ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๑๐. สคัยหกสูตร
[๕๕๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็น อันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ [๕๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ อันสักการะ ครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ อันความเสื่อมสักการะครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ อันสักการะและความเสื่อมสักการะทั้งสองอย่าง ครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ [๕๕๙] พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสคำไวยากรณภาษิต นี้แล้ว ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า สมาธิของผู้ใด ที่เขาสักการะ อยู่ด้วยผล สมาธิหาประมาณ มิได้ ไม่หวั่นไหวด้วยสักการะ และความเสื่อมสักการะ ผู้ นั้นเพ่งอยู่ ทำความเพียรเป็นไปติดต่อ เห็นแจ้งด้วยทิฐิ อย่างละเอียด ยินดีในพระนิพพานเป็นที่สิ้นอุปาทาน บัณฑิต ทั้งหลายเรียกว่า สัปปุรุษ ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบปฐมวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สุทธกสูตร ๒. พฬิสสูตร ๓. กุมมสูตร ๔. ทีฆโลมสูตร ๕. เอฬกสูตร ๖. อสนิสูตร ๗. ทิฏฐิ สูตร ๘. สิคาลสูตร ๙. เวรัมภสูตร ๑๐. สคัยหกสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๖๐๓๕-๖๐๖๒ หน้าที่ ๒๕๔-๒๕๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=6035&Z=6062&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=161              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=557              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [557-559] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=16&item=557&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=5157              The Pali Tipitaka in Roman :- [557-559] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=16&item=557&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=5157              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i536-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn17.10/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :