บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
มหาสงคราม ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม [๑๐๘๗] อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อกล่าวในสงฆ์ พึงรู้วัตถุ พึงรู้วิบัติ พึงรู้อาบัติ พึงรู้นิทาน พึงรู้อาการ พึงรู้คำต้นและคำหลัง พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ พึงรู้กรรม พึงรู้ อธิกรณ์ พึงรู้สมถะ ไม่พึงถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ พึงชี้แจงในสถานะควรชี้แจง พึงพินิจในสถานะควรพินิจ พึงเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง พึงเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส ไม่พึงหมิ่นพรรคพวกอื่น ด้วยเข้าใจว่า เราได้พรรคพวกแล้ว ไม่พึงหมิ่นผู้มีสุตะน้อย ด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก ไม่พึงหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่า ด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า ไม่พึง พูดเรื่องที่ยังไม่ถึง ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วตกหล่นจากธรรมจากวินัย อธิกรณ์นั้นย่อมระงับด้วย ธรรม ด้วยวินัย ด้วยสัตถุศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้น ระงับด้วยอย่างนั้น.ว่าด้วยการรู้วัตถุ [๑๐๘๘] คำว่า พึงรู้วัตถุ นั้น คือ พึงรู้วัตถุแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุ แห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งนิสสัคคีย์ ๔๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท พึง รู้วัตถุแห่งทุกกฏทั้งหลาย พึงรู้วัตถุแห่งทุพภาสิตทั้งหลาย.ว่าด้วยการรู้วิบัติ [๑๐๘๙] คำว่า พึงรู้วิบัติ คือ พึงรู้ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาชีววิบัติ.ว่าด้วยการรู้อาบัติ [๑๐๙๐] คำว่า พึงรู้อาบัติ นั้น คือ พึงรู้อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส อาบัติ ถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฏ อาบัติทุพภาสิต.ว่าด้วยการรู้นิทาน [๑๐๙๑] คำว่า พึงรู้นิทาน นั้น คือ พึงรู้นิทานแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท พึงรู้ นิทานแห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่ง นิสสัคคีย์ ๔๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งทุกกฏทั้งหลาย พึงรู้นิทานแห่งทุพภาสิตทั้งหลาย.ว่าด้วยการรู้อาการ [๑๐๙๒] คำว่า พึงรู้อาการ นั้น คือ พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ พึงรู้จักคณะโดยอาการ พึงรู้จักบุคคลโดยอาการ พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ. ข้อว่า พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการอย่างนี้ว่า สงฆ์ หมู่นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ. ข้อว่า พึงรู้จักคณะโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักคณะโดยอาการอย่างนี้ว่า คณะนี้ จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์หรือไม่หนอ. ข้อว่า พึงรู้จักบุคคลโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักบุคคลโดยอาการอย่างนี้ว่า บุคคล ผู้นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ. ข้อว่า พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักโจทก์โดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ จักตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ แล้วโจทก์ผู้อื่น หรือไม่หนอ. ข้อว่า พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักจำเลยโดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ ตั้งอยู่ในธรรม ๒ ข้อ คือ ให้การตามจริงและไม่โกรธ หรือไม่หนอ.ว่าด้วยรู้คำต้นและคำหลัง [๑๐๙๓] คำว่า พึงรู้คำต้นและคำหลัง นั้น คือ พึงรู้คำต้นและคำหลังอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ย้ายวัตถุจากวัตถุ ย้ายวิบัติจากวิบัติ ย้ายอาบัติจากอาบัติ ปฏิเสธแล้วกลับปฏิญาณ ปฏิญญาณแล้วกลับปฏิเสธ หรือสับเรื่องอื่นด้วยเรื่องอื่น หรือไม่หนอ.ว่าด้วยการรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ [๑๐๙๔] คำว่า พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ นั้น คือ พึงรู้เมถุนธรรม พึงรู้ อนุโลมแก่เมถุนธรรม พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุน. ข้อว่า พึงรู้เมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้ความร่วมกันเป็นคู่ๆ. ข้อว่า พึงรู้อนุโลมแก่เมถุนธรรม นั้น คือ ภิกษุอมองค์กำเนิดของภิกษุอื่น ด้วย ปากของตน ข้อว่า พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม นั้น คือ สี สิ่งมิใช่สี การเคล้าคลึงด้วยกาย วาจาชั่วหยาบ การบำเรอตนด้วยกาม การยังวรรณะให้เกิด.ว่าด้วยรู้กรรม [๑๐๙๕] คำว่า พึงรู้กรรม นั้น ได้แก่ พึงรู้กรรม ๑๖ อย่าง คือ พึงรู้อปโลกนกรรม ๔ อย่าง พึงรู้ญัตติกรรม ๔ อย่าง พึงรู้ญัตติทุติยกรรม ๔ อย่าง พึงรู้ญัตติจตุตถกรรม ๔ อย่าง.ว่าด้วยรู้อธิกรณ์ [๑๐๙๖] คำว่า พึงรู้อธิกรณ์ นั้น ได้แก่ พึงรู้อธิกรณ์ ๔ คือ พึงรู้วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์.ว่าด้วยรู้สมถะ [๑๐๙๗] คำว่า พึงรู้สมถะ นั้น ได้แก่ พึงรู้สมถะ ๗ คือ พึงรู้สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ.เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๙๗๗๗-๙๘๓๕ หน้าที่ ๓๗๔-๓๗๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=9777&Z=9835&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=8&A=9777&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=99 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1087 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=8&A=8268 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=11464 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=8&A=8268 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=11464 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr15/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr15/en/horner-brahmali
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]