกา [๘๕๘] กิเลสวัตถุ ๑๐ อาฆาตวัตถุ ๑๐ อกุศลกรรมบถ ๑๐ สัญโญชน์ ๑๐ มิจฉัตตะ ๑๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐีมีวัตถุ ๑๐ [๘๕๙] ตัณหาวิจริตอาศัยอายตนะภายใน ๑๘ ตัณหาวิจริต อาศัยอายตนะ ภายนอก ๑๘ ประมวลเข้าด้วยกันเป็นตัณหาวิจริต ๓๖ ตัณหาวิจริตเป็นอดีต ๓๖ ตัณหาวิจริตเป็นอนาคต ๓๖ ตัณหาวิจริตเป็น ปัจจุบัน ๓๖ ประมวลเข้าด้วยกันเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ ทิฏฐิ ๖๒ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในพรหมชาลสูตรมาติกา จบ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๑๗๒๒-๑๑๘๒๐ หน้าที่ ๕๐๕-๕๐๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=11722&Z=11820&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=35&A=11722&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=65 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=849 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=35&A=9452 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=11816 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=35&A=9452 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=11816 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]