อุปาทานอุปาทานิยทุกะ
ปฏิจจวาร
[๔๖๐] ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานธรรม และอุปาทานิยธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้ง
อุปาทานธรรม และอุปาทานิยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ กามุปาทาน อาศัยทิฏฐุปาทาน ทิฏฐุปาทาน อาศัยกามุปาทาน.
พึงกระทำจักรนัย.
ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทา-
*นิยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย อาศัยอุปาทานธรรมทั้งหลาย.
ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทาน-
*ธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ กามุปาทาน และสัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย อาศัยทิฏฐุปาทาน
พึงกระทำจักรนัย.
ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่
อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่
อุปาทานธรรม ปฏิสนธิตลอดถึงอัชฌัตติกมหาภูตรูป.
ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม อาศัยธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทาน-
*ธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ อุปาทานธรรมทั้งหลาย อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม.
ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่
อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็นอุปาทานิยะ แต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และอุปาทานธรรมทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
อุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม ขันธ์ ๒ ฯลฯ.
ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งอุปาทาน และอุปาทานิย-
*ธรรม และธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ กามุปาทาน อาศัยทิฏฐุปาทาน และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย.
พึงกระทำจักรนัย.
ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งอุปาทาน และ
อุปาทานิยธรรม และธรรมที่เป็นอุปาทานิยะ แต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปาทานิยะ แต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม
และอุปาทานธรรมทั้งหลาย ขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอุปาทานธรรม และมหาภูตรูป
ทั้งหลาย.
ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทาน และอุปาทานิยธรรม และธรรมที่เป็นอุปาทานิยะ แต่ไม่ใช่
อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และธรรมที่เป็นอุปาทานิยะ แต่
ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และกามุปาทาน และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปาทานิยะ
แต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม และทิฏฐุปาทาน ขันธ์ ๒ ฯลฯ.
พึงกระทำจักรนัย.
โดยนัยนี้ อุปาทานทุกะฉันใด ปฏิจจวารก็ดี สหชาตวารก็ดี ปัจจยวารก็ดี นิสสยวาร
ก็ดี สังสัฏฐวารก็ดี สัมปยุตตวารก็ดี พึงกระทำฉันนั้น. ไม่มีแตกต่างกัน หลักจำแนกหัวข้อ
ปัจจัยต่างกัน.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๗๖๓๑-๗๖๗๒ หน้าที่ ๒๙๘-๒๙๙.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=43&A=7631&Z=7672&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=43&A=7631&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=43&siri=53
พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=43&A=5640
The Pali Tipitaka in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=43&A=5640
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓
http://84000.org/tipitaka/read/?index_43
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
