บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ปัพพาชนียกรรม ที่ ๓ เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ [๘๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุพวกอัสสชิและปุพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่น ในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม ภิกษุพวกนั้นประพฤติอนาจารเห็นปาน ดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น รดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้าน เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น ทำบ้าง ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเอง บ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งตระกูล เพื่อสะใภ้แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสี ภิกษุ พวกนั้นฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบน อาสนะอันเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียว กันบ้าง นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วม กันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูล สะใภ้แห่งตระกูล กุลทาสี ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้ เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่น หกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่ง ผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานเต้นรำแล้ว พูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง ให้การ คำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง ฯอุบาสกเล่าเรื่องให้พระฟัง [๘๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในแคว้นกาสี เดินทาง ไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงชนบทกิฏาคีรีแล้ว ครั้นเวลาเช้า ภิกษุนั้นครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังชนบทกิฏาคีรี มีอาการ เดินไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ คนทั้งหลายเห็นภิกษุรูปนั้น แล้วพูดอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้เป็นใคร ดูคล้ายคน ไม่ค่อยมีกำลัง เหมือนคนอ่อนแอ เหมือนคนมีหน้าสยิ้ว ใครเล่าจักถวายบิณฑะ แก่ท่านผู้เข้าไปเที่ยวบิณฑบาตรูปนี้ ส่วนพระผู้เป็นเจ้าเหล่าพระอัสสชิ และพระ ปุนัพพสุกะของพวกเรา เป็นผู้อ่อนโยน พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน ยิ้มแย้มก่อน มักพูดว่า มาเถิด มาดีแล้ว มีหน้าไม่สยิ้ว มีหน้าชื่นบาน มักพูดก่อน ใครๆ ก็ ต้องถวายบิณฑะแก่ท่านเหล่านั้น อุบาสกคนหนึ่งได้แลเห็นภิกษุรูปนั้น กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในชนบท กิฏาคีรี ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น กราบเรียนถามภิกษุรูปนั้นว่า พระคุณเจ้า ได้บิณฑะบ้างไหม ขอรับ ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะเลย จ้ะ อุบาสกกล่าวอาราธนาว่า นิมนต์ไปเรือนผมเถิด ขอรับ แล้วนำภิกษุรูปนั้น ไปเรือน นิมนต์ให้ฉันแล้วเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจักไปที่ไหน ขอรับ ภิ. อาตมาจักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค อุ. ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้า จงกราบถวายบังคมพระบาทยุคลของ พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของผมอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วัดในชนบทกิฏาคีรีโทรม ภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม พวกเธอประพฤติอนาจาร เห็นปานดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียง ก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำ ดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น นำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น นำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผง สำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งตระกูล เพื่อสะใภ้ แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสี ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำ ในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบนอาสนะอันเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้าง นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วม เครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูล สะใภ้แห่งตระกูล กุลทาสี ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรง ดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคม กับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้อง กับหญิงขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำ กับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละแปดตา บ้าง เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่น หมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่น ไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัด ขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัด ม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานเต้นรำ แล้วพูดกับ หญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกา ได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส พระผู้มีพระภาคพึงส่ง ภิกษุทั้งหลายไปสู่ชนบทกิฏาคีรีเถิด เพื่อวัดในชนบทกิฏาคีรีนี้จะพึงตั้งมั่นอยู่ ภิกษุรูปนั้นรับคำของอุบาสกนั้นแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไปโดยทาง พระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก คหบดี โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯพุทธประเพณี [๘๖] ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระ อาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณีทรงปฏิสันถาร ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ร่างกาย ของเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ เธอเดินทางมามีความลำบาก น้อยหรือ และเธอมาจากไหน ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า และข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมา มีความ ลำบากเล็กน้อย ข้าพระพุทธเจ้าจำพรรษาในแคว้นกาสีแล้ว เมื่อจะมายังพระนคร สาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ผ่านชนบทกิฏาคีรี พระพุทธเจ้าข้า ครั้น เวลาเช้า ข้าพระพุทธเจ้าครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังชนบท กิฏาคีรี อุบาสกคนหนึ่ง ได้แลเห็นข้าพระพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ใน ชนบทกิฏาคีรี ครั้นแล้วได้เข้าไปหาข้าพระพุทธเจ้า กราบไหว้ข้าพระพุทธเจ้าแล้ว ถามว่า ท่านได้บิณฑะบ้างไหม ขอรับ ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะ เลยจ้ะ เขาพูดว่า นิมนต์ไปเรือนผมเถิด ขอรับ แล้วนำข้าพระพุทธเจ้าไปเรือน ให้ฉันแล้วถามว่า พระคุณเจ้าจักไปที่ไหน ขอรับ ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า จัก ไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคจ้ะ เขาพูดว่า ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงกราบถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า และ ขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วัดในชนบทกิฏาคีรี โทรม ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็น ภิกษุอลัชชี เลวทราม พวกเธอประพฤติอนาจารเห็นปานนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอก เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง ... ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อน ชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทาน ประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าขอ ประทานพระวโรกาส พระองค์ควรส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่ชนบทกิฏาคีรี เพื่อวัด ในชนบทกิฏาคีรีนี้ จะพึงตั้งมั่นอยู่ ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามาจากชนบทกิฏาคีรีนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม [๘๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็น ภิกษุอลัชชี เลวทราม พวกเธอประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอก เองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง ... ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาว บ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำ ของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีก เลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง ดังนี้ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้าทรงติเตียน พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ประพฤติอนาจาร เห็นปานดังนี้ คือ ได้ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง ได้รดน้ำ เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง ได้เก็บดอกไม้เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ได้ ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ได้ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำ ดอกไม้ช่อเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่น ทำบ้าง ได้ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่น ทำบ้าง พวกเธอได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน ได้นำ ไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่ง ดอกไม้พุ่ม ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง ได้นำไปเอง บ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งตระกูล เพื่อสะใภ้แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสี พวก เธอได้ฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง ได้ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง ได้นั่ง บนอาสนะอันเดียวกันบ้าง ได้นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง ได้นอนร่วมเครื่องลาด อันเดียวกันบ้าง ได้นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง ได้นอนร่วมเครื่องลาดและ คลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูล สะใภ้แห่งตระกูล กุลทาสี ได้ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ได้ดื่มน้ำเมาบ้าง ได้ทัดทรงดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้บ้าง ได้ฟ้อนรำบ้าง ได้ขับร้องบ้าง ได้ประโคมบ้าง ได้เต้นรำบ้าง ได้ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ได้ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ได้ประโคมกับหญิงฟ้อน รำบ้าง ได้เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ได้ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ได้ขับร้องกับหญิง ขับร้องบ้าง ได้ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง ได้เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ได้ ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ได้ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ได้ประโคมกับหญิง ประโคมบ้าง ได้เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ได้ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ได้ขับ ร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ได้ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง ได้เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ได้เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง ได้เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง ได้เล่น หมากเก็บบ้าง ได้เล่นชิงนางบ้าง ได้เล่นหมากไหวบ้าง ได้เล่นโยนห่วงบ้าง ได้เล่นไม้หึ่งบ้าง ได้เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง ได้เล่นสะกาบ้าง ได้เล่น เป่าใบไม้บ้าง ได้เล่นไถน้อยๆ บ้าง ได้เล่นหกคะเมนบ้าง ได้เล่นไม้กังหันบ้าง ได้เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง ได้เล่นรถน้อยๆ บ้าง ได้เล่นธนูน้อยๆ บ้าง ได้เล่นเขียนทายบ้าง ได้เล่นทายใจบ้าง ได้เล่นเลียนคนพิการบ้าง ได้หัดขี่ช้าง บ้าง ได้หัดขี่ม้าบ้าง ได้หัดขี่รถบ้าง ได้หัดยิงธนูบ้าง ได้หัดเพลงอาวุธบ้าง ได้วิ่งผลัดช้างบ้าง ได้วิ่งผลัดม้าบ้าง ได้วิ่งผลัดรถบ้าง ได้วิ่งขับกันบ้าง ได้วิ่ง เปี้ยวกันบ้าง ได้ผิวปากบ้าง ได้ปรบมือบ้าง ได้ปล้ำกันบ้าง ได้ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานที่เต้นรำแล้ว ได้พูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง ได้ให้การคำนับบ้าง ได้ประพฤติ อนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขา ไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ ตัดขาดแล้ว ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครองเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา รับสั่ง กะพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะว่า ไปเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะ พวกเธอ ไปถึงชนบทกิฏาคีรีแล้วจงทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกอัสสชิ และปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรี เพราะภิกษุพวกนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของพวกเธอ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า พวกข้าพระพุทธเจ้า จะทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรี ได้ด้วยวิธีไร เพราะภิกษุพวกนั้นดุร้าย หยาบคาย พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตรและโมคคัลลานะ ถ้าเช่นนั้นพวก เธอจงไปพร้อมด้วยภิกษุหลายๆ รูป พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะกราบทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯวิธีทำปัพพาชนียกรรม [๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลปัพพาชนียกรรม พึงทำอย่างนี้ คือ พึงโจทภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะก่อน ครั้นแล้วพึงให้ พวกเธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-กรรมวาจาทำปัพพาชนียกรรม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและ พระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลว ทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้ว สงฆ์พึงทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพ- *พสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและ พระปุนัพพสุกะเหล่านี้เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลว ทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ พวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระ อัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพา- *ชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรี ว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้เป็นผู้ประทุษ ร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุ เหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุ เหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำ ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบท กิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบท กิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพ- *พสุกะจากชนบทคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึง อยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความเลวทรามของภิกษุ เหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูก ภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จาก ชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ใน ชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ ปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ปัพพาชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ ปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพ- *สุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด หมวดที่ ๑ [๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯหมวดที่ ๒ [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะ ไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดง แล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯหมวดที่ ๓ [๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจท ก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯหมวดที่ ๔ [๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯหมวดที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดีหมวดที่ ๖ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดีหมวดที่ ๗ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดีหมวดที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็น เทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดีหมวดที่ ๙ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่แสดง แล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดีหมวดที่ ๑๐ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดีหมวดที่ ๑๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้จำเลยให้การ ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดีหมวดที่ ๑๒ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัยและระงับแล้วไม่ดี ฯลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ ----------------------------------------------------- ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด หมวดที่ ๑ [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อนแล้ว ทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯหมวดที่ ๒ [๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำ เพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯหมวดที่ ๓ [๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ให้ จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯหมวดที่ ๔ [๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ ทำโดย ธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯหมวดที่ ๕ [๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯหมวดที่ ๖ [๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดย ธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯหมวดที่ ๗ [๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯหมวดที่ ๘ [๑๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติเป็น เทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯหมวดที่ ๙ [๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติยังไม่ ได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯหมวดที่ ๑๐ [๑๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯหมวดที่ ๑๑ [๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลยให้การก่อน แล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯหมวดที่ ๑๒ [๑๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๘๔๕-๑๒๔๔ หน้าที่ ๓๗-๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=845&Z=1244&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=6&A=845&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=5 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=84 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=6&A=661 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=5712 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=6&A=661 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=5712 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_6 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali#pli-tv-kd11:13.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#Kd.11.13.1
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]