ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
พาลิสิกสูตร
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลงในห้วงน้ำลึก ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวใดตัวหนึ่งกลืนกินเบ็ดนั้น ปลานั้นชื่อว่ากลืนกินเบ็ดของ นายพรานเบ็ด ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงกระทำได้ตามชอบใจ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีเบ็ดอยู่ ๖ ชนิดเหล่านี้ เพื่อจะนำสัตว์ ทั้งหลายไป เพื่อจะฆ่าสัตว์ทั้งหลายเสีย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เบ็ด ๖ ชนิด คือ อะไรบ้าง คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่นในรูปนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความ พินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความ พินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ ฯ [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิด- *เพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของ มาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่ พึงกระทำได้ตามชอบใจ เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวน ให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๙๔.

นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ ฯ
จบสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๔๔๓๖-๔๔๕๙ หน้าที่ ๑๙๓-๑๙๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=4436&Z=4459&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=176              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=289              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [289-290] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=289&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- [289-290] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=289&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i285-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.189.than.html https://suttacentral.net/sn35.230/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.230/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :