วรรคที่ ๑๕
ปัจจยตากถา
[๑๕๙๖] สกวาที ความเป็นปัจจัย ท่านจำกัดไว้ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว
ส. วิมังสา เป็นเหตุและเป็นอธิบดีด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า วิมังสา เป็นเหตุและเป็นอธิบดีด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง
กล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย
[๑๕๙๗] ฉันทาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า ฉันทาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่าน
จึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยสหชาต
ปัจจัย
[๑๕๙๘] ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง
ต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยสหชาต-
ปัจจัย
ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ด้วยมิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ด้วย ด้วย
เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปปัจจัย (และ) เป็น
ปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย
[๑๕๙๙] ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็นองค์แห่งมรรคด้วย มิใช่
หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรคด้วย
ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ)
เป็นปัจจัย โดยมรรคปัจจัย
[๑๖๐๐] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง
ต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยสหชาต-
ปัจจัย
[๑๖๐๑] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็นอาหารด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอาหารด้วย ด้วย
เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็น
ปัจจัยโดยอาหารปัจจัย
[๑๖๐๒] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็นอินทรีย์ด้วย มิใช่
หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ด้วย
ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ)
เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย
[๑๖๐๓] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง
ต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยสหชาต-
ปัจจัย
[๑๖๐๔] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็นอินทรีย์ด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ด้วย
ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ)
เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย
[๑๖๐๕] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็นองค์แห่งมรรคด้วย
มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรคด้วย
ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ)
เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย
[๑๖๐๖] ส. ปัจจเวกขณา ทำอริยธรรมให้หนัก บังเกิดขึ้นและทำอริยธรรมนั้น ให้
เป็นอารมณ์ด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่าปัจจเวกขณา ทำอริยธรรมให้หนัก บังเกิดขึ้น และทำอริยธรรม
นั้นให้เป็นอารมณ์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า (อริยธรรม)
เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และเป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย
[๑๖๐๗] ส. กุศลธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่งกุศลธรรมหลังๆ และ
เป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า กุศลธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่งกุศลธรรม
หลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า
เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย
[๑๖๐๘] ส. อกุศลธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่งอกุศลธรรมหลังๆ
และเป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า อกุศลธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย แห่งอกุศล-
ธรรมหลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า
เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย
[๑๖๐๙] ส. กิริยาอัพยากตธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย แห่งกิริยาอัพยา-
กตธรรมหลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า กิริยาอัพยากตธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่ง
กิริยาอัพยากตธรรมหลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่าน
จึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดย
อาเสวนปัจจัย
[๑๖๑๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความเป็นปัจจัย ท่านจำกัดไว้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัย
โดยอนันตรปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัยก็ได้ หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นปัจจัยท่านก็จำกัดไว้ น่ะสิ
ปัจจยตากถา จบ
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๖๔๖๓-๑๖๕๕๖ หน้าที่ ๖๘๕-๖๘๘.
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=16463&Z=16556&pagebreak=0
https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=37&A=16463&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=163
ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1596
พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=37&A=10696
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6268
The Pali Tipitaka in Roman :-
https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=37&A=10696
The Pali Atthakatha in Roman :-
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6268
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗
https://84000.org/tipitaka/read/?index_37
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
https://suttacentral.net/kv15.1/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
