ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             [๔๑๕] 	สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยทิฐิ ย่อมกล่าวว่า
                          ความบริสุทธิ์ว่ามีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความบริสุทธิ์
                          ในธรรมเหล่าอื่น สมณพราหมณ์เป็นอันมาก กล่าวความดี
                          งามในศาสดาของตนเป็นต้นที่ตนอาศัยแล้ว ถือมั่นอยู่ใน
                          สัจจะเฉพาะอย่าง (มีคำว่าโลกเที่ยงเป็นต้น) สมณพราหมณ์
                          เจ้าทิฐิ ๒ พวกนั้น ประสงค์จะกล่าวโต้ตอบกัน เข้าไปสู่
                          บริษัทแล้ว ย่อมโต้เถียงกันและกันว่าเป็นคนเขลา สมณ-
                          พราหมณ์เหล่านั้นต้องการแต่ความสรรเสริญ เป็นผู้มีความ
                          สำคัญว่า เราทั้งหลายเป็นคนฉลาดอาศัยศาสดาของกันและ
                          กันเป็นต้นแล้ว ย่อมกล่าวคำทะเลาะกัน บุคคลปรารถนาแต่
                          ความสรรเสริญ ขวนขวายหาถ้อยคำวิวาท กระทบกระเทียบ
                          กันในท่ามกลางบริษัท แต่กลับเป็นผู้เก้อเขินในเพราะวาทะ
                          อันผู้ตัดสินปัญหาไม่ทำให้เลื่อมใส บุคคลนั้นเป็นผู้แสวงหา
                          โทษ ย่อมโกรธเพราะความนินทา ผู้พิจารณาปัญหาทั้งหลาย
                          กล่าววาทะใดของบุคคลนั้นอันตนไม่ทำให้เลื่อมใสแล้วว่าเป็น
                          วาทะเสื่อมสิ้น บุคคลผู้มีวาทะเสื่อมแล้วนั้น ย่อมคร่ำครวญ
                          เศร้าโศก ทอดถอนใจว่า ท่านผู้นี้กล่าวสูงเกินเราไป ความ
                          วิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในพวกสมณะ ความกระทบกระทั่งกัน
                          ย่อมมีในเพราะวาทะเหล่านี้ บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึง
                          เว้นความทะเลาะกันเสีย ความสรรเสริญและลาภ ย่อมไม่มี
                          เป็นอย่างอื่นไปเลย ก็หรือบุคคลนั้นกล่าววาทะในท่ามกลาง
                          บริษัท เป็นผู้อันบุคคลสรรเสริญแล้วในเพราะทิฐินั้น ย่อม
                          รื่นเริงใจสูงขึ้นเพราะต้องการชัยชนะและมานะนั้นได้ถึงความ
                          ต้องการชัยชนะนั้นสมใจนึก การยกตนของบุคคลนั้น เป็น
                          พื้นแห่งความกระทบกัน และบุคคลนั้นย่อมกล่าวถึงการ
                          ถือตัวและการดูหมิ่นผู้อื่น บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึงเว้น
                          ความทะเลาะกันเสีย ผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวความ
                          บริสุทธิ์ด้วยการทะเลาะกันนั้น บุคคลผู้เจ้าทิฐิปรารถนาพบ
                          บุคคลเจ้าทิฐิผู้เป็นปฏิปักษ์กัน ย่อมคำราม เปรียบเหมือน
                          ทหารผู้กล้าหาญ ซึ่งพระราชาทรงเลี้ยงแล้วด้วยราชขาทนียา-
                          หาร ปรารถนาพบทหารผู้เป็นปฏิปักษ์กัน ย่อมคำราม ฉะนั้น
                          ดูกรท่านผู้องอาจ บุคคลเจ้าทิฐิเป็นปฏิปักษ์ของท่านนั้น มีอยู่
                          ณ ที่ใด ท่านจงไป ณ ที่นั้นเถิด กิเลสชาติเพื่อการรบนี้
                          ไม่มีในกาลก่อนเลย (กิเลสชาตินั้นเราผู้ตถาคตละเสียแล้ว
                          ณ ควงแห่งไม้โพธินั้นแล) สมณพราหมณ์เหล่าใดถือรั้น
                          ทิฐิแล้ว ย่อมวิวาทกันและย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง
                          ท่านผู้กระทำความเป็นข้าศึกในวาทะ (ถ้อยคำ) ที่เกิดขึ้น
                          จงกล่าวทุ่มเถียงกะสมณพราหมณ์เหล่านั้นเถิด พราหมณ์เหล่า
                          นั้นไม่มีในที่นี้เลย ส่วนพระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย กำจัด
                          เสนา คือกิเลสให้พินาศแล้ว ไม่กระทำความเห็นให้ผิดไป
                          จากความเห็น เที่ยวไปอยู่ ดูกรปสุระ ท่านจะได้สู้รบโต้
                          ตอบอะไร ในพระอรหันต์ผู้ไม่มีความยึดถือว่าสิ่งนี้ประเสริฐ
                          ในโลกนี้ ถ้าท่านคิดถึงทิฐิทั้งหลายอยู่ด้วยใจ ถึงความตรึกไป
                          ต่างๆ ถือเอาความเป็นคู่แข่งขันกับพระพุทธะผู้กำจัดกิเลส
                          ได้แล้วไซร้ ท่านจะสามารถเพื่อถือเอาความเป็นคู่แข่งขันให้
                          สำเร็จไม่ได้เลย ฯ
จบปสูรสูตรที่ ๘
มาคันทิยสูตรที่ ๙
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๑๗๕-๑๐๒๒๓ หน้าที่ ๔๔๑-๔๔๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=10175&Z=10223&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=273              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=415              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [415-416] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=415&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=8428              The Pali Tipitaka in Roman :- [415-416] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=415&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=8428              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i408-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.4.08.than.html https://suttacentral.net/snp4.8/en/mills https://suttacentral.net/snp4.8/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :