ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
ปัญหาวาร
[๒๔๐] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดย เหตุปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๐.

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ปฏิสนธิ.
พึงกระทำมูล
เหตุทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิต และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ปฏิสนธิ.
พึงกระทำมูล
เหตุทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และ จิต และรูปทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยเหตุปัจจัย ปฏิสนธิ. [๒๔๑] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดย อารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตต- *สังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล
จิต ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล
จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน- *ธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลาย พิจารณา นิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ. อารัมมณปัจจัยในจิตตสหภุทุกะฉันใด พึงทำฉันนั้น ไม่มีแตกต่างกัน พึงกระทำหัวข้อ ปัจจัยทั้ง ๙. [๒๔๒] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดย อธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ มี ๓ นัย.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๑.

พึงกระทำอธิปติปัจจัยทั้งสอง. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน- *ธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ มี ๓ นัย. พึงกระทำอธิปติปัจจัยทั้งสอง. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ. พึงกระทำอธิปติปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น พึงกระทำหัวข้อปัจจัยทั้ง ๙ เหมือนจิตตสหภุทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน. [๒๔๓] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดย อนันตรปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๙ เหมือนจิตตสหภุทุกะ. เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย มี ๙ นัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี ๙ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี ๙ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๙ เหมือนกับจิตตสหภุทุกะ ไม่มีแตก ต่างกัน. [๒๔๔] ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐ- *สมุฏฐานธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต มี ๓ นัย. เหมือนกับจิตตสหภุทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน. [๒๔๕] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน- *ธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย เหมือนกับจิตตสหภุทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน ปัจฉาชาตมีทั้ง ๓ นัย เป็นเอกมูล ๒ เป็นปัจจัยสงเคราะห์ ๑.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๒.

เป็นปัจจัย โดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ นัย. [๒๔๖] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดย กัมมปัจจัย มี ๓ นัย เหมือนกับจิตตสหภุทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน กัมมปัจจัยมี ๓ นัย ทั้งสหชาต และนานาขณิก. เป็นปัจจัยโดยวิปากปัจจัย มี ๙ นัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย มี ๙ นัย เหมือนกับข้อความตามบาลี ในจิตตสหภุทุกะ กพฬิงการาหาร มี ๑ นัยเท่านั้น. เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย มี ๙ นัย เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี ๓ นัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี ๓ นัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ นัย. [๒๔๗] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน- *ธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน- *ธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็น จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๓.

ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ โดยวิปปยุตตปัจจัย กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐ- *สมุฏฐานธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และ ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต และสัมปปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต และสัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต.
ฯลฯ
[๒๔๘] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดย อัตถิปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาร. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาร.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๔.

ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน- *ธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์. ที่เป็นปุเรชาต พึงกระทำเหมือนกับปุเรชาตปัจจัย. ที่ย่อๆ ทั้งหมดควรให้พิสดาร. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ จิต เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ จิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต เหมือนกับปุเรชาตปัจจัย ไม่มีแตกต่างกัน. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และ ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ จิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ จิต เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดย อัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดย อัตถิปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต เหมือนกับปุเรชาตปัจจัย.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๕.

จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขุวิญญาณ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรมที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ และจิต เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๒ นัย. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะเป็น ปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม ที่ สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ และจิต เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ รูปทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต โดย อัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ มี ๓ นัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และจิตเป็น ปัจจัยแก่กาย ที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และจิต และ กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรมนี้ โดยอัตถิปัจจัย.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๖.

ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และจิต และ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๒ และจักขุวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และจิตเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๒ และรูปทั้งหลายที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิต โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๒ นัย. [๒๔๙] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๓ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในอธิปติปัจจัย มี " ๙ ในอนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสหชาตปัจจัย มี " ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๙ ในนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๓ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๓ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๙

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๗.

ในกัมมปัจจัย มีวาระ ๓ ในวิปากปัจจัย มี " ๙ ในอาหารปัจจัย มี " ๙ ในอินทริยปัจจัย มี " ๙ ในฌานปัจจัย มี " ๓ ในมัคคปัจจัย มี " ๓ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในอัตถิปัจจัย มี " ๙ ในนัตถิปัจจัย มี " ๙ ในวิคตปัจจัย มี " ๙ ในอวิคตปัจจัย มี " ๙. [๒๕๐] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมม- *ปัจจัย จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน- *ธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอินทริยปัจจัย.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๘.

ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และ ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัย แก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย. [๒๕๑] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๙ [๒๕๒] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีวาระ ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๙.

ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยทั้งปวง กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓. [๒๕๓] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในปัจจัยทั้งปวง กับ ฯลฯ มี " ๙.
พึงกระทำอนุโลมมาติกา.
จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ จบ.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๓๘๔๙-๔๐๘๘ หน้าที่ ๑๔๙-๑๕๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=43&A=3849&Z=4088&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=43&A=3849&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=43&siri=29              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=43&A=2797              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=43&A=2797              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_43

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]