ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๑๖
นิคคหกถา
[๑๖๓๙] สกวาที บุคคลอื่น ข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. บุคคลอื่นข่มได้ว่า จิตของบุคคลอื่นอย่ากำหนัด อย่างประดุษร้าย อย่า หลง อย่าเศร้าหมอง ดังนี้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลอื่นข่มได้ว่า ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลอื่น อย่าดับไปเลย ดังนี้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลอื่นข่มได้ว่า เวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ สัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เจตนาที่เกิดขึ้นแล้ว จิตที่เกิดขึ้นแล้ว ศรัทธาที่เกิดแล้ว วิริยะที่เกิดขึ้น แล้วสติที่เกิดขึ้นแล้ว สมาธิที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้วแก่ บุคคล อื่น อย่าดับไปเลย ดังนี้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๐๘.

[๑๖๔๐] ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลอื่นละราคะ ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะ เพื่อประโยชน์แก่ บุคคลอื่นได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๔๑] ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลอื่นเจริญมรรค เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อประโยชน์ แก่บุคคลอื่นได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๔๒] ส. บุคคลอื่นย่อมข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลอื่นกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ยังมรรคให้เกิด เพื่อประโยชน์ แก่บุคคลอื่นได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๔๓] ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลอื่นเป็นผู้ทำแก่บุคคลอื่น สุขและทุกข์คนอื่นทำให้ คนหนึ่งทำ อีกคนหนึ่งเสวยผล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๔๔] ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลทำบาปด้วยตนเอง ย่อมเศร้าหมอง ด้วยตนเทียว ไม่ทำบาปด้วยตน ย่อมหมดจดด้วยตนเทียว ความ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๐๙.

หมดจด ความไม่หมดจด เป็นของเฉพาะตน คนอื่นจะยังคนอื่นให้ หมดจดไม่ได้ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลอื่นข่มจิตเพื่อบุคคลอื่นได้ ดังนี้ [๑๖๔๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ชนผู้บรรลุความเป็นผู้มีกำลังมีอยู่ ชนซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญมีอยู่ มิใช่ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า ชนผู้บรรลุความเป็นผู้มีกำลังมีอยู่ ชนซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้
นิคคหกถา จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๖๙๙๓-๑๗๐๔๖ หน้าที่ ๗๐๗-๗๐๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=16993&Z=17046&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=37&A=16993&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=174              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1639              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=37&A=11030              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6408              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=37&A=11030              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6408              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv16.1/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]