ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
พระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๔
กถาวัตถุปกรณ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มหาวรรค
ปุคคลกถา
นิคหะ ๘
นิคหะ ที่ ๘
อนุโลมปัญจกะ
[๑] สกวาที ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ ๑- เป็นปรมัตถะ ๒- ท่านหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ ๓- หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุ นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่ง @๑. สัจฉิกัตถะ สภาวะที่จริงแท้ ๒. ปรมัตถะ อรรถอันยิ่ง อันอุดม อันไม่ต้องยึดถือด้วยอาการมีการฟังตาม @กันมาเป็นต้น ทั้งนี้หมายถึงสภาวธรรมที่จำแนกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ รวม ๕๗ อย่าง @๓. นิคหะ การข่ม การปราบปราม เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าว ว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด
อนุโลมปัญจกะ จบ
-----------------------------------------------------
ปฏิกัมมจตุกกะ
[๒] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม. ๑- หากว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่ง เห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ- @๑. ปฏิกรรม การกระทำคืนคือ ปัดไม่รับนิคหกรรม *ปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล นั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด
ปฏิกัมมจตุกกะ จบ
-----------------------------------------------------
นิคคหจตุกกะ
[๓] ป. ก็ถ้าท่านยังจะยืนยันว่า กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล นั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ไซร้ ด้วยเหตุนั้น ท่านเมื่อยังปฏิญาณอยู่ข้าง ปฏิเสธบุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้ ก็ต้องนิคหะอย่างนี้ ดังนั้น เราจึงนิคหะท่าน ท่านถูกนิคหะ ชอบแล้วเทียว. หากท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่ หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้นตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน
นิคคหจตุกกะ จบ
-----------------------------------------------------
อุปนยนจตุกกะ
[๔] ป. หากนิคหะที่เราทำแก่ท่านนี้ เป็นนิคหะชั่วไซร้ ท่านจงเห็นอย่างเดียวกัน นั่นแหละในนิคหะที่ท่านได้ทำแก่เรา ในกรณีว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็เราผู้ปฏิญาณอยู่ข้างรับรองบุคคลอย่างนี้ ด้วย ปฏิญญานี้ อันท่านไม่พึงนิคหะอย่างนี้ ดังนั้น ท่านนิคหะเรา เราจึงถูกนิคหะชั่วเทียว คือนิคหะ ว่า หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะ ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ก็ต้องไม่กล่าว ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน
อุปนยนจตุกกะ จบ
-----------------------------------------------------
นิคมจตุกกะ
[๕] ป. เราไม่พึงถูกนิคหะอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นแหละ ที่ท่านนิคหะเราว่า "หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่ พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็น ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด ดังนี้ จึงกลับเป็นความผิดของท่าน ด้วยเหตุนั้นแหละ นิคหะที่ท่านทำแล้วจึงทำไม่ชอบ ปฏิกรรม ข้าพเจ้าได้ทำชอบแล้ว การดำเนินความข้าพเจ้าได้ทำชอบแล้วแล
นิคมจตุกกะ จบ
นิคหะที่ ๑ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑-๙๘ หน้าที่ ๑-๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=1&Z=98&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=37&A=1&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=1              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=37&A=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=2701              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=37&A=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=2701              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.1/en/aung-rhysdavids

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]