ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
อริยันติกถา
[๗๒๐] สกวาที กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะ เป็น อริยะ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดาปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล เป็นสกทาคามิมรรค เป็นสกทาคามิผล เป็นอนาคามิมรรค เป็นอนาคา มิผล เป็นอรหัตมรรค เป็นอรหัตผล เป็นสติปัฏฐาน เป็นสัมมัปปธาน เป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์ เป็นพละ เป็นโพชฌงค์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒๑] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะเป็นอริยะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและอฐานะด้วย ทรงทำไว้ใน พระทัยซึ่งสุญญตะด้วย หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและอฐานะด้วย ทรงทำไว้ใน พระทัยซึ่งสุญญตะด้วย หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒ ดวง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะเป็นอริยะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ หรือ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและอฐานะด้วย ทรงทำไว้ใน พระทัยซึ่งอัปปณิหิตะด้วย หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและอฐานะด้วย ทรงทำไว้ใน พระทัยซึ่งอัปปณิหิตะด้วย หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒ ดวง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒๒] ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะ เป็น อารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอนฐานะ เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒๓] ส. สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ เป็นอริยะ มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะเป็นอริยะ มี สุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. โพชฌงค์เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น อารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะเป็นอริยะ มี อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒๔] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะเป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะเป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะเป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิ- หิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒๕] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดาปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒๖] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้ง หลาย เป็นอริยะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งสุญญตะด้วย หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งสุญญตะด้วย หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒ ดวง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอัปปณิหิตะด้วย หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอัปปณิหิตะด้วย หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒ ดวง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒๗] ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็น อารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์ เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒๘] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็น อารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะ เป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒๙] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามความจริงในจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ ทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิ- มิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะ เป็นอารมณ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๓๐] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะเป็นอริยะ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๓๑] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๓๒] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะ ไม่พึงกล่าว ว่าเป็นอริยะ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็ไม่พึงกล่าวว่าเป็นอริยะ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๓๓] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวว่าเป็นอริยะ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็ไม่พึงกล่าวว่าเป็นอริยะ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๓๔] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะก็เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะก็เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๓๕] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ก็เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๓๖] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะเป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะเป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๓๗] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็น อารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อริยันติกถา จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๗๕๗๓-๗๗๗๙ หน้าที่ ๓๑๒-๓๒๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=7573&Z=7779&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=37&A=7573&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=42              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=720              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=37&A=5144              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4292              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=37&A=5144              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4292              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv3.2/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]