ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๓
พลกถา
[๖๙๖] สกวาที กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวกหรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. กำลังของตถาคต ก็คือ กำลังของพระสาวก กำลังของพระสาวก ก็คือ กำลังของพระตถาคต หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๙๗] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กำลังของพระตถาคตอันนั้น กำลังของพระสาวกก็อันนั้นแหละ กำลัง ของพระสาวกอันนั้น กำลังของพระตถาคตก็อันนั้นแหละ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๙๘] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กำลังของพระตถาคตเช่นใด กำลังแห่งพระสาวกก็เช่นนั้นกำลังแห่ง พระสาวกเช่นใด กำลังของพระตถาคตก็เช่นนั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๙๙] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การแสดงธรรมแห่งพระตถาคต เช่นใด บุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การแสดงธรรม แห่ง พระสาวกก็เช่นนั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๐๐] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระตถาคต คือ พระชินะ พระศาสดา พระสัมมาสัมพุทธะพระ สัพพัญญู (ผู้รู้ธรรมทั้งปวง) พระสัพพทัสสาวี (ผู้เห็นธรรมทั้งปวง) พระ ธรรมสามี (เจ้าแห่งธรรม) พระธรรมปฏิสรณะ (ผู้มีธรรมเป็นที่อาศัย) หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระสาวก ก็คือ พระชินะ พระศาสดา พระสัมมาสัมพุทธะ พระสัพ- พัญญู พระสัพพทัสสาวี พระธรรมสามี พระธรรมปฏิสรณะ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๐๑] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระตถาคต เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้บังเกิดให้บังเกิดขึ้น เป็นผู้ยังมรรค ที่ยังมิได้ปรากฏให้ปรากฏขึ้น เป็นผู้กล่าวมรรคที่ใครๆ มิเคยได้กล่าว เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้รู้แจ้งมรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรค หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระสาวก ก็เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้บังเกิดให้บังเกิดขึ้น เป็นผู้ยังมรรค ที่ยังมิได้ปรากฏให้ปรากฏขึ้น เป็นผู้กล่าวมรรคที่ใครๆ มิเคยได้กล่าว เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้รู้แจ้งมรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรค หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๐๒] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระสาวก เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๐๓] ป. พระสาวกรู้ฐานะและอฐานะ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า พระสาวกรู้ฐานะและอฐานะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งฐานะและอฐานะ ทั่วไปแก่ พระสาวก ดังนี้ [๗๐๔] ป. พระสาวกรู้ผลอันสุกวิเศษโดยฐานะ โดยเหตุแห่งกรรมสมาทานทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบัน หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า พระสาวกรู้ผลอันสุกวิเศษโดยฐานะ โดยเหตุแห่งกรรมสมาทาน ทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลัง ของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งผลอันสุกวิเศษโดยฐานะ โดยเหตุ แห่งกรรมสมาทานทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน ทั่วไปแก่พระสาวก [๗๐๕] ป. พระสาวก รู้ปฏิปทาอันนำไปสู่คติทั้งปวง หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า พระสาวกรู้ปฏิปทาอันนำไปสู่คติทั้งปวง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งปฏิปทาอันจะ นำไปในคติทั้งปวง ทั่วไปแก่พระสาวก ดังนี้ [๗๐๖] ป. พระสาวกรู้โลกอันมีธาตุต่างๆ มีธาตุมิใช่น้อย หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า พระสาวกรู้โลกอันมีธาตุต่างๆ มีธาตุมิใช่น้อย ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งโลกอัน มีธาตุต่างๆ มีธาตุมิใช่น้อย ทั่วไปแก่พระสาวก [๗๐๗] ป. พระสาวก รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุติ (อัธยาศัย) ต่างๆ กัน หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า พระสาวกรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุติต่างๆ กัน ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริง ซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุติต่างๆ กัน ทั่วไปแก่พระสาวก [๗๐๘] ป. พระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า พระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลัง ของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ทั่วไปแก่พระสาวก [๗๐๙] ป. พระสาวกรู้ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อน (ระลึก ชาติหนหลังได้) หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า พระสาวกรู้ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตาม จริงซึ่งญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อน ทั่วไปแก่ พระสาวก [๗๑๐] ป. พระสาวกรู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า พระสาวกรู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งจุติและอุปบัติ แห่งสัตว์ทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก [๗๑๑] ป. อาสวะทั้งหลาย ทั้งของพระตถาคต ทั้งพระสาวกต่างก็สิ้นไปแล้ว มิใช่ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. มีเหตุอะไรๆ ที่ทำให้ต่างกันในระหว่างความสิ้นอาสวะแห่งพระตถาคต กับความสิ้นอาสวะแห่งพระสาวก หรือในระหว่างความหลุดพ้นแห่ง พระตถาคต กับความหลุดพ้นแห่งพระสาวก หรือ? ส. ไม่มี ป. หากว่า ไม่มีเหตุอะไรๆ ที่ทำให้ต่างกันในระหว่างความสิ้นอาสวะแห่ง พระตถาคต กับความสิ้นอาสวะแห่งพระสาวก หรือในระหว่างความ หลุดพ้นแห่งพระตถาคต กับความหลุดพ้นแห่งพระสาวก ด้วยเหตุนั้น นะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก [๗๑๒] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง หลาย ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะ ทั่วไปแก่ พระสาวก หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๑๓] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง หลาย ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้ง หลาย ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๑๔] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะ ไม่ทั่วไปแก่ พระสาวก หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง หลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๑๕] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๑๖] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามความจริงในฐานะและอฐานะ ไม่ทั่วไป แก่พระสาวกหรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๑๗] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๑๘] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะ ทั่วไปแก่ พระสาวก หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๑๙] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พลกถา จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๗๔๑๖-๗๕๗๒ หน้าที่ ๓๐๖-๓๑๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=7416&Z=7572&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=37&A=7416&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=41              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=696              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=37&A=5053              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4251              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=37&A=5053              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4251              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv3.1/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]