ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ติสสสูตร
[๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระ นครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไป เทวดา ๒ ตนมีรัศมีงาม ยังภูเขา คิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วเทวดาตนหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว เทวดาอีกตนหนึ่งกราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นด้วยดีแล้ว เพราะไม่มีอุปาทาน ขันธ์เหลืออยู่ เทวดาเหล่านั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัย จึงถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น ครั้นล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคตรัส กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไป มีเทวดา ๒ ตนมีรัศมีงาม ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาท แล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้ว เทวดาตนหนึ่งได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว เทวดาอีกตนหนึ่งกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นด้วยดีแล้ว เพราะไม่มีอุปาทานขันธ์ เหลืออยู่ เทวดาเหล่านั้นครั้นกล่าวแล้ว อภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้ว หายไป ณ ที่นั้นนั่นแล ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งอยู่ในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค ท่านคิดเห็นว่า เทวดาเหล่าไหนหนอ มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคคลผู้ยังมีอุปานขันธ์เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือหรือในบุคคลผู้ไม่มี อุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ก็ในสมัยนั้นแล ภิกษุชื่อติสสะมรณ ภาพแล้วไม่นาน เข้าถึงพรหมโลกชั้นหนึ่ง แม้ในพรหมโลกนั้นก็รู้กันอย่างนี้ว่า ท้าวติสสพรหม เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ครั้งนั้นแล ท่านพระ มหาโมคคัลลานะหายจากภูเขาคิชฌกูฏไปปรากฏ ณ พรหมโลกนั้น เหมือนบุรุษผู้มี กำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ท้าวติสสพรหมได้เห็นท่านพระ มหาโมคคัลลานะกำลังมาแต่ไกล จึงกล่าวกะท่านว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์นิมนต์มาเถิด ท่านมาดีแล้วนานแล้วที่ท่านกระทำปริยายเพื่อมาที่นี้ ขอนิมนต์ท่าน นั่งเถิด นี่อาสนะปูไว้ดีแล้ว ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว แม้ติสสพรหม อภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่าน พระมหาโมคคัลลานะได้ถามว่า ดูกรติสสะ เทวดาเหล่าไหนแล มีญาณหยั่ง รู้อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคล ผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ฯ ติสสพรหมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหม ย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ ว่ายังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่าไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ฯ ม. เทวดาชั้นพรหมทั้งหมดหรือ ที่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มี อุปาทานขันธ์เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์ เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ฯ ต. ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหมไม่ใช่ทั้งหมด ที่มี ญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ... ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหมเหล่าใด ผู้ยินดีด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ และความเป็นอธิบดี อันเป็นของพรหม แต่ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุเป็นต้น นั้น เทวดาชั้นพรหมเหล่านั้น ไม่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์ เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มี อุปาทานขันธ์เหลือ ส่วนเทวดาชั้นพรหมเหล่าใด ไม่ยินดีด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ และความเป็นอธิบดี อันเป็นของพรหม และรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย เป็นเครื่องสลัดออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุเป็นต้นนั้น เทวดาชั้นพรหมเหล่านั้น ย่อม มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ... ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น อุภโตภาควิมุติ เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แล เป็นอุภโตภาค วิมุติ กายของท่านจักตั้งอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นท่านเพียงนั้น เพราะกายสลายไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นท่าน ข้าแต่ท่านโมคคัล- *ลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์ เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นปัญญาวิมุติ เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ แลเป็นปัญญาวิมุติ กายของท่านจักตั้งอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจัก เห็นท่านเพียงนั้น เพราะกายสลายไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นท่าน ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคคล ผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นกายสักขี (ผู้บรรลุฌานแล้วกระทำให้ แจ้งซึ่งนิพพาน) เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นกายสักขี แม้ไฉน ท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึง กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้าแต่ ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคคลผู้มี อุปาทานขันธ์เหลือว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นทิฏฐิปัตตะ (ผู้ถึงที่สุดทิฐิ) ฯลฯ เป็นสัทธาวิมุติ (ผู้หลุดพ้นเพราะศรัทธา) ฯลฯ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นธัมมานุสารี (ผู้ดำเนินตามกระแสธรรม) เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นธัมมานุสารี แม้ไฉน ท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่ สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า มีอุปาทาน ขันธ์เหลือ ฯ ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะชื่นชมยินดีภาษิตของท้าวติสสพรหม แล้ว หายจากพรหมโลกไปปรากฏที่เขาคิชฌกูฏ เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขน ที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น แล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้- *มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลถ้อยคำสนทนาปราศรัยกับท้าวติสสพรหมทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ ก็ท้าวติสสพรหมไม่ได้แสดง บุคคลอนิมิตตวิหารี (ผู้มีปรกติบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้อยู่) ที่ ๗ แก่ เธอหรือ ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต บัดนี้ เป็นการควรที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงแสดงถึงบุคคลอนิมิตตวิหารีที่ ๗ ข้าแต่ พระสุคต ภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ พ. ดูกรโมคคัลลานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัส ว่า ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แล บรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ แม้ไฉน ท่าน ผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงกระทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดย ต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรโมคคัลลานะ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า มีอุปา- *ทานขันธ์เหลือ ฯ
จบสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๑๖๓๗-๑๗๓๓ หน้าที่ ๗๒-๗๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=1637&Z=1733&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=53              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=53              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [53] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=53&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4260              The Pali Tipitaka in Roman :- [53] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=23&item=53&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4260              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i051-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an7.56/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :