ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ปฏิปทาสูตรที่ ๖
[๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็น ไฉน คือ อุฏฐานสัมปทา ๑ อารักขสัมปทา ๑ กัลยาณมิตตตา ๑ สมชีวิตา ๑ สัทธาสัมปทา ๑ สีลสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑ ปัญญาสัมปทา ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยง ชีพด้วยความหมั่นประกอบการงาน คือ กสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม รับ ราชการฝ่ายทหาร รับราชการฝ่ายพลเรือน หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่อง อันเป็นอุบายใน การงานนั้น สามารถจัดทำได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอุฏฐานสัมปทา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อารักขสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ มีโภคะ ที่หามาได้ด้วยความหมั่นเพียร สั่งสมด้วยกำลังแขน มีเหงื่อไหลโทรมตัว ชอบ ธรรม ได้มาโดยธรรม เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล ด้วย ทำไว้ในใจว่า ไฉนหนอ พระราชาไม่พึงบริโภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา โจรไม่พึง ลัก ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักไม่พึงลักไป ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่าอารักขสัมปทา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตร ในโลกนี้ อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด ย่อมดำรงตนเจรจาสั่งสนทนากับบุคคลใน บ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี เป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ ผู้มี สมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ศึกษาสัทธา สัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศึกษาศีลสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ศึกษาจาค สัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ศึกษาปัญญาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากัลยาณมิตตตา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมชีวิตาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรใน โลกนี้ รู้ทางเจริญแห่งโภคะ และรู้ทางเสื่อมแห่งโภคะแล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนชั่ง ตาชั่ง หรือลูกมือชั่งตาชั่ง ยกตาชั่งขึ้นแล้วย่อมรู้ว่า ต้องลดออกเท่านี้ หรือ ต้องเพิ่มเข้าเท่านี้ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญแห่งโภคะ และ รู้ทางเสื่อมแห่งโภคะแล้ว เลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคือง นัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่ เหนือรายได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรผู้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างโอ่ โถง จะมีผู้ว่าเขาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้ ใช้โภคะเหมือนคนเคี้ยวกินผลมะเดื่อ ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ากุลบุตรผู้มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีพอย่างฝืดเคือง จะมีผู้ว่า เขาว่ากุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างอนาถา แต่เพราะกุลบุตรผู้นี้รู้ทางเจริญแห่งโภคะ และ รู้ทางเสื่อมแห่งโภคะแล้ว เลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคือง นัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจัก ต้องไม่เหนือรายได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสมชีวิตา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้มีศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค องค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่าสัทธาสัมปทา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ศีลสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้งดเว้น จากปาณาติบาต ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็น ฐานแห่งความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าศีลสัมปทา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้มีจิตปราศจาก มลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการ จำแนกทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าจาคสัมปทา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้มี ปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปัญญา สัมปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้แล ฯ คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัดการงานเหมาะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะ ตามรักษาทรัพย์ที่หามาได้ มีศรัทธา ถึง พร้อมด้วยศีล รู้ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี่ ชำระทาง สัมปรายิกัตถประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าว นี้ ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระนาม อันแท้จริง ตรัสว่านำสุขมาให้ในโลกทั้งสอง คือ ประโยชน์ ในปัจจุบันนี้และความสุขในภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้ ย่อม เจริญแก่คฤหัสถ์ด้วยประการฉะนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๖๘๒๙-๖๘๘๗ หน้าที่ ๒๙๕-๒๙๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=6829&Z=6887&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=149              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=173              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [173] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=173&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [173] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=23&item=173&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i168-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an8.76/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :