ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
สังวาสสูตรที่ ๑
[๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินหนทางไกลในระหว่าง เมืองมธุราและเมืองเวรัญชาต่อกัน คหบดีและคหปตานีมากด้วยกัน ก็เป็นผู้ ดำเนินหนทางไกล ในระหว่างเมืองมธุราและเมืองเวรัญชาต่อกัน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จแวะออกจากทาง ประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง คหบดีและ คหปตานีเหล่านั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงได้พากัน ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะคหบดีและคหปตานีเหล่านั้น ว่า ดูกรคหบดีและคหปตานีทั้งหลาย การอยู่ร่วม ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี ๑ ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา ๑ ชายเทวดาอยู่ร่วม กับหญิงผี ๑ ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา ๑ ดูกรคหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ก็ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผีอย่างไร สามีในโลกนี้เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติ ผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม มีใจอันมลทินคือความตระหนี่ครอบงำ ด่าและบริภาษ สมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน แม้ภรรยาของเขาก็เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๖๘.

ประมาท เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม มีใจอันมลทินคือความตระหนี่ครอบงำ ด่า และบริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน ดูกรคหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผีอย่างนี้แล ฯ ดูกรคหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ก็ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดาอย่างไร สามีในโลกนี้เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ฯลฯ ด่าและบริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขาเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติ ผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่ ไม่ด่าไม่ บริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน ดูกรคหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ชายผี อยู่ร่วมกับหญิงเทวดาอย่างนี้แล ฯ ดูกรคหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผีอย่างไร สามีในโลกนี้เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ อยู่ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขา เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ฯลฯ ด่าและบริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน ดูกรคหบดี และคหปตานีทั้งหลาย ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผีอย่างนี้แล ฯ ดูกรคหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา อย่างไร สามีในโลกนี้เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ไม่ด่าไม่บริภาษสมณ- *พราหมณ์ อยู่ครองเรือน แม้ภรรยาของเขาก็เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ไม่ด่าไม่บริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน ดูกรคหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดาอย่างนี้แล ดูกรคหบดีและคหปตานีทั้งหลาย การ อยู่ร่วม ๔ ประการนี้แล ฯ ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้ทุศีล เป็นคนตระหนี่ มักด่าว่า สมณพราหมณ์ ชื่อว่าเป็นผีมาอยู่ร่วมกัน สามีเป็นผู้ทุศีล มีความตระหนี่ มักด่าว่าสมณพราหมณ์ ส่วนภรรยาเป็นผู้มี ศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ ภรรยา นั้นชื่อว่าเทวดาอยู่ร่วมกับสามีผี สามีเป็นผู้มีศีล รู้ความ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๖๙.

ประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ ส่วนภรรยาเป็นผู้ ทุศีล มีความตระหนี่ มักด่าว่าสมณพราหมณ์ ชื่อว่าหญิงผี อยู่ร่วมกับสามีเทวดา ทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม ภรรยาและ สามีทั้งสองนั้น เจรจาถ้อยคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมี ความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุก ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอ กัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน ครั้นประพฤติธรรม ในโลกนี้แล้ว เป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวย กามารมณ์เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก ฯ
จบสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑๕๕๑-๑๖๐๑ หน้าที่ ๖๗-๖๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=1551&Z=1601&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=53              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=53              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [53] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=53&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8088              The Pali Tipitaka in Roman :- [53] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=21&item=53&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8088              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i051-e.php#sutta3 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i051-e2.php#sutta3 https://suttacentral.net/an4.53/en/sujato https://suttacentral.net/an4.53/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :