บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ปัญญัตตานุโยค [๖๘] ส. บุคคลชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๙] ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๐] ส. บุคคลชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๑] ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒] ส. บุคคลชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ บุคคลชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ และมีบางคนเคลื่อนจากรูปธาตุแล้ว เข้าถึงอรูปธาตุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลมีรูป ขาดสูญไปแล้ว บุคคลไม่มีรูป เกิดขึ้นใหม่ หรือ ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๓] ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าไม่มีรูป เพราะ อรูปธาตุ และมีบางคนเคลื่อนจากรูปธาตุแล้ว เข้าถึงอรูปธาตุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัตว์มีรูป ขาดสูญไปแล้ว สัตว์ไม่มีรูปเกิดขึ้นใหม่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔] ส. บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติ ทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่า กายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้ง สองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคล ก็เป็นอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหา นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือกายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติ ทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคล หรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถ อันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น แต่ไม่พึงกล่าวว่า ชีพ เป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ก็ต้อง ไม่กล่าวว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้งสอง นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคลหรือว่า ชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอัน เดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง สองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคลหรือ ว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอัน เดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น แต่ไม่พึงกล่าวว่า ชีพ เป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๗๕] ป. บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติ ทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่า กายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียว กัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคล ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนมีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึง กล่าวว่า กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือ ว่ากายก็ดีรวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้งสองนี้ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มี พระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า กายเป็นอื่น บุคคล ก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯปัญญัตตานุโยค จบ. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๗๕๕-๘๓๔ หน้าที่ ๓๓-๓๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=755&Z=834&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=37&A=755&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=14 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=68 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=37&A=743 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3230 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=37&A=743 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3230 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.1/en/aung-rhysdavids#pts-cs1.1.154
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]