ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
๑๘. ธัมมหทยวิภังค์
สัพพสังคาหิกวาร
[๑๐๗๓] ขันธ์มีเท่าไร อายตนะมีเท่าไร ธาตุมีเท่าไร สัจจะมี เท่าไร อินทรีย์มีเท่าไร เหตุมีเท่าไร อาหารมีเท่าไร ผัสสะมีเท่าไร เวทนามีเท่าไร สัญญามีเท่าไร เจตนามีเท่าไร จิตมีเท่าไร [๑๐๗๔] ขันธ์มี ๕ อายตนะมี ๑๒ ธาตุมี ๑๘ สัจจะมี ๔ อินทรีย์มี ๒๒ เหตุมี ๙ อาหารมี ๔ ผัสสะมี ๗ เวทนามี ๗ สัญญามี ๗ เจตนามี ๗ จิตมี ๗ [๑๐๗๕] ในธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ เป็นไฉน คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ [๑๐๗๖] อายตนะ ๑๒ เป็นไฉน คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๙๗.

คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๑๒ [๑๐๗๗] ธาตุ ๑๘ เป็นไฉน คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสต- *วิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหา- *วิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๑๘ [๑๐๗๘] สัจจะ ๔ เป็นไฉน คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ นิโรธสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๔ [๑๐๗๙] อินทรีย์ ๒๒ เป็นไฉน คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนิน- *ทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสนทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัส- *สินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๒๒ [๑๐๘๐] เหตุ ๙ เป็นไฉน คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ ในเหตุ ๙ เหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน คือ กุศลเหตุ คือ อโลภะ กุศลเหตุ คือ อโทสะ กุศลเหตุ คือ อโมหะ เหล่านี้เรียกว่า กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๙๘.

คือ อกุศลเหตุ คือ โลภะ อกุศลเหตุ คือ โทสะ อกุศลเหตุ คือ โมหะ เหล่านี้เรียกว่า อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย หรือใน กิริยาอัพยากตธรรมทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อัพยากตเหตุ [๑๐๘๑] อาหาร ๔ เป็นไฉน คือ กพฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๔ [๑๐๘๒] ผัสสะ ๗ เป็นไฉน คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนธาตุสัมผัส มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๗ [๑๐๘๓] เวทนา ๗ เป็นไฉน คือ เวทนาเกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาเกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาเกิดแต่ ฆานสัมผัส เวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาเกิดแต่กายสัมผัส เวทนาเกิดแต่ มโนธาตุสัมผัส เวทนาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า เวทนา ๗ [๑๐๘๔] สัญญา ๗ เป็นไฉน คือ สัญญาเกิดแต่จักขุสัมผัส สัญญาเกิดแต่โสตสัมผัส สัญญาเกิดแต่ ฆานสัมผัส สัญญาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส สัญญาเกิดแต่กายสัมผัส สัญญาเกิดแต่ มโนธาตุสัมผัส สัญญาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สัญญา ๗

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๙๙.

[๑๐๘๕] เจตนา ๗ เป็นไฉน คือ เจตนาเกิดแต่จักขุสัมผัส เจตนาเกิดแต่โสตสัมผัส เจตนาเกิดแต่ ฆานสัมผัส เจตนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เจตนาเกิดแต่กายสัมผัส เจตนาเกิดแต่ มโนธาตุสัมผัส เจตนาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า เจตนา ๗ [๑๐๘๖] จิต ๗ เป็นไฉน คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญ- *ญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า จิต ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๓๙๐๔-๑๓๙๗๒ หน้าที่ ๕๙๖-๕๙๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=13904&Z=13972&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=35&A=13904&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=78              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1073              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=35&A=10937              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=13196              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=35&A=10937              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=13196              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb18/en/thittila

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]