ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
             [๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งการฆ่าสัตว์ว่า มี ๓ อย่าง
คือมีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้
ซึ่งการลักทรัพย์ว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง
มีโมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ซึ่งการประพฤติผิดในกามว่ามี ๓ อย่าง คือ
มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ซึ่งการ
พูดเท็จว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะ
เป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ซึ่งการพูดส่อเสียดว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุ
บ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ซึ่งการพูดคำหยาบ
ว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง
เรากล่าวแม้ซึ่งการพูดเพ้อเจ้อว่ามี ๓ อย่าง  คือ มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็น
เหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ซึ่งการอยากได้ของผู้อื่นว่ามี ๓ อย่าง
คือ มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้
ซึ่งความปองร้ายว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มี
โมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ซึ่งความเห็นผิดว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็น
เป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลภะ
เป็นแดนเกิดแห่งเหตุของกรรม โทสะเป็นแดนเกิดแห่งเหตุของกรรม โมหะเป็น
แดนเกิดแห่งเหตุของกรรม  ความสิ้นไปแห่งเหตุของกรรม ย่อมมีได้เพราะความ
สิ้นไปแห่งโลภะ ความสิ้นไปแห่งเหตุของกรรม ย่อมมีได้เพราะความสิ้นไปแห่ง
โทสะ ความสิ้นไปแห่งเหตุของกรรม ย่อมมีได้เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
ด้วยประการดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘
สปริกกมนสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๖๒๓๘-๖๒๕๙ หน้าที่ ๒๗๐-๒๗๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=6238&Z=6259&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=161              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=163              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [163-164] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=163&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8472              The Pali Tipitaka in Roman :- [163-164] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=163&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8472              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i156-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an10.174/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :