ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
ปัญหาวาร
[๗๑๕] อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคตธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดย เหตุปัจจัย ปฏิสนธิ.
พึงกระทำหัวข้อปัจจัย ๔ โดยนัยดังกล่าวมาแล้ว เหมือนกับสวิตักกทุกะ.
[๗๑๖] อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอธิปติปัจจัย. อารัมมณปัจจัยก็ดี อธิปติปัจจัยก็ดี พึงให้พิสดารเหมือนกับสัปปีติกทุกะ ต่างกันแต่คำว่า อุเบกขา. [๗๑๗] อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย. อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาที่เกิด หลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิต ที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม วิบากมโนธาตุ เป็นปัจจัย แก่วิบากมโนวิญญาณธาตุ ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม ภวังค์ที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม เป็น ปัจจัยแก่ภวังค์ ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม กุศล อกุศลที่ เป็นอุเบกขาสหคตธรรม เป็น ปัจจัยแก่วุฏฐานะ ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผล เป็นปัจจัยแก่ วุฏฐานะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ที่ไม่ ใช่อุเบกขาสหคตธรรม โดยอนันตรปัจจัย. อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคตธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคต ธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม ที่เกิดหลังๆ และอุเบกขา โดยอนันตรปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม โดย อนันตรปัจจัย คือ อุเบกขาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคต- *ธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิต ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย.
พึงกระทำมูล
อุเบกขาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิต ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ภวังค์ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ กายวิญญาณธาตุ เป็นปัจจัยแก่วิบาก มโนธาตุ วิบากมโนวิญญาณธาตุ ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่กิริยามโนวิญญาณ ธาตุ ภวังค์ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ภวังค์ที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม กุศล อกุศลที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม กิริยา เป็น ปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอนันตรปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคตธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ อุเบกขาสหคตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ อุเบกขาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ที่เกิด หลังๆ และอุเบกขา โดยอนันตรปัจจัย. อุเบกขาสหคตธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคต ธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ที่เกิดก่อนๆ และอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย.
พึงกระทำมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ที่เกิดก่อนๆ และอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่อุเบกขา ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิต ที่อุเบกขาสหคตธรรม และอุเบกขา เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่ใช่อุเบกขา สหคตธรรม อาวัชชนะ และอุเบกขา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม วิปากมโนธาตุ และอุเบกขา เป็นปัจจัยแก่วิปากมโนวิญญาณธาตุ ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม ภวังค์ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรมและอุเบกขา เป็นปัจจัยแก่ภวังค์ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม กุศล อกุศล ที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม และอุเบกขา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่ใช่อุเบกขา สหคตธรรม กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม โดยอนันตรปัจจัย.
พึงกระทำมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ที่เกิดก่อนๆ และอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ที่เกิดหลังๆ และอุเบกขา โดยอนันตรปัจจัย. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย มี ๙ นัย [๗๑๘] อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ นัย. ธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม โดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม แล้วให้ทานด้วยจิตที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ฌานที่ไม่ใช่ อุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ มรรค ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ฤดู โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ อุเบกขา แล้วให้ทานด้วยจิตที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ เสนาสนะ และอุเบกขา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ และแก่อุเบกขา โดยอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคตธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ นัย เป็นอุปนิสสยปัจจัย คือ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคต- *ธรรม แล้วให้ทานด้วยจิตที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือ ทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ เสนาสนะ อุเบกขา แล้ว ให้ทานด้วยจิตที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ด้วยจิตที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ กล่าวมุสา ฯลฯ ปิสุณา ฯลฯ ผรุสะ ฯลฯ สัมผะ ฯลฯ ตัดช่องย่องเบา ฯลฯ ลอบขึ้นไปลักทรัพย์ ฯลฯ ปล้นบ้านหลังหนึ่ง ฯลฯ ปล้นตามทาง ฯลฯ ภริยาผู้อื่น ฯลฯ ฆ่าคนในหมู่บ้าน ฯลฯ ฆ่าคนในนิคม ฯลฯ ศรัทธาที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นอุเบกขา สหคตธรรม ฯลฯ แก่ความปรารถนา ฯลฯ แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคตธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ อุเบกขาสหคตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย. มี ๓ นัย เป็นอุปนิสสยปัจจัย มีคำอธิบายเหมือนบาลีตอนที่สอง. อุเบกขาสหคตธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุเบกขา- *สหคตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ นัย. [๗๑๙] ธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคต- *ธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๓ นัย เหมือนกับสัปปีติกทุกะ. [๗๒๐] อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อุเบกขาสหคตธรรม โดย ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ นัย. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยกัมมปัจจัย มี ๖ นัย พึงกระทำเป็นสหชาต นานาขณิก ๔ นัย และเป็นนานาขณิก ๒ นัย. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยวิปากปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอาหารปัจจัย มี ๔ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอาหารปัจจัย มี ๔ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอินทริยปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยฌานปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยมัคคปัจจัย มี ๔ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๖ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอัตถิปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนัตถิปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยวิคตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอวิคตปัจจัย.
พึงจำแนกปัจจัยเหล่านี้ โดยกระทำอย่างสัปปีติกทุกะ.
[๗๒๑] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๔ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในอธิปติปัจจัย มี " ๙ ในอนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสหชาตปัจจัย มี " ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๙ ในนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๓ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๓ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๙ ในกัมมปัจจัย มี " ๖ ในวิปากปัจจัย มี " ๙ ในอาหารปัจจัย มี " ๔ ในอินทริยปัจจัย มีวาระ ๔ ในฌานปัจจัย มี " ๙ ในมัคคปัจจัย มี " ๔ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๖ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในอัตถิปัจจัย มี " ๙ ในนัตถิปัจจัย มี " ๙ ในวิคตปัจจัย มี " ๙ ในอวิคตปัจจัย มี " ๙. ปัจจนียวิภังค์ก็ดี การนับสามอย่างนอกนี้ก็ดี พึงกระทำเหมือนกับสัปปีติกทุกะ โดยนัย ดังกล่าวมาแล้ว.
อุเบกขาสหคตทุกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๑๒๐๕๕-๑๒๒๐๒ หน้าที่ ๔๗๑-๔๗๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=43&A=12055&Z=12202&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=43&A=12055&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=43&siri=101              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=43&A=8839              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=43&A=8839              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_43

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]