บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
เรื่องตายเพราะอหิวาตกโรค กำหนดอายุผู้บวชเป็นสามเณร [๑๑๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลหนึ่งได้ตายลง เพราะอหิวาตกโรค. ตระกูลนั้น เหลืออยู่แต่พ่อกับลูก. คนทั้งสองนั้นบวชในสำนักภิกษุแล้ว เที่ยวบิณฑบาตด้วยกัน. ครั้นเมื่อ เขาถวายภิกษาแก่ภิกษุผู้เป็นบิดา สามเณรน้อยก็ได้วิ่งเข้าไปพูดว่า พ่อจ๋า ขอจงให้แก่หนูบ้าง พ่อจ๋า ขอจงให้แก่หนูบ้าง. ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สามเณรน้อยรูปนี้ชะรอยเกิดแต่ภิกษุณี. ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชน พวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เด็กชายมีอายุหย่อน ๑๕ ปี ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.เด็กชายตระกูลอุปัฏฐากบรรพชา [๑๑๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอานนท์มีศรัทธาเลื่อมใส ได้ ตายลงเพราะอหิวาตกโรค. เหลืออยู่แต่เด็กชายสองคน. เด็กชายทั้งสองเห็นภิกษุทั้งหลาย จึงวิ่ง เข้าไปหาด้วยกิริยาที่คุ้นเคยแต่ก่อนมา. ภิกษุทั้งหลายไล่ไปเสีย. เด็กชายทั้งสองนั้นเมื่อถูกภิกษุ ทั้งหลายไล่ก็ร้องไห้ จึงท่านพระอานนท์ได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ มิให้บวช เด็กชายมีอายุหย่อน ๑๕ ปี ก็เด็กชายทั้งสองคนนี้มีอายุหย่อน ๑๕ ปี ด้วยวิธีอะไรหนอ เด็กชาย สองคนนี้จึงจะไม่เสื่อมเสีย ดังนี้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ เด็กชายสองคนนั้นอาจไล่กาได้ไหม? ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า อาจ พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บวชเด็กชาย มีอายุหย่อน ๑๕ ปี แต่สามารถไล่กาได้.เรื่องสามเณรของท่านพระอุปนันท์ [๑๑๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุปนันทศากยบุตรมีสามเณรอยู่ ๒ รูป คือสามเณร กัณฏกะ ๑ สามเณรมหกะ ๑. เธอทั้งสองประทุษร้ายกันและกัน. ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนสามเณรทั้งสองจึงได้ประพฤติอนาจารเห็นปานนั้นเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปเดียว ไม่พึงให้ สามเณร ๒ รูปอุปัฏฐาก รูปใดให้อุปัฏฐาก ต้องอาบัติทุกกฏ.เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๓๑๐๖-๓๑๓๕ หน้าที่ ๑๒๖-๑๒๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=3106&Z=3135&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=4&A=3106&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=38 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=111 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=4&A=3278 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=1463 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=4&A=3278 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=1463 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic50 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:50.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.50
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]