ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
อุปาทาปัญญัตตานุโยค
[๙๒] ส. เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปร ไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มี ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยเยทนา ฯลฯ เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะอาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้นหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิญญาณไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มี ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๓] ส. เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยรูปเขียว จึงบัญญัติบุคคลเขียวขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยรูปเหลือง ฯลฯ เพราะอาศัยรูปแดง ฯลฯ เพราะอาศัย รูปขาว ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นไม่ได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่ กระทบไม่ได้ จึงบัญญัติบุคคลที่กระทบไม่ได้ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๔] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นกุศลขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นกุศลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนาเป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำลัง มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลเป็นกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผล น่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๕] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นอกุศลขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นอกุศลขึ้นหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนาเป็นอกุศล มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มี ผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลเป็นอกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๖] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนาเป็นอัพยากฤต ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น ธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลเป็นอัพยากฤต ก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มี ความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับ ไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะอาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นกุศลขึ้นหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นกุศลขึ้นหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิญญาณเป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลแสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลเป็นกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผล น่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๗] ส. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นอกุศลขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นอกุศลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิญญาณเป็นอกุศล มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มี มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลเป็นอกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๘] ส. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิญญาณเป็นอัพยากฤต ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น ธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลเป็นอัพยากฤต ก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป เป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดาหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๙] ส. เพราะอาศัยจักษุพึงกล่าวว่า บุคคลมีจักษุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อจักษุดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีจักษุดับไปแล้วหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยโสตะ ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะ ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหา ฯลฯ เพราะอาศัยกาย ฯลฯ เพราะอาศัยมโน พึงกล่าวว่า บุคคลมีมโน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อมโนดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีมโนดับไปแล้วหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๐] ส. เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิ พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อมิจฉาทิฏฐิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นมิจฉาทิฏฐิดับไปแล้ว หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๑] ส. เพราะอาศัยมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวาจา ฯลฯ เพราะอาศัย มิจฉากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวายามะ ฯลฯ เพราะอาศัย มิจฉาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสมาธิ ฯลฯ พึงกล่าวว่า บุคคลมีมิจฉาสมาธิ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อมิจฉาสมาธิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีมิจฉาสมาธิดับไปแล้ว หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๒] ส. เพราะอาศัยสัมมาทิฏฐิ พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นสัมมาทิฏฐิหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อสัมมาทิฏฐิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นสัมมาทิฏฐิดับไปแล้ว หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาวาจา ฯลฯ เพราะอาศัย สัมมากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาวายมะ ฯลฯ เพราะอาศัย สัมมาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาสมาธิ พึงกล่าวว่า บุคคลมีสัมมาสมาธิ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อสัมมาสมาธิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีสัมมาสมาธิดับไปแล้ว หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๓] ส. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยขันธ์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ คนขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา เพราะอาศัยสัญญา เพราะอาศัยสังขาร เพราะวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยขันธ์ ๕ จึงบัญญัติบุคคล ๕ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๔] ส. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยอายตนะ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๕] ส. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ ฯลฯ เพราะอาศัย ธัมมายตนะ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยอายตนะ ๑๒ จึงบัญญัติบุคคล ๑๒ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๖] ส. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยธาตุ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๗] ส. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ ฯลฯ เพราะอาศัยธัมมธาตุ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยธาตุ ๑๘ จึงบัญญัติบุคคล ๑๘ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๘] ส. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ จึงบัญญัติบุคคลขึ้นหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๙] ส. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ ฯลฯ เพราะอาศัยอัญญา- ตาวินทรีย์ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒๒ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๐] ส. เพราะอาศัยเอกโวการภพ (ภพแห่งสัตว์มีขันธ์หนึ่ง) จึงบัญญัติบุคคล หนึ่งขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยจตุโวการภพ (ภพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๔) จึงบัญญัติบุคคล ๔ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๑] ส. เพราะอาศัยเอกโวการภพ จึงบัญญัติบุคคลหนึ่งขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยปัญจโวการภพ (ภพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๕) จึงบัญญัติบุคคล ๕ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๒] ส. ในเอกโวการภพ มีบุคคลเพียงหนึ่ง หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ในจตุโวการภพ มีบุคคลเพียง ๔ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๓] ส. ในเอกโวการภพ มีบุคคลเพียงหนึ่ง หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ในปัญจโวการภพ มีบุคคลเพียง ๕ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๔] ส. เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะ อาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ส. เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น แม้ต้นไม้ก็ไม่เที่ยง แม้เงาไม้ก็ ไม่เที่ยง ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลขึ้น แม้รูปก็ไม่เที่ยง แม้บุคคล ก็ไม่เที่ยง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น ต้นไม้เป็นอื่น เงาไม้ก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยบ้าน จึงบัญญัติชาวบ้านขึ้น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะ อาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ส. เพราะอาศัยบ้าน จึงบัญญัติชาวบ้านขึ้น บ้านเป็นอื่น ชาวบ้านก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยรัฐ จึงบัญญัติราชาขึ้น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ส. เพราะอาศัยรัฐ จึงบัญญัติราชาขึ้น รัฐเป็นอื่น ราชาก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ตรวน ไม่ใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า ผู้ถูก จำตรวน ฉันใด ฉันนั้นแหละ รูปไม่ใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า ผู้มีรูป หรือ? ส. ตรวน ไม่ใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า ผู้ถูก จำตรวน ตรวนเป็นอื่น ผู้ถูกจำตรวนก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ รูปไม่ใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า ผู้มีรูป รูปเป็นอื่น ผู้มีรูปก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๕] ส. บัญญัติบุคคลขึ้นในเพราะจิตแต่ละดวง หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลในเพราะจิตแต่ละดวง ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และ อุปบัติ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า เด็กชาย หรือว่าเด็กหญิง หรือ? ป. พึงกล่าวได้ ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นหรือว่าบุคคลอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึง กล่าวว่าเด็กชาย หรือว่าเด็กหญิง, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวได้ว่าเด็กชาย หรือว่าเด็กหญิง ดังนี้ ผิด, ก็หรือหากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าเด็กชายหรือว่าเด็กหญิง ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นหรือว่าบุคคลอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวว่าเด็กชายหรือเด็กหญิงดังนี้ ผิด [๑๑๖] ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าสตรี หรือว่าบุรุษ ... ว่า คฤหัสถ์ หรือว่าบรรพชิต ... ว่าเทวดา หรือว่ามนุษย์ หรือ? ป. พึงกล่าวได้ ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้น หรือบุคคลอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึง กล่าวว่าเทวดา หรือว่ามนุษย์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึง กล่าวว่าบุคคลนั้น หรือบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวได้ว่าเทวดา หรือว่ามนุษย์ดังนี้ ผิด, ก็หรือหาก ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าเทวดา หรือว่ามนุษย์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น, ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคล อื่น แต่พึงกล่าวได้ว่าเทวดา หรือว่ามนุษย์ ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๑๑๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้น เห็น เห็นรูปนั้น เห็นด้วยจักษุนั้นมิใช่ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น เห็นด้วยจักษุนั้น ด้วยเห็นนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ [๑๑๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลใดฟัง ฯลฯ บุคคลใดดม ฯลฯ บุคคลใดลิ้ม ฯลฯ บุคคลใดถูก ต้อง ฯลฯ บุคคลใดรู้ รู้ธัมมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นรู้ รู้ธัมมารมณ์ รู้ด้วยมโนนั้น มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บุคคลใดรู้ รู้ธัมมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นรู้ รู้ธัมมารมณ์นั้น ด้วยมโนนั้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ [๑๑๙] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลใดมิได้เห็น มิได้เห็นรูปใด มิได้เห็นด้วยจักษุใด ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นเห็น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นรูปนั้น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นด้วยจักษุนั้น มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า บุคคลใดมิได้เห็น มิได้เห็นรูปใด มิได้เห็นด้วยจักษุใด ไม่พึง กล่าวว่าบุคคลนั้นเห็น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นรูปนั้น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นด้วยจักษุนั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ [๑๒๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลใดมิได้ฟัง ฯลฯ บุคคลใดมิได้ดม ฯลฯ บุคคลใดมิได้ลิ้ม ฯลฯ บุคคลใดมิได้รู้ มิได้รู้ธัมมารมณ์ใด มิได้รู้ด้วยมโนใด ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้นรู้ ไม่พึงกล่าวว่า รู้ธัมมารมณ์นั้น ไม่พึงกล่าวว่ารู้ด้วยมโนนั้น มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่าบุคคลใดมิได้รู้ มิได้รู้ธัมมารมณ์ใด มิได้รู้ด้วยมโนใด ไม่พึงกล่าว ว่าบุคคลนั้นรู้ ไม่พึงกล่าวว่ารู้ธัมมารมณ์นั้น ไม่พึงกล่าวว่ารู้ด้วยมโนนั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ [๑๒๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นสัตว์ทั้งหลาย จุติอยู่ อุปบัติอยู่ เลวบ้าง ประณีตบ้าง มีพรรณะงามบ้าง มีพรรณะทรามบ้าง เป็นสุคติ บ้าง เป็นทุคติบ้าง ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่ง สัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรม ๑- ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? @๑. ม. ม. ข้อ ๗๕๖ หน้า ๖๘๗ ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น ก็หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์น่ะสิ ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้ง- *หลาย เราเห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ อุปบัติอยู่ เลวบ้าง ประณีตบ้าง มีพรรณะงามบ้าง มีพรรณะ ทรามบ้าง เป็นสุคติบ้าง เป็นทุคติบ้าง ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรม ดังนี้ ด้วยเหตุนั้นแหละ ท่านจึงหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ป. ทรงเห็นรูป ส. รูปคือบุคคล รูปจุติ รูปอุปบัติ รูปเป็นไปตามกรรม หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ป. ทรงเห็นบุคคล ส. บุคคล คือรูป คือรูปายตนะ คือรูปธาตุ คือสีเขียว คือสีเหลือง คือ สีแดง คือสีขาว คือสิ่งที่รู้ได้ด้วยจักษุ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ป. ทรงเห็นทั้งสองอย่าง ส. ทั้งสองอย่างคือรูป คือรูปายตนะ คือรูปธาตุ ทั้งสองอย่างคือสีเขียว ทั้งสองอย่างคือสีเหลือง ทั้งสองอย่างคือสีแดง ทั้งสองอย่างคือสีขาว ทั้งสองอย่างคือสิ่งที่รู้ได้ ด้วยจักษุ ทั้งสองอย่างกระทบที่จักษุ ทั้งสองอย่างมาสู่คลองจักษุ ทั้งสองอย่างจุติ ทั้งสองอย่าง อุปบัติ ทั้งสองอย่างเป็นไปตามกรรม หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อุปาทาปัญญัตตานุโยค จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๐๓๙-๑๓๖๓ หน้าที่ ๔๕-๕๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=1039&Z=1363&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=37&A=1039&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=16              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=92              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=37&A=948              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3343              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=37&A=948              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3343              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.1/en/aung-rhysdavids#pts-cs1.1.171

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]