ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย สมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไป นั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี แต่ละอย่างๆ เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ หลีกออกด้วยกาย ๑ หลีกออกด้วยจิต ๑ เธอหลีกออกอยู่ อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น. [๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญ สติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อม เลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา. [๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภ แล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญ บริบูรณ์ เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อ หย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว. [๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณา ธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง ความเจริญบริบูรณ์ ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร. [๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความ เพียร สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ. [๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ จิตของภิกษุผู้มี กายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น. [๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อม ตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น ด้วยดี. [๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้น ด้วยดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขา สัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มาก แล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน? [๓๘๒] คือ (๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน (๒) ในปัจจุบันไม่ได้ บรรลุ ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย (๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ บรรลุ ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปริ- *นิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๖) ถ้าในปัจจุบัน ก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็น พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้น จะได้เป็น พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้ บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระ- *อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคา มีผู้สสังขารปรินิพพายี ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.
จบ สูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๒๒๒๙-๒๒๘๕ หน้าที่ ๙๕-๙๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=2229&Z=2285&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=76              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=373              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [373-382] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=373&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4518              The Pali Tipitaka in Roman :- [373-382] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=373&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4518              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn46.3/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.3/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :