ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
สังวรสูตร
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเพียร ๔ ประการนี้ ๔ ประการนี้เป็นไฉน คือ สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑ ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อ ไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู... สูดกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้ธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรา เรียกว่าสังวรปธาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปหานปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมครอบงำ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ... ซึ่งพยาบาทวิตกเกิดขึ้นแล้ว ... ซึ่งวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแล้ว ... ซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เราเรียกว่าปหานปธาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติ- *สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพช- *ฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปในความสละ นี้เราเรียกว่าภาวนาปธาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อนุรักขนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญ ที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา ปุฬวกสัญญา วินีลกสัญญา วิปุพพกสัญญา วิจฉิทกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา นี้เราเรียกว่าอนุรักขนาปธาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเพียร ๔ ประการนี้แล ฯ ปธาน ๔ ประการนี้ คือ สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑ ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็น เผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องให้ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ผู้มีความเพียรพึงถึงความสิ้นทุกข์ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๓๘๙-๔๑๘ หน้าที่ ๑๗-๑๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=389&Z=418&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=14              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=14              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [14] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=14&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6753              The Pali Tipitaka in Roman :- [14] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=21&item=14&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6753              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i011-e.php#sutta4 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i011-e2.php#sutta4 https://suttacentral.net/an4.14/en/sujato https://suttacentral.net/an4.14/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :