บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
สมาธิสูตรที่ ๒ [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจใน ภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑ บุคคลบางคน ในโลกนี้ มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบ ใจในภายในจำพวก ๑ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑ บุคคลบางคนในโลกนี้มี ปรกติได้ความสงบใจในภายในทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม พึงตั้งอยู่ในความสงบใจในภายใน กระทำความเพียรในอธิปัญญา และความเห็นแจ้งในธรรม สมัยต่อมา เขาย่อม เป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งใน ธรรม บุคคลผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบ ใจในภายใน พึงตั้งอยู่ในอธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แล้วกระทำความ เพียรในความสงบแห่งใจในภายใน สมัยต่อมา เขาย่อมเป็นผู้มีปรกติได้อธิปัญญา และความเห็นแจ้งในธรรม ทั้งได้ความสงบใจในภายใน บุคคลไม่มีปรกติได้ ความสงบใจในภายใน ทั้งไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม พึงกระทำ ฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ย่อท้อ สติและ สัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้กุศลธรรมเหล่านั้นแหละ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลมีผ้านุ่งห่มถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ย่อท้อ สติและ สัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟที่ผ้าหรือที่ศีรษะ ฉันใด บุคคลนั้นก็ พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ย่อท้อ สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้กุศลธรรมเหล่านั้นแหละ ฉันนั้น เหมือนกัน สมัยต่อมา เขาย่อมเป็นผู้มีปรกติ ได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้ อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้มีปรกติได้ ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม พึงตั้งอยู่ใน กุศลธรรมเหล่านั้นแหละ แล้วกระทำความเพียรให้ยิ่ง เพื่อความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ใน โลก ฯจบสูตรที่ ๓ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๒๕๓๕-๒๕๖๕ หน้าที่ ๑๐๙-๑๑๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=2535&Z=2565&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=93 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=93 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [93] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=93&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8471 The Pali Tipitaka in Roman :- [93] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=21&item=93&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8471 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i091-e.php#sutta3 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i091-e2.php#sutta3 https://suttacentral.net/an4.93/en/sujato
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]