สุขสหคตทุกะ
ปฏิจจวาร
[๖๙๓] สุขสหคตธรรม อาศัยสุขสหคตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสุขสหคตธรรม ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๒ ปฏิสนธิ.
ธรรมที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม อาศัยสุขสหคตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ สุข และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสุขสหคตธรรม.
พึงยังสุขสหคตทุกะ ให้พิสดารเหมือนกับอนุโลมปฏิจจวาร แห่งสัปปีติกทุกะ ฉะนั้น.
[๖๙๔] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๙
ในอารัมมณปัจจัย มี " ๙ ฯลฯ
ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๖
ในอาเสวนปัจจัย มี " ๖
ในกัมมปัจจัย มี " ๙
ในวิคตปัจจัย มี " ๙
[๖๙๕] สุขสหคตธรรม อาศัยสุขสหคตธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสุขสหคตธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.
พึงกระทำมูล
สุข และ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสุขสหคตธรรม ซึ่งเป็น
อเหตุกะ.
สุขสหคตธรรม และธรรมที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม อาศัยสุขสหคตธรรม เกิดขึ้น ไม่
ใช่เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๒ และสุข และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสุขสหคตธรรม ซึ่ง
เป็นอเหตุกะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.
ธรรมที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม อาศัยธรรมที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะ
เหตุปัจจัย.
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ซึ่งเป็น
อเหตุกะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยสุข ซึ่งเป็นอเหตุกะ
ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม
ขันธ์ ๒ ฯลฯ หทัยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทัยวัตถุ มหาภูตรูป ๑ ตลอด
ถึงอสัญญสัตว์ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่สหรคต
ด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ.
เหมือนเหตุปัจจัยในสัปปีติกทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน มีหัวข้อปัจจัย ๙ ในทุกปัจจัย
นั่นเทียว.
[๖๙๖] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙
ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๓
ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย มี " ๓
ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มี " ๙
ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๙
ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย มี " ๙
ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย มี " ๔
ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปากปัจจัย มี " ๙
ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาหารปัจจัย มี " ๑
ในปัจจัยที่ไม่ใช่อินทริยปัจจัย มี " ๑
ในปัจจัยที่ไม่ใช่ฌานปัจจัย มี " ๖
ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย มี " ๙
ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๓
ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๖
ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย มี " ๓
ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๓.
แม้การนับทั้งสอง นอกจากนี้ ก็พึงกระทำอย่างนี้. แม้สหชาตวารก็เหมือนกับ
ปฏิจจวาร.
ปวัตติก็ดี ปฏิสนธิก็ดี ในปัจจยวาร พึงให้พิสดาร ส่วนหทัยวัตถุ พึงให้พิสดาร
ในปวัตติ เหมือนในสัปปีติกทุกะ ปัจจยวารปัจจนียะ โมหะ มี ๑ นัย เท่านั้น เหมือนใน
สัปปีติกทุกะ. นิสสยวารก็ดี สังสัฏฐวารก็ดี สัมปยุตตวารก็ดี พึงกระทำเหมือนสัปปีติกทุกะ
ฉะนั้น.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๑๑๖๗๘-๑๑๗๓๑ หน้าที่ ๔๕๗-๔๕๙.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=43&A=11678&Z=11731&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=43&A=11678&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=43&siri=96
พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=43&A=8573
The Pali Tipitaka in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=43&A=8573
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓
http://84000.org/tipitaka/read/?index_43
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
