ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
กุศลนิเทส
กามาวจรกุศลจิต ๘
กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๕๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น อารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัย ใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขาร เป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็น ปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็น ปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิด เพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ [๓๕๙] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน อโลภะ อโทสะ อโมหะ ในกุศลมูลนั้น โลภะ เป็นไฉน การไม่โลภ กิริยาที่จะไม่โลภ ความไม่โลภ ความไม่กำหนัดนัก กิริยาที่ ไม่กำหนัดนัก ความไม่กำหนัดนัก ความไม่เพ่งเล็งที่เอาทรัพย์สมบัติของผู้อื่น กุศลมูลคืออโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อโลภะ อโทสะ เป็นไฉน การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดพยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ อันใด นี้เรียก ว่า อโทสะ อโมหะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า อโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอัน เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อัน ใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง อันใด นี้เรียก ว่า ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย เป็นไฉน การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้
กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๒-๓-๔
[๓๖๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการ ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ...เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัย นั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นาม เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิด เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะ เวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์ เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความ เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ [๓๖๑] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน อโลภะ อโทสะ ในกุศลมูลนั้น อโลภะ เป็นไฉน การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัดนัก กิริยาที่ไม่ กำหนัดนัก ความไม่กำหนัดนัก ความไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์สมบัติของผู้อื่น กุศลมูลคืออโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อโลภะ อโทสะ เป็นไฉน การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่ประทุษร้าย ความไม่คิดพยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ อันใด นี้เรียกว่า อโทสะ สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่ากุศลมูล สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิด เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้
กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๕-๖
[๓๖๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต ด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิด เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะ เวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็น ปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความ เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ [๓๖๓] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กุศลมูล สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิด เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิด แต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้
กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๗-๘
[๓๖๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็น อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต ด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิด เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนา เป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่ง กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ [๓๖๕] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน อโลภะ อโทสะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กุศลมูล สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิด เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้
รูปาวจรกุศลจิต
[๓๖๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและ สุขอันเกิดแต่วิเวก มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิด เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะ ที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ [๓๖๗] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กุศลมูล สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิด เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้
อรูปาวจรกุศลจิต
[๓๖๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ โสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์ เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความ เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ [๓๖๙] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กุศลมูล สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิด เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่ เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้
โลกุตตรกุศลจิต
[๓๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้ เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล- *ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิด แต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะ กุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็น ปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งธรรม เหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ [๓๗๑] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ ในกุศลมูลเหล่านั้น อโมหะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า อโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิด เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ประสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง อันใด นี้เรียกว่า ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย เป็นไฉน การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้ เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้นั้น ได้แก่ ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ฉะนี้แล
กุศลนิเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๕๐๑๖-๕๒๑๐ หน้าที่ ๒๑๖-๒๒๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=5016&Z=5210&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=35&A=5016&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=24              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=358              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=35&A=4568              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=5357              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=35&A=4568              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=5357              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb6/en/anandajoti#pts-p-pi144

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]