บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
๘. สัมมัปปธานวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ [๔๖๕] สัมมัปปธาน ๔ คือ ๑. ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้ เกิดขึ้น ๒. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำ ความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ๔. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำ ความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว[เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น] [๔๖๖] ก็ภิกษุทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น เป็น อย่างไร ในบทเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในจิตตุปบาท อันเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะนั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ เรียก ว่า บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ภิกษุทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำ ความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ด้วย ประการฉะนี้ [๔๖๗] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทสว่า ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความฉลาด ความพอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ ภิกษุ ย่อมทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้ เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดยิ่ง ด้วยเหตุนั้น จึง เรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด [๔๖๘] บทว่า พยายาม มีนิเทสว่า ความพยายาม เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ความพยายาม ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความ พยายามนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม [๔๖๙] บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุ ย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งความ เพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร [๔๗๐] บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทสว่า จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต ภิกษุ ย่อมประคองไว้ ประคองไว้ด้วยดี อุปถัมภ์ ค้ำชู ซึ่งจิตนี้ ด้วย เหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้ [๔๗๑] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ ด้วย เหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียร[เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว] [๔๗๒] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นอย่างไร ในบทเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในจิตตุปบาท เดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะนั้น กายกรรม วจีกรรม มโน- *กรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำ ความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้ [๔๗๓] ในบทเหล่านั้น บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทสว่า ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความฉลาด ความพอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ ภิกษุย่อมทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้ เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดยิ่ง ด้วยเหตุนั้น จึง เรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด [๔๗๔] บทว่า พยายาม มีนิเทสว่า ความพยายาม เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ความพยายาม ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความพยายาม นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม [๔๗๕] บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุ ย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งความ เพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร [๔๗๖] บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทสว่า จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต ภิกษุ ย่อมประคองไว้ ประคองไว้ด้วยดี อุปถัมถ์ค้ำชู ซึ่งจิตนี้ ด้วยเหตุ นั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้ [๔๗๗] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียร[เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น] [๔๗๘] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประ คองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น เป็นอย่างไร ในบทเหล่านั้น กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะนั้น กาย- *กรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีอโลภะ อโทสะ อโมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำ ความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้ [๔๗๙] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทสว่า ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำ ฉันทะให้เกิด บทว่า พยายาม มีนิเทสว่า ความพยายาม เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภ ความเพียร บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทสว่า จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้ บทว่า ทำความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ ด้วย เหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียร[เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม] [๔๘๐] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความ ไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นอย่างไร ในบทเหล่านั้น กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีอโลภะ อโทสะ อโมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรม เหล่านี้ เรียกว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำ ความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้ [๔๘๑] บทว่า เพื่อความดำรงอยู่ มีนิเทสว่า ความดำรงอยู่ อันใด นั้นคือความไม่สาบสูญ ความไม่สาบสูญ อันใด นั้นคือความภิยโยยิ่ง ความ ภิยโยยิ่ง อันใด นั้นคือความไพบูลย์ ความไพบูลย์ อันใด นั้นคือความเจริญ ความเจริญ อันใด นั้นคือความบริบูรณ์ [๔๘๒] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทสว่า ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำ ฉันทะให้เกิด บทว่า พยายาม มีนิเทสว่า ความพยายาม เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภ ความเพียร บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทสว่า จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้ บทว่า ทำความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ ด้วย เหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียรสุตตันตภาชนีย์ จบ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๖๔๕๖-๖๕๙๑ หน้าที่ ๒๗๙-๒๘๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=6456&Z=6591&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=35&A=6456&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=31 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=465 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=35&A=5657 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=7357 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=35&A=5657 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=7357 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb8/en/thittila
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]