ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สาธุสูตรที่ ๓
[๙๔] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกา มากด้วยกัน มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี- *พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๙๕] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้เปล่ง อุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล เพราะความตระหนี่และความประมาทอย่างนี้ บุคคลจึงให้ทาน ไม่ได้ อันบุคคลผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้ ฯ [๙๖] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มี- *พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล อนึ่ง แม้เมื่อของมีอยู่น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ บุคคลพวกหนึ่ง เมื่อของมีน้อย ย่อมแบ่งให้ได้ บุคคลพวก หนึ่ง มีของมากก็ให้ไม่ได้ ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย ก็นับ เสมอด้วยพัน ฯ [๙๗] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มี- *พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของมีอยู่น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ อนึ่ง ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ นักปราชญ์ ทั้งหลายกล่าวว่าทานและการรบเสมอกัน พวกวีรบุรุษแม้มี น้อย ย่อมชนะคนขลาดที่มากได้ ถ้าบุคคลเชื่ออยู่ย่อมให้ สิ่งของแม้น้อยได้ เพราะฉะนั้นแล ทายกนั้นย่อมเป็นผู้มี ความสุขในโลกหน้า ฯ [๙๘] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของมีอยู่น้อย การให้ทานได้เป็นการดี อนึ่ง ทานที่ ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ อนึ่ง ทานที่ให้ แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว ยิ่งเป็นการดี บุคคลใดเกิดมาย่อม ให้ทานแก่ผู้มีธรรมอันได้แล้ว ผู้มีธรรมอันบรรลุแล้วด้วยความ หมั่นและความเพียร บุคคลนั้นล่วงพ้นนรกแห่งยมราช ย่อม เข้าถึงสถานอันเป็นทิพย์ ฯ [๙๙] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มี- *พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของมีอยู่น้อย การให้ทานได้เป็นการดี ทานที่ให้แม้ ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มี ธรรมอันได้แล้ว ยิ่งเป็นการดี อนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่ง เป็นการดี ทานที่เลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว บุคคลทั้งหลายผู้ควรแก่ทักษิณา ย่อมมีอยู่ในโลกคือหมู่สัตว์ นี้ ทานทั้งหลาย อันบุคคลให้แล้วในบุคคลทั้งหลายนั้น ย่อม มีผลมาก เหมือนพืชทั้งหลายที่บุคคลหว่านแล้วในนาดี ฯ [๑๐๐] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนัก พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของมีอยู่น้อย การให้ทานได้เป็นการดี ทานที่ให้แม้ ด้วยศรัทธาก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้ ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มี ธรรมอันได้แล้วยิ่งเป็นการดี อนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่ง เป็นการดี อนึ่ง ความสำรวมแม้ในสัตว์ทั้งหลายยิ่งเป็นการดี บุคคลใดประพฤติเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายอยู่ ไม่ทำ บาป เพราะกลัวความติเตียนแห่งผู้อื่น บัณฑิตทั้งหลายย่อม สรรเสริญบุคคลซึ่งเป็นผู้กลัวบาป แต่ไม่สรรเสริญบุคคลผู้ กล้าในการทำบาปนั้น สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำบาป เพราะ ความกลัวบาปแท้จริง ฯ ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต ฯ [๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิต โดยปริยาย แต่ว่าพวกท่านจงฟังซึ่งคำของเราบ้าง ก็ทานอันบัณฑิตสรรเสริญแล้วโดยส่วนมากโดยแท้ ก็แต่ ธรรมบท (นิพพาน) แหละประเสริฐว่าทาน เพราะว่า สัตบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญา ในกาลก่อนก็ดี ในกาลก่อนกว่า ก็ดี บรรลุซึ่งนิพพานแล้วแท้จริง ฯ
นสันติสูตรที่ ๔
[๑๐๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามากด้วย กัน มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ฯ [๑๐๓] เทวดาตนหนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าว คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า กามทั้งหลายในหมู่มนุษย์ที่เป็นของเที่ยงย่อมไม่มี บุรุษผู้ เกี่ยวข้องแล้ว ผู้ประมาทแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ ใคร่ทั้งหลายอันมีอยู่ในหมู่มนุษย์นี้ ไม่มาถึงนิพพานเป็นที่ไม่ กลับมาแต่วัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ เบญจขันธ์เกิดแต่ฉันทะ ทุกข์ก็เกิดแต่ฉันทะ เพราะกำจัดฉันทะเสีย จึงกำจัดเบญจ- *ขันธ์ได้ เพราะกำจัดเบญจขันธ์ได้ จึงกำจัดทุกข์ได้ อารมณ์ อันงามทั้งหลายในโลกไม่เป็นกาม ความกำหนัดที่พร้อมไป ด้วยความดำริเป็นกามของบุรุษ อารมณ์อันงามทั้งหลายย่อม ตั้งอยู่ในโลกอย่างนั้นนั่นแหละ บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อม กำจัดฉันทะในอารมณ์ทั้งหลายนั้นโดยแท้ บุคคลพึงละความ โกรธเสีย พึงทิ้งมานะเสีย พึงล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย ทุกข์ทั้งหลาย ย่อมไม่ตกถึงบุคคลนั้น ผู้ไม่เกี่ยวข้องในนาม รูป ผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล ขีณาสวภิกษุละบัญญัติเสีย แล้ว ไม่ติดมานะแล้ว ได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้เสียแล้ว พวกเทวดา พวกมนุษย์ ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ใน สวรรค์ทั้งหลายก็ดี ในสถานเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ทั้งปวงก็ดี เที่ยวค้นหา ก็ไม่พบขีณาสวภิกษุนั้น ผู้มีเครื่องผูกอันตัดเสีย แล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีตัณหา ฯ [๑๐๔] (ท่านพระโมฆราชกล่าว) ก็หากว่า พวกเทวดา พวกมนุษย์ ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่น ก็ดี ไม่ได้เห็นพระขีณาสพนั้น ผู้อุดมกว่านรชน ผู้ประพฤติ ประโยชน์เพื่อพวกนรชน ผู้พ้นแล้วอย่างนั้น เทวดาและ มนุษย์เหล่าใด ย่อมไหว้พระขีณาสพนั้น เทวดาและมนุษย์ เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้อันบัณฑิตพึงสรรเสริญ ฯ [๑๐๕] (พระผู้มีพระภาคตรัส) ดูกรภิกษุ แม้พวกเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้อัน บัณฑิตพึงสรรเสริญ พวกเทวดาและมนุษย์เหล่าใด ย่อมไหว้ ขีณาสวภิกษุนั้น ผู้พ้นแล้วอย่างนั้น ดูกรภิกษุ แม้พวก เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นรู้ธรรมแล้ว ละวิจิกิจฉาแล้ว ก็ย่อม เป็นผู้ล่วงแล้วซึ่งธรรมเป็นเครื่องข้อง ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๕๘๓-๖๘๖ หน้าที่ ๒๗-๓๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=583&Z=686&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=33              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=94              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [94-105] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=94&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=1568              The Pali Tipitaka in Roman :- [94-105] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=94&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=1568              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i078-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn1.33/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.33/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :