บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
ปัญหาวาร [๖๗๖] ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาส- *ธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดย เหตุปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม และ ธรรม ที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย และปรามาสธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย [๖๗๗] ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย คือ เพราะปรารภปรามาสธรรม ปรามาสธรรม เกิดขึ้นพึงกระทำมูล เพราะปรารภปรามาสธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เกิดขึ้น เพราะปรารภปรามาสธรรม ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดย อารัมมณปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ บุคคลกระทำอุโบสถกรรม แล้วพิจารณา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภความยินดีนั้น ราคะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน ฌาน ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณา นิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ฯลฯ กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ ปรามาสธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ แล้วย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดย เจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่ เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้วย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งกุศลกรรมนั้น เพราะปรารภความยินดีนั้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น อกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ฌาน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่ง ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ทิฏฐิ ฯลฯ ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรมและธรรมที่ไม่ใช่ ปรามาสธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งกุศลกรรมนั้น เพราะปรารภความยินดีนั้น ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ฌาน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่ง ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น ปรามาสธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ เพราะปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ฯลฯ มี ๓ นัย [๖๗๘] ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอธิปติปัจจัย คือ เพราะกระทำปรามาสธรรมทั้งหลายให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ปรามาสธรรม ฯลฯ มี ๓ นัย พึงกระทำอารัมมณาธิปติ อย่างเดียว ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดย อธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ฌาน ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ นิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล โดย อธิปติปัจจัย จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาส- *ธรรมให้หนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักขุเป็นต้น นั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ จากฌาน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาส- *ธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ กระทำจักขุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ทิฏฐิ ฯลฯ ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัย แก่ปรามาสธรรม โดยอธิปติปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรมและธรรมที่ไม่ใช่ ปรามาสธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ จากฌาน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาส- *ธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำ จักขุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย เกิดขึ้น ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และปรามาสธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดย อธิปติปัจจัย ปรามาสธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาส- *ธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะกระทำปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ปรามาสธรรม ฯลฯ มี ๓ นัย [๖๗๙] ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ปรามาสธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม ที่ เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัยพึงกระทำมูล ปรามาสธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาส- *ธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอนันตรปัจจัยพึงกระทำมูล ปรามาสธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรมที่เกิดหลังๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอนันตรปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดย อนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัย แก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัยพึงกระทำมูล ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ปรามาส- *ธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนะเป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดย อนันตรปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ปรามาส ธรรม ที่เกิดหลังๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรมและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอนันตรปัจจัย ปรามาสธรรม และ ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาส- *ธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ปรามาสธรรม ที่เกิดก่อนๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็น ปัจจัยแก่ปรามาสธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัยพึงกระทำมูล ปรามาสธรรม ที่เกิดก่อนๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ วุฏฐานะ โดย อนันตรปัจจัย ปรามาสธรรม ที่เกิดก่อนๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ ปรามาสธรรม ที่เกิดหลังๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอนันตรปัจจัย ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย มี ๕ นัย [๖๘๐] ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสย- ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาส- *ธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ นัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ความปรารถนา สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัย ศีล ฯลฯ ปัญญา ราคะ ความปรารถนาสุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ถือทิฏฐิ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรมและธรรมที่ไม่ใช่ ปรามาสธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ถือทิฏฐิ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม และสัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย โดยอุปนิสสยปัจจัย ปรามาสธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาส- *ธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ นัย เป็นอุปนิสสยะ ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ นัย [๖๘๑] ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาส- *ธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็น หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ แล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่ กายวิญญาณ ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยปุเรชาต- *ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อม เพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งหทัยวัตถุ เพราะปรารภความยินดีนั้น ทิฏฐิ ฯลฯ ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดย ปุเรชาตปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ ปรามาสธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อม เพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งหทัยวัตถุ เพราะปรารภความยินดีนั้น ปรามาสธรรม และ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม และ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยปุเรชาตปัจจัย [๖๘๒] ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดย ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ นัย พึงกระทำปัจฉาชาต ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ นัย [๖๘๓] ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาส- *ธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็นสหชาต ได้แก่ เจตนาที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ วิบากขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัยพึงกระทำมูล เจตนาที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยกัมม- *ปัจจัย เจตนาที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรมและสัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๖๘๔] ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาส- *ธรรม โดยวิปากปัจจัย มี ๑ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอาหารปัจจัย มี ๓ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอินทริยปัจจัย มี ๓ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยฌานปัจจัย มี ๓ นัย [๖๘๕] ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดย มัคคปัจจัย คือ องค์มรรคที่เป็นปรามาสธรรม ฯลฯหัวข้อปัจจัย ๕ พึงกระทำอย่างนี้ ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ นัย [๖๘๖] ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยวิปปยุตต- *ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ปรามาส- *ธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม และธรรมที่ ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ปรามาส- *ธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ปรามาสธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ [๖๘๗] ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิด ก่อน โดยอัตถิปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ฯลฯ ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอัตถิ- *ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัย แก่ปรามาสธรรม โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลิน ยิ่งซึ่งหทัยวัตถุ เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น หทัยวัตถุ เป็นปัจจัย ปรามาสธรรม โดยอัตถิปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม และธรรมที่ ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๓ และปรามาสธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลิน ยิ่งซึ่งหทัยวัตถุ เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ปรามาสธรรม และสัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ปรามาสธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม และปรามาส- *ธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ปรามาสธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ปรามาสธรรม และ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และกพฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย [๖๘๘] ในเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในอธิปติปัจจัย มี " ๙ ในอนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสหชาตปัจจัย มี " ๕ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๕ ในนิสสยปัจจัย มี " ๕ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๓ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๓ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๙ ในกัมมปัจจัย มี " ๓ ในวิปากปัจจัย มี " ๑ ในอาหารปัจจัย มี " ๓ ในอินทริยปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในฌานปัจจัย มี " ๓ ในมัคคปัจจัย มี " ๕ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในอัตถิปัจจัย มี " ๕ ในนัตถิปัจจัย มี " ๙ ในวิคตปัจจัย มี " ๙ ในอวิคตปัจจัย มี " ๕ [๖๘๙] ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปัจฉาชาตปัจจัย ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรมและธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสย- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัย โดยปุเรชาตปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ ปรามาสธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย ปรามาสธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย ปรามาสธรรมและธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ ปรามาสธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ปรามาสธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ปรามาสธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย [๖๙๐] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย มี " ๙ [๖๙๑] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับ เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ [๖๙๒] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๙ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙พึงกระทำอนุโลมมาติกา ในอวิคตปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๕ปรามาสทุกะ จบ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๒ บรรทัดที่ ๑๒๒๙๖-๑๒๖๗๔ หน้าที่ ๕๐๒-๕๑๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=42&A=12296&Z=12674&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=42&A=12296&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=42&siri=94 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=676 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=42&A=8054 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=42&A=8054 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_42
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]