บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
ปัญหาวาร [๕๒๓] สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยเหตุ- *ปัจจัย. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุ- *ปัจจัย. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม และอสังกิลิฏฐธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐาน- *รูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิ ฯลฯ [๕๒๔] สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลยินดี เพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งราคะ เพราะปรารภความยินดีนั้น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลยินดี ซึ่งทิฏฐิ.เหมือนกับกุสลัตติกะ. เพราะปรารภวิจิกิจฉา เพราะปรารภอุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ข่มแล้ว กิเลสทั้งหลายที่เคย เกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสา- *นุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กุศลธรรมที่เคยสั่งสมไว้แล้วใน กาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน พิจารณาฌาน พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค แล้วพิจารณามรรค ฯลฯ เป็นปัจจัย แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอสังกิลิฏฐธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อนาคตตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอสังกิลิฏฐธรรมเพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น. [๕๒๕] สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลกระทำราคะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อม ยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิเกิดขึ้น บุคคลกระทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัย แก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม และอสังกิลิฏฐธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กุศลธรรม ที่ได้สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน กระทำฌานนั้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว พิจารณา ฯลฯ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่ผล โดยอธิปติปัจจัย. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นอสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กุศลธรรมที่สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ กระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอสังกิลิฏฐธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วย่อมยินดี ย่อม เพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำทานเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น. [๕๒๖] สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอนันตรปัจจัย. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอสังกิลิฏฐธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อสังกิลิฏฐธรรม ที่เกิดหลังๆ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม โดยอนันตรปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย มี ๔ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย มี ๕ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย มี ๗ นัย. [๕๒๗] สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยราคะ แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ บุคคลเข้าไปอาศัยโทสะ ฯลฯ ความปรารถนา แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนา โดย อุปนิสสยปัจจัย. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยราคะแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติ ให้เกิด บุคคลเข้าไปอาศัยโทสะ ฯลฯ ความปรารถนา แล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา แก่ปัญญา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย. มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ยัง สมาบัติให้เกิด ศีล ฯลฯ ปัญญา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ฤดู โภชนะ ฯลฯ บุคคลเข้าไปอาศัย เสนาสนะ แล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศีล ฯลฯ ปัญญา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ฤดู โภชนะ ฯลฯ บุคคลเข้าไปอาศัย เสนาสนะแล้ว ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนา โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย. [๕๒๘] อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คืออารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ฯลฯ. อสังกิลิฏฐธรรมเป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ฯลฯ [๕๒๙] สังกิลิฏฐธรรมเป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย. อสังกิลิฏฐธรรมเป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอาเสวนปัจจัย มี ๒ นัย. [๕๓๐] สังกิลิฏฐธรรมเป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมม- *ปัจจัย. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือสหชาต นานาขณิก. เป็นสหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และ กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย.พึงถามถึงมูล เจตนาที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือสหชาต นานาขณิก. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นอสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นอสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และ กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. [๕๓๑] อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยวิปากปัจจัย มี ๑ นัย. [๕๓๒] สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอาหารปัจจัย. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอินทริยปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยฌานปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยมัคคปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสัมปยุตตปัจจัย. [๕๓๓] สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐ- *ธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย. [๕๓๔] สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๑ นัย เหมือน กับปฏิจจวาร. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือสหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม และอสังกิลิฏฐธรรม โดยอัตถิปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาร. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ฯลฯ. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ฯลฯ. สังกิลิฏฐธรรม และอสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ. สังกิลิฏฐธรรม และอสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็น ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม และกวฬิงการาหารเป็นปัจจัย แก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรมและรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัย แก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนัตถิปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยวิคตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอวิคตปัจจัย. [๕๓๕] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๔ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๔ ในอธิปติปัจจัย มี " ๕ ในอนันตรปัจจัย มี " ๔ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๔ ในสหชาตปัจจัย มี " ๕ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๒ ในนิสสยปัจจัย มี " ๗ ในอุปนิสสยปัจจัย มีวาระ ๔ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๒ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๒ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๒ ในกัมมปัจจัย มี " ๔ ในวิปากปัจจัย มี " ๑ ในอาหารปัจจัย มี " ๔ ในอินทริยปัจจัย มี " ๔ ในฌานปัจจัย มี " ๔ ในมัคคปัจจัย มี " ๔ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๒ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๓ ในอัตถิปัจจัย มี " ๗ ในนัตถิปัจจัย มี " ๔ ในวิคตปัจจัย มี " ๔ ในอวิคตปัจจัย มี " ๗. [๕๓๖] สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย กัมมปัจจัย. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม และอสังกิลิฏฐธรรม โดยสหชาตปัจจัย. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย. สังกิลิฏฐธรรม และอสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย. สังกิลิฏฐธรรม และอสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย. [๕๓๗] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สหชาตปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นิสสยปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๗ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัตถิปัจจัย มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย มี " ๔. [๕๓๘] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีวาระ ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี " ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔. [๕๓๙] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่ เหตุปัจจัย มีวาระ ๔ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕.พึงกระทำอนุโลมมาติกา. ในอวิคตปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๗.สังกิลิฏฐทุกะ จบ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๘๕๙๗-๘๘๔๗ หน้าที่ ๓๓๗-๓๔๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=43&A=8597&Z=8847&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=43&A=8597&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=43&siri=66 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=43&A=6313 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=43&A=6313 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_43
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]