บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
[๕๕๖] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็น อารัมมณปุเรชาต ได้แก่พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระอรหันต์พิจารณาโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยปุเรชาต- *ปัจจัย ที่เป็น วัตถุปุเรชาต ได้แก่จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยปุเรชาตปัจจัย [๕๕๗] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็น อารัมมณปุเรชาต ได้แก่พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุ โดยความ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระเสขะหรือปุถุชนพิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระเสขะหรือปุถุชนพิจารณาเห็นรูปด้วยทิพจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ ที่เป็น วัตถุปุเรชาต ได้แก่หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยปุเรชาต- *ปัจจัย [๕๕๘] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็น อารัมมณปุเรชาต ได้แก่บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ เพราะปรารภจักษุนั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น ที่เป็น วัตถุปุเรชาต ได้แก่หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยปุเรชาต- *ปัจจัยเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๐ บรรทัดที่ ๖๔๔๔-๖๔๗๗ หน้าที่ ๒๕๒-๒๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=40&A=6444&Z=6477&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=40&A=6444&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=40&siri=51 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=556 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=40&A=3654 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=11669 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=40&A=3654 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=11669 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_40
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]