ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             [๓๑๕] 	สัตบุรุษทั้งหลายบริโภคข้าวฟ่าง ลูกเดือย ถั่วเขียว ใบ
                          ไม้ เหง้ามัน และผลไม้ที่ได้แล้วโดยธรรม หาปรารถนา
                          กามกล่าวคำเหลาะแหละไม่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคพระ
                          นามว่ากัสสป พระองค์เมื่อเสวยเนื้อชนิดใดที่ผู้อื่นทำสำเร็จ
                          ดีแล้ว ตบแต่งไว้ถวายอย่างประณีต เมื่อเสวยข้าวสุก
                          แห่งข้าวสาลี ก็ชื่อว่าย่อมเสวยกลิ่นดิบ ข้าแต่พระองค์
                          ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่น
                          ดิบย่อมไม่ควรแก่เรา แต่ยังเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลีกับ
                          เนื้อนกที่บุคคลปรุงดีแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคพระนาม

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๔๐.

ว่ากัสสป ข้าพระองค์ขอทูลถามความข้อนี้กะพระองค์ว่า กลิ่นดิบของพระองค์มีประการอย่างไร ฯ พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า การฆ่าสัตว์ การทุบตี การตัด การจองจำ การลัก การพูด- เท็จ การกระทำด้วยความหวัง การหลอกลวง การ เรียนคัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์ และการคบหาภรรยาผู้อื่น นี้ ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย ชน เหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย ยินดีใน รสทั้งหลาย เจือปนไปด้วยของไม่สะอาด มีความเห็น ว่าทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล มีการงานไม่เสมอ บุคคล พึงแนะนำได้โดยยากนี้ ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อ และโภชนะไม่ชื่อว่าเป็นกลิ่นดิบเลย ชนเหล่าใดผู้เศร้า- หมอง หยาบช้า หน้าไหว้หลังหลอก ประทุษร้ายมิตร ไม่มีความกรุณา มีมานะจัด มีปกติไม่ให้ และไม่ให้อะไรๆ แก่ใครๆ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะ ไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย ความโกรธ ความมัวเมา ความ เป็นคนหัวดื้อ ความตั้งอยู่ผิด มายา ฤษยา ความยกตน ความถือตัว ความดูหมิ่น และความสนิทสนมด้วยอสัต- บุรุษทั้งหลาย นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อ ว่ากลิ่นดิบเลย ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปรกติประพฤติ ลามก กู้หนี้มาแล้วไม่ใช้ พูดเสียดสี พูดโกง เป็นคน เทียม เป็นคนต่ำทราม กระทำกรรมหยาบช้า นี้ชื่อว่า กลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบ เลย ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย ชักชวน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๔๑.

ผู้อื่นประกอบการเบียดเบียน ทุศีล ร้ายกาจ หยาบคาย ไม่เอื้อเฟื้อ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและ โภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย สัตว์เหล่าใดกำหนัดแล้วใน สัตว์เหล่านี้ โกรธเคือง ฆ่าสัตว์ ขวนขวายในอกุศลเป็น นิตย์ ตายไปแล้วย่อมถึงที่มืด มีหัวลงตกไปสู่นรก นี้ ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่า กลิ่นดิบเลย การไม่กินปลาและเนื้อ ความเป็นคน ประพฤติเปลือย ความเป็นคนโล้น การเกล้าชฎา ความ เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลี การครองหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ การบำเรอไฟ หรือแม้ว่าความเศร้าหมองในกายที่เป็นไป ด้วยความปรารถนา ความเป็นเทวดา การย่างกิเลสเป็นอัน มากในโลก มนต์และการเซ่นสรวง ยัญและการซ่อง- เสพฤดู ย่อมไม่ยังสัตว์ผู้ไม่ข้ามพ้นความสงสัยให้หมดจด ได้ ผู้ใด คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหกเหล่านั้น รู้แจ้งอินทรีย์ แล้ว ตั้งอยู่ในธรรม ยินดีในความเป็นคนตรงและอ่อน โยน ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องเสียได้ ละทุกข์ได้ทั้งหมด ผู้นั้นเป็นนักปราชญ์ ไม่ติดอยู่ในธรรมที่เห็นแล้ว และ ฟังแล้ว ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกความข้อนี้บ่อยๆ ด้วยประการ- ฉะนี้ ติสสดาบสผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์ได้ทราบความข้อนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคผู้เป็นมุนี ทรงประกาศด้วยพระคาถาทั้ง หลาย อันวิจิตรว่า บุคคลผู้ที่ไม่มีกลิ่นดิบ ผู้อันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยแล้ว ตามรู้ได้ยาก ติสสดาบสฟังบท สุภาษิตซึ่งไม่มีกลิ่นดิบ อันเป็นเครื่องบรรเทาเสียซึ่งทุกข์

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๔๒.

ทั้งปวง ของพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นผู้มีใจนอบน้อม ถวายบังคมพระบาทของตถาคต ได้ทูลขอบรรพชาที่อาสนะ นั่นแล ฯ
จบอามคันธสูตรที่ ๒
หิริสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๗๗๔๙-๗๘๑๐ หน้าที่ ๓๓๙-๓๔๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=7749&Z=7810&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=241              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=315              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [315-316] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=315&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=985              The Pali Tipitaka in Roman :- [315-316] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=315&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=985              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i314-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/snp2.2/en/mills https://suttacentral.net/snp2.2/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :