ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๑๐. ภิกขุสูตร
[๕๘๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็น อันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราย่อมกล่าวถึงลาภสักการะและชื่อเสียงว่า เป็นอันตรายแม้แก่ภิกษุผู้ เป็นอรหันตขีณาสพ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์จึงทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า เพราะเหตุไรเล่าพระเจ้าข้า ลาภสักการะและชื่อเสียงจึงเป็น อันตรายแก่ภิกษุขีณาสพ ฯ [๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เรากล่าวถึงลาภสักการะ และชื่อเสียงว่าเป็นอันตรายแก่เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของภิกษุขีณาสพนั้นหามิได้ แต่เรากล่าวถึงลาภสักการะและชื่อเสียง ว่าเป็นอันตรายแก่ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน อันภิกษุขีณาสพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่นั้น บรรลุแล้ว กะเธอทั้งหลาย ดูกรอานนท์ ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มี ธรรมอื่นยิ่งไปกว่านี้ เพราะเหตุนั้นแล อานนท์ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะ และชื่อเสียงที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอ ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบตติยวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มาตุคามสูตร ๒. ชนปทกัลยาณีสูตร ๓. ปุตตสูตร ๔. เอกธีตุสูตร ๕. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ๖. สมณพราหมณสูตรที่ ๒ ๗. สมณพราหมณ สูตรที่ ๓ ๘. ฉวิสูตร ๙. รัชชุสูตร ๑๐. ภิกขุ สูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๖๒๔๘-๖๒๗๖ หน้าที่ ๒๖๕-๒๖๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=6248&Z=6276&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=174              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=580              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [580-581] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=16&item=580&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=5204              The Pali Tipitaka in Roman :- [580-581] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=16&item=580&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=5204              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i565-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn17.30/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :