ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๑ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๘ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ ปัจฉิมอนุโลมติกปัฏฐาน
ปัญหาวาร
[๑๕๖๗] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดย เหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย [๑๕๖๘] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ [๑๕๖๙] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมธรรม โดยเหตุ ปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย [๑๕๗๐] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้วพิจารณากุศลกรรมนั้น พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นปริตตารัมมณธรรม พิจารณากิเลสที่ข่ม แล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม และปริตตธรรม โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ- *ขันธ์นั้น ราคะที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เกิดขึ้น โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นปริตตารัมมณธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม และปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดย อารัมมณปัจจัย [๑๕๗๑] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย คือ บุคคลพิจารณาทิพพจักขุ พิจารณาทิพพโสตธาตุ พิจารณาอิทธิวิธญาณ ที่เป็นปริตตา รัมมณธรรม เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมุปคญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม และมหัคคตธรรม โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็นมหัคคตา- *รัมมณธรรม ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นปริตตารัมมณธรรมและมหัคคตธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม และมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๑๕๗๒] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย คือ ฯลฯ พิจารณาวิญญาณัญจายตนะ พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ พิจารณา มหัคคตารัมมณธรรม เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมุปคญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม และมหัคคตธรรม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม และมหัคคต ธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม และมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดย อารัมมณปัจจัย [๑๕๗๓] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย คือ บุคคลพิจารณาปฐมฌานปัจจเวกขณะ พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนปัจจเวก- *ขณะ พิจารณาทิพพจักขุปัจจเวกขณะ พิจารณาทิพพโสตธาตุปัจจเวกขณะ อิทธิวิธญาณ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมุปคญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตัง สญาณปัจจเวกขณะ พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม พิจารณากิเลสที่ ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม และปริตตธรรม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็น ปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม และปริตตธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม และปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณแก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณ- *ปัจจัย [๑๕๗๔] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดย อารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค พิจารณาผล บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรมและปริตตธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสา- *นุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๑๕๗๕] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภูมิ พิจารณาโวทาน พิจารณามรรคปัจจเวกขณะ พิจารณาผลปัจจเวกขณะ พิจารณานิพพานปัจจเวกขณะ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม และปริตตธรรม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม และปริตต- *ธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม และปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดย อารัมมณปัจจัย [๑๕๗๖] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดย อารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณาเจโตปริยญาณที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดย อารัมมณปัจจัย [๑๕๗๗] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา กระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อนให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว พิจารณา บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม และปริตตธรรมให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๕๗๘] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยอธิปติ- *ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลกระทำทิพพจักขุให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่นแล้ว พิจารณา ทิพพโสตธาตุ ฯลฯ อิทธิวิธญาณที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เจโตปริย- *ญาณ ปุพเพนิสวาสานุสสติญาณ ยถากัมมุปคญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม และมหัคคตธรรมให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี เพราะกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่เป็น มหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ ทิฏฐิ เกิดขึ้น [๑๕๗๙] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยอธิปติ ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลกระทำวิญญาณัญจายตนะให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ อิทธิวิธญาณที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมุปคญาณ ฯลฯ กระทำอนาคตังสญาณให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม และมหัคคตธรรมให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี เพราะกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่เป็น มหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๕๘๐] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลกระทำปฐมฌานปัจจเวกขณะให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา กระทำอนาคตังสญาณปัจจเวกขณะให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม และปริตตธรรมให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี เพราะกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่เป็น ปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ ทิฏฐิ เกิดขึ้น [๑๕๘๑] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดย อธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรมเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย [๑๕๘๒] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระเสขบุคคลทั้งหลายกระทำโคตรภูให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา กระทำโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา กระทำมรรคปัจจเวกขณะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา ผลปัจจเวกขณะ ฯลฯ กระทำนิพพานปัจจเวกขณะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา [๑๕๘๓] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยอธิปติ- *ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระเสขบุคคลทั้งหลายกระทำเจโตปริยญาณ ที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ กระทำอนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา [๑๕๘๔] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย [๑๕๘๕] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย คือ จุติจิตที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม โดยอนันตรปัจจัย ภวังค์ที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม โดยอนันตรปัจจัย [๑๕๘๖] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย คือ อนุโลมที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ โวทาน อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย [๑๕๘๗] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย [๑๕๘๘] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย คือ จุติจิตที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นปริตตารัมมณธรรม โดยอนันตรปัจจัย ภวังค์ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะที่เป็นปริตตารัมมณธรรม โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นปริตตารัมมณธรรม โดยอนันตรปัจจัย [๑๕๘๙] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย คือ อนุโลมที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ โวทาน อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย [๑๕๙๐] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดย อนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็น ปัจจัยแก่ผล โดยอนันตรปัจจัย [๑๕๙๑] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย คือ มรรคปัจจเวกขณะ เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ผลปัจจเวกขณะ เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นปริตตารัมมณธรรม นิพพานปัจจเวกขณะ เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ เป็นปริตตารัมมณธรรม เจโตปริยญาณที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็น ปริตตารัมมณธรรม ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นปริตตารัมมณธรรม อนาคตังสญาณ เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ผล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็น ปริตตารัมมณธรรม โดยอนันตรปัจจัย [๑๕๙๒] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย คือ มรรคปัจจเวกขณะ เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ผลปัจจเวก- *ขณะ เป็นปัจจัยแก่ ฯลฯ ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม นิพพานปัจจเวกขณะ เป็นปัจจัยแก่ ฯลฯ ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม โดย อนันตรปัจจัย [๑๕๙๓] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยสมนันตร- *ปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัย [๑๕๙๔] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยสหชาต- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดย นิสสยปัจจัย ๓ นัย พึงกระทำ เหมือนกับปฏิจจวาร เป็นปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นปริตตารัมมณธรรม แล้ว ให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ยังฌานที่เป็นปริตตารัมมณธรรมให้เกิดขึ้น วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย แล้วให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ยังฌานที่เป็นปริตตารัมมณธรรมให้เกิดขึ้น วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ความปรารถนา สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นปริตตารัมมณธรรม แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๕๙๕] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ที่เป็นปริตตารัมมณธรรม แล้ว ยังฌานที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรมให้เกิดขึ้น วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติ ให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ความปรารถนา สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายแล้ว ยังฌานที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรมให้เกิดขึ้น วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ ศรัทธาที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ ศรัทธาที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๕๙๖] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ที่เป็นปริตตารัมมณธรรม แล้ว ยังฌานที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรมให้เกิดขึ้น มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ยังฌานที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรมให้เกิดขึ้น มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติ ให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ สุขทางกาย เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็น อัปปมาณารัมมณธรรม แก่ปัญญา โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๕๙๗] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ที่เป็นมหัคคตารัมมณ- *ธรรมแล้ว ยังฌานที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรมให้เกิดขึ้น วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฌานที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ ถือทิฏฐิ ศรัทธาที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม แก่ความปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๕๙๘] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ฌานที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ ความปรารถนาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ ศรัทธาที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็น ปริตตารัมมณธรรม แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๕๙๙] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฌานที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ ความปรารถนา ฌานที่เป็น อัปปมาณารัมมณธรรม ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็น อัปปมาณารัมมณธรรม แก่ปัญญา โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๖๐๐] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ที่เป็นอัปปมาณารัมมณ- *ธรรม ฌานที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ฯลฯ ปัญญา ฌานที่เป็นอัปปมาณา- *รัมมณธรรม ฯลฯ มรรค ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ฯลฯ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณา- *รัมมณธรรม แก่ปัญญา แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๖๐๑] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ที่เป็นอัปปมาณารัมมณ- *ธรรมแล้ว ให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานที่เป็นปริตตารัมมณธรรมให้เกิดขึ้น วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ฯลฯ ปัญญาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ฯลฯ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ปริตตา- *รัมมณธรรม แก่ปัญญา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๖๐๒] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ฌานที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ฯลฯ ปัญญา ฌานที่มหัคคตา- *รัมมณธรรม ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ฯลฯ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นมหัคคตา- *รัมมณธรรม แก่ปัญญา โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๖๐๓] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอาเสวน- *ปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นปริตตารัมมณธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย [๑๖๐๔] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดยอาเสวน- *ปัจจัย คือ อนุโลมที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ โวทาน โดยอาเสวนปัจจัย [๑๖๐๕] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยอาเสวน- *ปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย [๑๖๐๖] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดยอาเสวน- *ปัจจัย คือ อนุโลมที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ โวทาน โดยอาเสวนปัจจัย [๑๖๐๗] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดย อาเสวนปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอาเสวนปัจจัย [๑๖๐๘] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ นานาขณิกะ ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นปริตตารัมมณธรรมเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ซึ่งเป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย [๑๖๐๙] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ นานาขณิกะ ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรมเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ซึ่งเป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย [๑๖๑๐] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ซึ่งเป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย [๑๖๑๑] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดยกัมม- *ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ นานาขณิกะ ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ซึ่งเป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย [๑๖๑๒] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยกัมม- *ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ซึ่งเป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย [๑๖๑๓] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยวิปากปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอินทริยปัจจัย เป็นปัจจัย โดยฌานปัจจัย เป็นปัจจัย โดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัย โดยสัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอัตถิปัจจัย เป็นปัจจัย โดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัย โดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอวิคตปัจจัย [๑๖๑๔] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๓ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๗ ในอธิปติปัจจัย มีวาระ ๗ ในอนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสหชาตปัจจัย มี " ๓ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๓ ในนิสสยปัจจัย มี " ๓ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๕ ในกัมมปัจจัย มี " ๕ ในวิปากปัจจัย มี " ๓ ในอาหารปัจจัย มี " ๓ ในอินทริยปัจจัย ในฌานปัจจัย ในมัคคปัจจัย ในสัมปยุตตปัจจัย ในอัตถิปัจจัย มีวาระ ๓ ในนัตถิปัจจัย มี " ๙ ในวิคตปัจจัย มี " ๙ ในอวิคตปัจจัย มี " ๓
พึงนับอย่างนี้
อนุโลม จบ
[๑๖๑๕] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัย โดย กัมมปัจจัย [๑๖๑๖] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๖๑๗] ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย [๑๖๑๘] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๖๑๙] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอุปนิสยปัจจัย เป็นปัจจัย โดยกัมมปัจจัย [๑๖๒๐] มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดย อุปนิสสยปัจจัย [๑๖๒๑] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณารัมมณธรรม โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๖๒๒] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัย โดยกัมมปัจจัย [๑๖๒๓] อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณธรรม โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๖๒๔] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สหชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นิสสยปัจจัย มีวาระ ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย มี " ๙ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัตถิปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย มี " ๙
พึงนับอย่างนี้
ปัจจนียะ จบ
[๑๖๒๕] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีวาระ ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๓
พึงนับอย่างนี้
อนุโลมปัจจนียะ จบ
[๑๖๒๖] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๗ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในอนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในสมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในสหชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในอัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในอุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕ ในกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕ ในวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ฯลฯ ในสัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในอัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในอวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓
พึงนับอย่างนี้
ปัจจนียานุโลม จบ
ปริตตารัมมณัตติกะที่ ๑๓ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๑ บรรทัดที่ ๑๑๑๓๑-๑๑๕๗๑ หน้าที่ ๔๗๓-๔๙๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=41&A=11131&Z=11571&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=41&A=11131&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=41&siri=31              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=1567              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=41&A=8969              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=41&A=8969              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_41

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]