ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
วีณาสูตร
[๓๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง หรือแม้ความคับแค้นใจในรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุหรือแก่ภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากรูปอัน บุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ด้วยมนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะ หน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทางผิด เป็นทางที่บัณฑิตเกลียดและเป็นทางที่ไป ลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษเสพ ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษเสพ ท่านไม่ควรเสพหน ทางนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง หรือ แม้ความคับแค้นใจในธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากธรรมารมณ์นั้น ด้วย มนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทาง ผิด เป็นทางอันบัณฑิตเกลียด และเป็นทางที่ไปลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษเสพ ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษเสพ ท่านย่อมไม่ควรเสพหนทางนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีพึง ห้ามจิตเสียจากธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจนั้น ฯ [๓๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้าถึงสมบูรณ์ แต่เจ้าของผู้รักษาข้าว กล้าเป็นผู้ประมาท และโคกินข้าวกล้าลงสู่ข้าวกล้าโน้น พึงถึงความเมา ความ ประมาทตามต้องการ แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่สดับแล้ว ไม่ทำความสำรวมใน ผัสสายตนะ ๖ ย่อมถึงความเมา ความประมาทในกามคุณ ๕ ตามความต้องการ ฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้าสมบูรณ์แล้ว เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้าเป็นผู้ไม่ ประมาท และโคกินข้าวกล้าพึงลงสู่ข้าวกล้าโน้น เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้า พึงจับ โคนั้นสนสะพาย แล้วผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขาทั้งสอง ครั้นแล้วพึงตีกระหน่ำด้วย ท่อนไม้แล้วพึงปล่อยไป โคตัวกินข้าวกล้าพึงลงสู่ข้าวกล้าโน้น แม้ครั้งที่ ๒... แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้าพึงจับโคสนสะพายแล้วผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขา ทั้ง ๒ ครั้นแล้วพึงตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้ แล้วพึงปล่อยไป โคกินข้าวกล้านั้นอยู่ ในบ้านก็ดี อยู่ในป่าก็ดี พึงเป็นสัตว์ยืนมากหรือนอนมาก ไม่พึงลงสู่ข้าวกล้านั้น อีก พลางระลึกถึงการถูกตีด้วยไม้ครั้งก่อนนั้นนั่นแหละ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย คราวใด จิตอันภิกษุข่มแล้ว ข่มไว้ดีแล้ว ในผัสสายตนะ ๖ คราวนั้น จิตย่อม ดำรงอยู่ สงบนิ่งในภายใน มีธรรมเอกผุดขึ้น ย่อมตั้งมั่น ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ [๓๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา ยัง ไม่เคยได้ฟังเสียงพิณ พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา ฟังเสียงพิณแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเสียงอะไรหนอ น่าชอบใจ น่าใคร่ น่า บันเทิง น่าหมกมุ่น น่าพัวพันอย่างนี้ บุรุษนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ เสียงนั้น เป็นเสียงพิณ พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาพึงกล่าวว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงนำพิณนั้นมาให้แก่เรา ราชบุรุษทั้งหลายพึงนำพิณมาถวาย พึง กราบทูลว่า นี่คือพิณนั้น พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชานั้นพึงกล่าวว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ฉันไม่ต้องการพิณนั้น ท่านทั้งหลายจงนำเสียงพิณนั้นมาให้แก่ เราเถิด ราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบหลายอย่าง มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง คือ ธรรมดาว่าพิณนี้ อาศัยกระพอง อาศัยแท่น อาศัยลูกบิด อาศัยนม อาศัยสาย อาศัยคัน และอาศัยความพยายามของบุรุษซึ่งสมควรแก่พิณนั้น มีเครื่องประกอบ หลายอย่าง มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบ หลายอย่างจึงจะเปล่งเสียงได้ พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาทรงผ่าพิณ นั้น ๑๐ เสี่ยงหรือ ๑๐๐ เสี่ยง แล้วกระทำให้เป็นส่วนน้อยๆ แล้วพึงเผาด้วยไฟ แล้วพึงกระทำให้เป็นเขม่า โปรยไปด้วยลมแรง หรือพึงลอยไปเสียในแม่น้ำมี กระแสอันเชี่ยว ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญได้ยินว่า ชื่อว่าพิณนี้เลวทราม สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะเลวทรามกว่าพิณนี้ไม่มี เพราะพิณนี้ คนต้องมัวเมา ประมาท หลงใหลจนเกินขอบเขต ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อม แสวงหารูปเท่าที่มีคติ เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณเท่าที่มีคติ อยู่ เมื่อเธอแสวงหารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเท่าที่มีคติอยู่ ความยึด ถือโดยคติของภิกษุนั้นว่าเรา หรือว่าของเรา หรือว่าเป็นเรา แม้นั้นก็ไม่มีแก่เธอ ฯ
จบสูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๕๒๗๕-๕๓๒๖ หน้าที่ ๒๒๗-๒๒๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=5275&Z=5326&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=192              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=343              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [343-345] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=343&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=2714              The Pali Tipitaka in Roman :- [343-345] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=343&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=2714              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i309-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.205.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.205x.wlsh.html https://suttacentral.net/sn35.246/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.246/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :