บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๗. อนุรุทธสูตร (๑๒๗) [๔๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ เรียกบุรุษผู้หนึ่งมาสั่งว่า มาเถิด พ่อมหาจำเริญ พ่อจงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธ ยังที่อยู่ แล้วกราบเท้าท่านพระอนุรุทธ ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ช่างไม้ปัญจกังคะขอกราบเท้าท่านพระอนุรุทธด้วยเศียรเกล้า และจง กราบเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอนุรุทธได้โปรดนับตนเอง เป็นรูปที่ ๔ รับนิมนต์ฉันอาหารของช่างไม้ปัญจกังคะในวันพรุ่งนี้ และขอท่าน พระอนุรุทธได้โปรดมาแต่เช้าๆ เพราะช่างไม้ปัญจกังคะมีกิจหน้าที่ด้วยราชการมาก บุรุษรับคำแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธยังที่อยู่ ครั้นอภิวาทท่านพระอนุรุทธ แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกราบเรียนท่าน พระอนุรุทธดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ช่างไม้ปัญจกังคะขอกราบเท้าท่านพระอนุรุทธ ด้วยเศียรเกล้า และบอกมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอนุรุทธได้ โปรดนับตนเองเป็นรูปที่ ๔ รับนิมนต์ฉันอาหารของช่างไม้ปัญจกังคะในวันพรุ่งนี้ และขอท่านพระอนุรุทธได้โปรดไปแต่เช้าๆ เพราะช่างไม้ปัญจกังคะมีกิจหน้าที่ ด้วยราชการมาก ท่านพระอนุรุทธรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ ฯ [๔๒๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธ พอล่วงราตรีนั้น จึงนุ่งสบง ทรงบาตรจีวรเข้าไปยังที่อยู่อาศัยของช่างไม้ปัญจกังคะ ในเวลาเช้า ครั้นแล้วนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ ต่อนั้น ช่างไม้ปัญจกังคะให้ท่านพระอนุรุทธอิ่มหนำ สำราญ ด้วยของเคี้ยวของฉัน อันประณีตด้วยมือของตน พอเห็นท่านพระอนุรุทธ ฉันเสร็จวางบาตรในมือแล้ว จึงฉวยอาสนะต่ำที่หนึ่งมานั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้เรียนถามท่านพระอนุรุทธดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายมาหากระผมที่นี่แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านจง เจริญเจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้เถิด พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกร- *คฤหบดี ท่านจงเจริญเจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะเถิด ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรม ๒ ข้อนี้คือเจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้และเจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ ต่างกันทั้ง อรรถและพยัญชนะหรือ หรือว่ามีอรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ เท่านั้น ฯ ท่านพระอนุรุทธกล่าวว่า ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ปัญหาในธรรม ๒ ข้อนี้จงแจ่มแจ้งกะท่านก่อน แต่นี้ไป ท่านจักได้มีความเข้าใจไม่ผิด ฯ ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า ธรรม ๒ ข้อนี้ คือ เจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้และเจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ มีเนื้อความเป็น อันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ [๔๒๒] อ. ดูกรคฤหบดี ธรรม ๒ ข้อนี้ คือ เจโตวิมุติที่หาประมาณ มิได้ และเจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ ต่างกันทั้งอรรถและพยัญชนะ ท่านพึงทราบ ประการที่ต่างกันนั้นโดยปริยายดังต่อไปนี้ ดูกรคฤหบดี ก็เจโตวิมุติที่หาประมาณ มิได้ เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีใจสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไป ตลอดทิศหนึ่งอยู่ แผ่ไปตลอดทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่อยู่ เช่นนั้นเหมือน กัน และแผ่ไปตลอดทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องขวางอยู่ ด้วยอาการ เดียวกัน ชื่อว่ามีใจสหรคตด้วยเมตตาอย่างไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ มีอารมณ์หา ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลกอันมีสัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน โดยเป็นอัตภาพทั้งมวลอยู่ มีใจสหรคตด้วยกรุณา ... มีใจสหรคต ด้วยมุทิตา ... มีใจสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ แผ่ไปตลอด ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่อยู่ เช่นนั้นเหมือนกัน และแผ่ไปตลอดทิศ เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องขวางอยู่ ด้วยอาการเดียวกัน ชื่อว่ามีใจสหรคต ด้วยอุเบกขาอย่างไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ มีอารมณ์หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่ มีเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลกอันมีสัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน โดยเป็นอัตภาพ ทั้งมวลอยู่ ดูกรคฤหบดี นี้เรียกว่า เจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้ ฯ [๔๒๓] ดูกรคฤหบดี ก็เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน ดูกร- *คฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้แห่งหนึ่งว่า เป็นแดน มหัคคตะอยู่ นี้เรียกว่า เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ และเท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่ โคนไม้สองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้ก็เรียกว่า เจโตวิมุติ ที่เป็นมหัคคตะ ฯ ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านแห่งหนึ่ง ว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้เรียกว่า เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ และเท่าที่ น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านสองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้ ก็เรียกว่า เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ ฯ ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักร หนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้ก็เรียกว่า เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ และเท่าที่ น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรสองหรือสามมหาอาณาจักรว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้ก็เรียกว่า เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ ฯ ดูกรคฤหบดี อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เท่าที่น้อมใจแผ่ไปตลอดปฐพี มีสมุทรเป็นขอบเขตว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้ก็เรียกว่า เจโตวิมุติที่เป็น มหัคคตะ ฯ ดูกรคฤหบดี โดยปริยายนี้แล ท่านพึงทราบประการที่ธรรม ๒ ข้อนี้ ต่างกันทั้งอรรถและพยัญชนะ ฯ [๔๒๔] ดูกรคฤหบดี การเข้าถึงภพนี้มี ๔ อย่างแล ๔ อย่างเป็นไฉน ดูกรคฤหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่าง เล็กน้อยอยู่ เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมี เล็กน้อย แต่บางรูปน้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่างหาประมาณมิได้อยู่ เธอตาย ไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้ บางรูป น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่างเศร้าหมองอยู่ เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีเศร้าหมอง แต่บางรูปน้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์ มีแสงสว่างบริสุทธิ์อยู่ เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา พวกมีรัศมีบริสุทธิ์ ดูกรคฤหบดี นี้แล การเข้าถึงภพ ๔ อย่าง ฯ [๔๒๕] ดูกรคฤหบดี มีสมัยที่พวกเทวดาประชุมร่วมกัน เทวดา เหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่ไม่ปรากฏมีรัศมีต่างกัน ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษตามประทีปน้ำมันมากดวง เข้าไปสู่เรือนหลังหนึ่ง ประทีป น้ำมันเหล่านั้นปรากฏมีเปลวต่างกัน แต่ไม่ปรากฏมีแสงสว่างต่างกัน ฉันใด ดูกรคฤหบดี ฉันนั้นเหมือนกันแล มีสมัยที่พวกเทวดาประชุมร่วมกัน เทวดา เหล่านั้น ย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่ไม่ปรากฏมีรัศมีต่างกัน ฯ [๔๒๖] ดูกรคฤหบดี มีสมัยที่พวกเทวดาแยกกันจากที่ประชุม เทวดา เหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกันและมีรัศมีต่างกัน ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือน บุรุษนำประทีปน้ำมันมากดวงออกจากเรือนหลังนั้น ประทีปน้ำมันเหล่านั้นปรากฏมี เปลวต่างกันและมีแสงสว่างต่างกัน ฉันใด ดูกรคฤหบดี ฉันนั้นเหมือนกันแล มีสมัยที่พวกเทวดาแยกกันจากที่ประชุม เทวดาเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน และมีรัศมีต่างกัน ฯ [๔๒๗] ดูกรคฤหบดี เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่มีความดำริอย่างนี้เลยว่า สิ่งนี้ของพวกเราเที่ยง หรือยั่งยืน หรือแน่นอน แต่ว่า เทวดาเหล่านั้นย่อม อภิรมย์เฉพาะแดนที่ตนอยู่อาศัยนั้นๆ ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนแมลงที่เขา นำไปด้วยหาบหรือตะกร้า ย่อมไม่มีความดำริอย่างนี้ว่า หาบหรือตะกร้านี้ของ พวกเราเที่ยง หรือยั่งยืน หรือแน่นอน แต่ว่าแมลงเหล่านั้นย่อมอภิรมย์เฉพาะ แหล่งที่ตนอยู่อาศัยนั้นๆ ฉันใด ดูกรคฤหบดี ฉันนั้นเหมือนกันแล เทวดา เหล่านั้นย่อมไม่มีความดำริอย่างนี้เลยว่า สิ่งนี้ของพวกเราเที่ยง หรือยั่งยืน หรือ แน่นอน แต่ว่าเทวดาเหล่านั้นย่อมอภิรมย์เฉพาะแดนที่ตนอยู่อาศัยนั้นๆ ฯ [๔๒๘] เมื่อท่านพระอนุรุทธกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอภิยะ กัจจานะ ได้กล่าวกะท่านพระอนุรุทธดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธผู้เจริญ ที่ท่านพยากรณ์ นั้นดีละ แต่ในเรื่องนี้มีข้อที่กระผมจะพึงสอบถามให้ยิ่งขึ้นไป คือ พวกเทวดา ที่มีรัศมีนั้นทั้งหมด เป็นผู้มีรัศมีเล็กน้อยหรือ หรือว่ามีบางพวกในพวกนั้นมีรัศมี หาประมาณมิได้ ฯ อ. ดูกรท่านกัจจานะ โดยหลักแห่งการอุปบัตินั้นแล เทวดาในพวกนี้ บางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่บางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้ ฯ อภิยะ. ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็น ปัจจัยให้บรรดาเทวดาที่เข้าถึงหมู่เทวดาหมู่เดียวกันแล้วเหล่านั้น บางพวกมีรัศมี เล็กน้อย แต่บางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้ ฯ [๔๒๙] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เราจะย้อนถามท่านใน เรื่องนี้ ท่านพอใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้น ดูกรท่านกัจจานะ ท่านจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้แห่งหนึ่งว่า เป็น แดนมหัคคตะ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้สองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนา อย่างไหนเป็นมหัคคตะยิ่งกว่ากัน ฯ อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้สองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดน มหัคคตะ อยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง ฯ [๔๓๐] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้สองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านแห่งหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ บรรดา จิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตะยิ่งกว่ากัน ฯ อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านแห่งหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง ฯ [๔๓๑] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุ รูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านแห่งหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ กับภิกษุรูปที่ น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านสองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ บรรดา จิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตะ ยิ่งกว่ากัน ฯ อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านสองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็น แดนมหัคคตะ อยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง ฯ [๔๓๒] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุ รูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านสองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ บรรดา จิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตะ ยิ่งกว่ากัน ฯ อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง ฯ [๔๓๓] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ กับภิกษุ รูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรสองหรือสามมหาอาณาจักรว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตะ ยิ่งกว่ากัน ฯ อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรสองหรือสามมหาอาณาจักรว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง ฯ [๔๓๔] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรสองหรือสามมหาอาณาจักรว่า เป็นแดน มหัคคตะ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปตลอดปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขตว่า เป็น แดนมหัคคตะ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนา อย่างไหน เป็นมหัคคตะยิ่งกว่ากัน ฯ อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปตลอดปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขตว่า เป็นแดน มหัคคตะ อยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง ฯ อ. ดูกรท่านกัจจานะ นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บรรดาเทวดาที่เข้า ถึงหมู่เทวดาหมู่เดียวกันแล้วเหล่านั้น บางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่บางพวกมี รัศมีหาประมาณมิได้ ฯ [๔๓๕] อภิยะ. ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธผู้เจริญ ที่ท่านพยากรณ์นั้นดีละ แต่ในเรื่องนี้ มีข้อที่กระผมจะพึงสอบถามให้ยิ่งขึ้นไป คือ พวกเทวดาที่มีรัศมีนั้น ทั้งหมด เป็นผู้มีรัศมีเศร้าหมองหรือ หรือว่ามีบางพวกในพวกนั้นมีรัศมีบริสุทธิ์ ฯ อ. ดูกรท่านกัจจานะ โดยหลักแห่งการอุปบัตินั้นแล เทวดาในพวกนี้ บางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง แต่บางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์ ฯ อภิยะ. ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็น ปัจจัยให้บรรดาเทวดา ที่เข้าถึงหมู่เทวดาหมู่เดียวกันแล้วเหล่านั้น บางพวกมีรัศมี เศร้าหมอง แต่บางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์ ฯ [๔๓๖] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เราจักเปรียบอุปมาแก่ท่าน เพราะวิญญูบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมทราบอรรถแห่งภาษิตได้ด้วยอุปมาก็มี ดูกรท่านกัจจานะ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันติดไฟอยู่ มีทั้งน้ำมันทั้งไส้ไม่ บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้นย่อมติดไฟอย่างริบหรี่ๆ เพราะทั้งน้ำมันทั้งไส้ไม่ บริสุทธิ์ ฉันใด ดูกรท่านกัจจานะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุบางรูปใน ธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่างเศร้าหมองอยู่ เธอไม่ระงับความชั่ว หยาบทางกายให้ดี ไม่ถอนถีนมิทธะให้ดี ทั้งไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี เธอย่อมรุ่งเรืองอย่างริบหรี่ๆ เพราะมิได้ระงับความชั่วหยาบทางกายให้ดี มิได้ ถอนถีนมิทธะให้ดี ทั้งไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้า ถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีเศร้าหมอง ดูกรท่านกัจจานะ เปรียบ เหมือนประทีปน้ำมันติดไฟอยู่ มีทั้งน้ำมัน ทั้งไส้บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้นย่อม ติดไฟอย่างไม่ริบหรี่ เพราะทั้งน้ำมันทั้งไส้บริสุทธิ์ ฉันใด ดูกรท่านกัจจานะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มี แสงสว่างบริสุทธิ์อยู่ เธอระงับความชั่วหยาบทางกายได้ดี ถอนถีนมิทธะได้ดี ทั้งกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะได้ดี เธอย่อมรุ่งเรืองอย่างไม่ริบหรี่ เพราะระงับความ ชั่วหยาบทางกายได้ดี ถอนถีนมิทธะได้ดี ทั้งกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะได้ดี เธอตาย ไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีบริสุทธิ์ ดูกรท่านกัจจานะ นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บรรดา เทวดาที่เข้าถึงหมู่เทวดาหมู่เดียวกันแล้ว เหล่านั้น บางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง บางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์ ฯ [๔๓๗] เมื่อท่านพระอนุรุทธกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอภิยะกัจจานะ ได้กล่าวกะท่านพระอนุรุทธดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธผู้เจริญ ที่ท่านพยากรณ์ นั้นดีแล้ว เพราะท่านมิได้กล่าวอย่างนี้ว่า เราได้สดับมาอย่างนี้ หรือว่าควรจะ เป็นอย่างนี้ แต่ท่านกล่าวว่า เทวดาเหล่านั้นเป็นแม้อย่างนี้ เป็นแม้ด้วยประการนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระอนุรุทธคงจะเคยอยู่ร่วม เคยเจรจาร่วม และเคยร่วมสนทนากับเทวดาเหล่านั้นเป็นแน่ ฯ อ. ดูกรท่านกัจจานะ ท่านกล่าววาจาที่ควรนำเข้าไปยินดีนี้เหมาะแล แต่ผมจักพยากรณ์แก่ท่านบ้าง ดูกรท่านกัจจานะ ผมเคยอยู่ร่วม เคยเจรจาร่วม และเคยร่วมสนทนากับเทวดาเหล่านั้นมานานแล ฯ [๔๓๘] เมื่อท่านพระอนุรุทธกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอภิยะ กัจจานะ ได้กล่าวกะช่างไม้ปัญจกังคะดังนี้ว่า ดูกรคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดี แล้วที่ละเหตุแห่งความสงสัยข้อนั้นได้ เราทั้งสองคนก็ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ฯจบ อนุรุทธสูตรที่ ๗ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๕๘๑๙-๖๐๑๖ หน้าที่ ๒๔๗-๒๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5819&Z=6016&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=27 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=420 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [420-438] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=14&item=420&items=19 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=3691 The Pali Tipitaka in Roman :- [420-438] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=14&item=420&items=19 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=3691 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i420-e.php# https://suttacentral.net/mn127/en/sujato
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]