บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
รูปังกัมมันติกถา [๑๒๔๒] สกวาที กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจของกายกรรมนั้นมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กายกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสน ใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของกาย- กรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า กายกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล [๑๒๔๓] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิตเป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล เป็นธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้นมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้ง ขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของปัญญานั้น มีอยู่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล เป็นธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๔๔] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของธรรมนั้น ไม่มีหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้น ไม่มีหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้ง ขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจของปัญญานั้น ไม่มีหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๔๕] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต ไม่ว่าอย่างใดทั้งหมด เป็นกุศล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๔๖] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศลหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวี- ธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๔๗] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤตหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวี- ธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิตเป็นอัพยา- กฤตหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤตหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๔๘] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศลที่ไม่มีอารมณ์หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศลที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่ไม่มี อารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๔๙] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤตที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวี- ธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิตเป็น อัพยากฤตที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤตที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๕๐] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล ที่วิปปยุตจากผัสสะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล ที่วิปปยุตจากผัสสะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวี- ธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่ วิปปยุตจากผัสสะ หรือ? [๑๒๕๑] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุต จากผัสสะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤต ที่วิปปยุต จากผัสสะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่วิปปยุตจากผัสสะ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๕๒] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล ที่ทั้งวิปปยุตจากผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล ที่ทั้งวิปปยุตจากผัสสะ ทั้งไม่มี อารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล ที่ทั้งวิปปยุตจากผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล ที่ทั้ง วิปปยุตจากผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๕๓] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตจากผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตจาก ผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิตเป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตจากผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตจาก ผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๕๔] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของวจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. วจีกรรม เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของวจีกรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า วจีกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของ วจีกรรมนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล [๑๒๕๕] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้งขึ้น ด้วยกุศลจิต เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของปัญญานั้น มีอยู่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของวจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๕๖] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของวจีกรรมนั้น ไม่มีหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของผัสสะนั้น ไม่มี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของวจีกรรมนั้น ไม่มีหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้ง ขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจ ของปัญญานั้น ไม่มีหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๕๗] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต ไม่ว่าอย่างใดทั้งหมด เป็นกุศลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ วจีกรรมพึงให้พิสดารอย่างเดียวกับกายกรรม [๑๒๕๘] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น มีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กายกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของกายกรรม นั้น ไม่มี มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า กายกรรมนั้นเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความ สนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของ กายกรรมนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็น รูป เป็นอกุศล [๑๒๕๙] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็น อกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของอโนตตัปปะนั้น มีอยู่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๖๐] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มี อารมณ์ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น ไม่มีหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ นึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มี อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น ไม่มีหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของอโนตตัปปะนั้น ไม่มีหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๖๑] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต ไม่ว่าอย่างใดทั้งหมด เป็นอกุศล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๖๒] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศล เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของวจีกรรมนั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. วจีกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของวจี กรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่าวจีกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ วจีกรรมนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล [๑๒๖๓] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของวจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็น อกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของอโนตตัปปะนั้น มีอยู่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของวจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๖๔] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มี อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของวจีกรรมนั้น ไม่มีหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ นึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มี อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของวจีกรรมนั้น ไม่มีหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของอโนตตัปปะนั้น ไม่มีหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๖๕] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต ไม่ว่าอย่างใดทั้งหมด เป็นอกุศล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๖๖] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อที่ตั้งขึ้น ด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๖๗] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ตั้ง ขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๖๘] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศลที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศลที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศลที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศลจิต เป็นอกุศลที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๖๙] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศล เป็นรูป เป็นอัพยากฤตที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้น ด้วยอกุศล เป็นอัพยากฤตที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤตที่ไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๗๐] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศลที่วิปปยุต จากผัสสะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๗๑] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ทั้งวิปปยุตจากผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? @อภิ. ก. แปล. ๓๗/๖๗ ป. ถูกแล้ว ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤตที่ทั้งวิปปยุตจาก ผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ตั้งขึ้น ด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตจาก ผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๗๒] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล ที่ทั้งวิปปยุตจากผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล ที่ทั้งวิปปยุตจากผัสสะ ทั้งไม่มี อารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล ที่ทั้งวิปปยุตจากผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ตั้งขึ้น ด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล ที่ทั้งวิปปยุตจากผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๗๓] ป. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตจากผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตจาก ผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วย กุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ทั้งวิปปยุตจากผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตจาก ผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๗๔] ส. ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า รูป เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง [๑๒๗๕] ส. รูป เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จักขายตนะ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. รูป เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ? ป. ถูกแล้ว ป. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททาย- ตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๗๖] ส. กายเป็นรูป กายกรรมก็เป็นรูป หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. มโน เป็นรูป มโนกรรมก็เป็นรูป หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๗๗] ส. มโน เป็นอรูป (นาม) มโนกรรมก็เป็นอรูป หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กาย เป็นอรูป กายกรรมก็เป็นอรูป หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๗๘] ส. กาย เป็นรูป แต่กายกรรมเป็นอรูป หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. มโน เป็นรูป แต่มโนกรรมเป็นอรูป หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๗๙] ส. มโน เป็นอรูป มโนกรรมก็เป็นอรูป หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กาย เป็นอรูป กายกรรมก็เป็นอรูป หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๘๐] ส. เพราะกายเป็นรูป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะจักขายตนะ เป็นรูป ฉะนั้น จักขุวิญญาณ จึงเป็นรูป หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะกายเป็นรูป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นรูป หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะโสตายตนะ เป็นรูป ฉะนั้น โสตวิญญาณ จึงเป็นรูป หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะกายเป็นรูป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นรูป หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะฆานายตนะเป็นรูป ฉะนั้น ฆานวิญญาณ จึงเป็นรูป หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะกายเป็นรูป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นรูป หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะชิวหายตนะเป็นรูป ฉะนั้น ชิวหาวิญญาณ จึงเป็นรูป หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะกายเป็นรูป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นรูป หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะกายายตนะเป็นรูป ฉะนั้น กายวิญญาณ จึงเป็นรูป หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๘๑] ส. รูป เป็นกรรม หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่า เป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? @๑. อํ. ฉกฺก. ข้อ ๓๓๔ หน้า ๔๖๓ ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นกรรม [๑๒๘๒] ส. รูป เป็นกรรม หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรอานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขทุกข์อันเป็น ภายในย่อมเกิดขึ้นเพราะกายสัญเจตนาเป็นเหตุ หรือเมื่อวาจามีอยู่ สุขทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้นเพราะวจีสัญเจตนาเป็นเหตุ หรือ เมื่อใจมีอยู่ สุขทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้นเพราะมโนสัญเจตนา เป็นเหตุ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นกรรม [๑๒๘๓] ส. รูป เป็นกรรม หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก วจีสัญ- เจตนา ๔ อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น วิบาก มโนสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็น กำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก วจีสัญเจตนา @๑. สํ. นิ. ข้อ ๘๓ หน้า ๔๗ ๔ อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก มโน สัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุข เป็นวิบาก ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นกรรม [๑๒๘๔] ส. รูป เป็นกรรม หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรอานนท์ ถ้าสมิทธิ ผู้โมฆบุรุษนี้ ถูกปาตลิบุตรปริพาชกถามอย่างนี้ ควรพยากรณ์อย่างนี้ว่า อาวุโส ปาตลิบุตร บุคคลทำกรรมอันเป็นด้วยสัญเจตนา ด้วยกาย วาจา ใจ เป็นกรรมที่จะให้ได้เสวยความสุขแล้ว เขาย่อมจะได้เสวยความ สุข บุคคลทำกรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนาด้วยกาย วาจา ใจ เป็น กรรมที่จะให้ได้เสวยความทุกข์แล้ว เขาย่อมจะได้เสวยความทุกข์ บุคคลทำกรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนาด้วยกาย วาจา ใจ เป็น กรรมที่จะให้ได้เสวยเวทนาอันมิใช่ทุกข์มิใช่สุขแล้ว เขาย่อมจะได้ เสวยเวทนาอันมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ดูกรอานนท์ สมิทธิ ผู้โมฆบุรุษ เมื่อพยากรณ์อย่างนี้แล้ว ชื่อว่า พึงพยากรณ์โดยชอบแก่ปาตลิ บุตรปริพาชก ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นกรรมรูปังกัมมันติกถา จบ ----------------------------------------------------- @๑. ม. อุ. ข้อ ๖๐๒ หน้า ๓๘๘เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๒๔๐๓-๑๒๘๖๑ หน้าที่ ๕๑๖-๕๓๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=12403&Z=12861&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=37&A=12403&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=101 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1242 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=37&A=8160 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5370 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=37&A=8160 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5370 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv8.9/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]