ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๑ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๘ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ ปัจฉิมอนุโลมติกปัฏฐาน
ปัญหาวาร
[๒๑๔๒] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดยเหตุ- *ปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย [๒๑๔๓] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ [๒๑๔๔] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดย อารัมมณปัจจัย คือ บุคคลพิจารณาวิญญาณัญจายตนะที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม พิจารณาเนวสัญญานา- *สัญญายตนะ พิจารณาทิพพจักขุที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม และอัชฌัตตธรรม ทิพพโสตธาตุ ฯลฯ อิทธิวิธญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมุปคญาณ ฯลฯ พิจารณา อนาคตังสญาณ พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม พิจารณากิเลสที่ ข่มแล้ว กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็น อัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปุพเพ- *นิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๒๑๔๕] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย คือ บุคคลอื่น วิญญาณัญจายตนะที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ พิจารณา เนวสัญญานาสัญญายตนะ บุคคลอื่นพิจารณาทิพพจักขุ ที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตา- *รัมมณธรรม ทิพพโสตธาตุ ฯลฯ อิทธิวิธญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมุปค- *ญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณ- *ธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริย- *ญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๒๑๔๖] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย คือ บุคคลอื่นพิจารณาทิพพจักขุที่เป็นพหิทธาธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรม ทิพพโสตธาตุ ฯลฯ อิทธิวิธญาณ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมุปคญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณ บุคคลอื่นพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นพหิทธาธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณ- *ธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดย อารัมมณปัจจัย [๒๑๔๗] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว พิจารณากุศลกรรมนั้น บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน บุคคลออกจากฌาน พิจารณาฌาน พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ บุคคลพิจารณาทิพพจักขุที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรม ทิพพโสตธาตุ ฯลฯ อิทธิวิธญาณ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมุปค- *ญาณ ฯลฯ อนาคตังสญาณ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็น อัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิญญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดย อารัมมณปัจจัย [๒๑๔๘] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดยอธิปติ- *ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่บุคคลกระทำวิญญาณัญจายตนะ ที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา กระทำเนวสัญญานา- *สัญญายตนะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ กระทำทิพพจักขุที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม และ อัชฌัตตธรรมให้หนักแน่น ฯลฯ ทิพพโสตธาตุ ฯลฯ อิทธิวิธญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมุปคญาณ ฯลฯ กระทำอนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรมให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ราคะที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๒๑๔๙] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๒๑๕๐] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดยอธิปติ- *ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถ กรรมแล้ว กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค มรรค ฯลฯ กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ กระทำทิพพจักขุที่เป็นอัชฌัตตธรรมซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ทิพพโสตธาตุ ฯลฯ อิทธิวิธญาณ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมุปคญาณ ฯลฯ บุคคลกระทำอนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรมให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี เพราะกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่เป็น อัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ ทิฏฐิ เกิดขึ้น [๒๑๕๑] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย [๒๑๕๒] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย คือ จุติจิตที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม โดยอนันตรปัจจัย ภวังค์ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัย แก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย [๒๑๕๓] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล ผล เป็นปัจจัย แก่ผล อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย [๒๑๕๔] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย คือ จุติจิตที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิต ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณ- *ธรรม โดยอนันตรปัจจัย ภวังค์ที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นอัชฌัตตาธัมมณธรรม โดยอนันตรปัจจัย [๒๑๕๕] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดยสมนันตร- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดย นิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนาที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม แก่ ทุกขานุปัสสนา แก่อนัตตานุปัสสนา โดยอุปนิสสยปัจจัย [๒๑๕๖] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม แก่ ทุกขานุปัสสนา แก่อนัตตานุปัสสนา โดยอุปนิสสยปัจจัย [๒๑๕๗] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม แก่ทุกขานุปัสสนา แก่อนัตตานุปัสสนา โดยอุปนิสสยปัจจัย [๒๑๕๘] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม แก่ทุกขานุปัสสนา แก่อนัตตานุปัสสนา โดยอุปนิสสยปัจจัย [๒๑๕๙] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดยอาเสวน- *ปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย [๒๑๖๐] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยอาเสวน- *ปัจจัย คือ อนุโลมที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ โวทาน โดยอาเสวนปัจจัย [๒๑๖๑] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยอาเสวน- *ปัจจัย คือ อนุโลมที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ โวทาน โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอาเสวนปัจจัย [๒๑๖๒] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดยกัมม- *ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็น สหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็น นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ซึ่งเป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย [๒๑๖๓] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ซึ่งเป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย [๒๑๖๔] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็น สหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็น นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ซึ่งเป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย [๒๑๖๕] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ซึ่งเป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย [๒๑๖๖] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดยวิปาก- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อินทริยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ฌาน- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดย มัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อัตถิ- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดย นัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดย วิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อวิคตปัจจัย [๒๑๖๗] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๒ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๔ ในอธิปติปัจจัย มี " ๓ ในอนันตรปัจจัย มี " ๔ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๔ ในสหชาตปัจจัย มี " ๒ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๒ ในนิสสยปัจจัย มี " ๒ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๔ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๓ ในกัมมปัจจัย มี " ๔ ในวิปากปัจจัย มี " ๒ ฯลฯ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๒ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๒ ในวิปปยุตตปัจจัย มีวาระ ๒ ในอัตถิปัจจัย มี " ๒ ในนัตถิปัจจัย มี " ๔ ในวิคตปัจจัย มี " ๔ ในอวิคตปัจจัย มีวาระ ๒
พึงนับอย่างนี้
อนุโลม จบ
[๒๑๖๘] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัย โดย กัมมปัจจัย [๒๑๖๙] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย กัมมปัจจัย [๒๑๗๐] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย กัมมปัจจัย [๒๑๗๑] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย กัมมปัจจัย [๒๑๗๒] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย มี " ๔ ฯลฯ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มีวาระ ๔ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย มี " ๔
พึงนับอย่างนี้
ปัจจนียะ จบ
[๒๑๗๓] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีวาระ ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๒ ในปัจจัยทั้งปวง กับ ฯลฯ มี " ๒
พึงนับอย่างนี้
อนุโลมปัจจนียะ จบ
[๒๑๗๔] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๔ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในอนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในสมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในสหชาตปัจจัย กับ ฯลฯ ในอัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ ในนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๒ ในอุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ฯลฯ ในสัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในอัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในอวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒
พึงนับอย่างนี้
ปัจจนียานุโลม จบ
ปัญหาวาร จบ
อัชฌัตตารัมมณัตติกะ ที่ ๒๑ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๑ บรรทัดที่ ๑๔๖๕๔-๑๔๙๑๐ หน้าที่ ๖๒๑-๖๓๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=41&A=14654&Z=14910&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=41&A=14654&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=41&siri=47              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=2142              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=41&A=11724              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=41&A=11724              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_41

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]