ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             [๒๙] 	บุคคลไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม ด้วยเหตุที่วินิจฉัยอรรถคดีโดย
                          ผลุนผลัน ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิตวินิจฉัยอรรถคดี และความ
                          อันไม่เป็นอรรถคดีทั้งสอง วินิจฉัยบุคคลเหล่าอื่นโดยความ
                          ไม่ผลุนผลัน โดยธรรมสม่ำเสมอ ผู้นั้นชื่อว่าคุ้มครองกฎหมาย
                          เป็นนักปราชญ์ เรากล่าวว่า ตั้งอยู่ในธรรม บุคคลไม่ชื่อว่า
                          เป็นบัณฑิต ด้วยเหตุเพียงที่พูดมาก บุคคลผู้มีความเกษม
                          ไม่มีเวร ไม่มีภัย เราเรียกว่า เป็นบัณฑิต บุคคลไม่ชื่อว่า
                          ทรงธรรมด้วยเหตุเพียงที่พูดมาก ส่วนผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย
                          แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมด้วยนามกาย [และ] ไม่ประมาท
                          ธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม บุคคลไม่ชื่อว่าเป็น
                          เถระ เพราะเหตุที่มีผมหงอกบนศีรษะ วัยของบุคคลนั้นแก่
                          หง่อมแล้ว บุคคลนั้นเรากล่าวว่า เป็นผู้แก่เปล่า สัจจะ ธรรมะ
                          อหิงสา สัญญมะและทมะ มีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลมีมลทินอัน
                          คายแล้ว เป็นนักปราชญ์ เราเรียกว่าเป็นเถระ นรชนผู้มัก
                          ริษยา มีความตระหนี่ โอ้อวด ไม่เป็นผู้ชื่อว่ามีรูปงาม
                          เพราะเหตุเพียงพูด หรือเพราะความเป็นผู้มีวรรณะงาม ส่วน
                          ผู้ใดตัดโทษมีความริษยาเป็นต้นนี้ได้ขาด ถอนขึ้นให้รากขาด
                          แล้ว ผู้นั้นมีโทษอันคายแล้ว มีปัญญา เราเรียกว่า ผู้มี
                          รูปงาม บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเพราะศีรษะโล้น บุคคล
                          ผู้ไม่มีวัตร พูดเหลาะแหละ มากด้วยความอิจฉาและความโลภ
                          จักเป็นสมณะอย่างไรได้ ส่วนผู้ใดสงบบาปน้อยใหญ่ได้
                          โดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเรากล่าวว่าเป็นสมณะ เพราะสงบ
                          บาปได้แล้ว บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุด้วยเหตุเพียงที่ขอคนอื่น
                          บุคคลสมาทานธรรมอันเป็นพิษ ไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุด้วยเหตุนั้น
                          ผู้ใดในโลกนี้ลอยบุญและบาปแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์
                          รู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เที่ยวไปในโลก ผู้นั้นแลเราเรียกว่าเป็น
                          ภิกษุ บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะความนิ่ง บุคคลผู้หลงลืม
                          ไม่รู้แจ้ง ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิตถือธรรม
                          อันประเสริฐ เป็นดุจบุคคลประคองตราชั่ง เว้นบาปทั้งหลาย
                          ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนี เพราะเหตุนั้นผู้นั้นชื่อว่ามุนี ผู้ใดรู้จักโลก
                          ทั้งสอง ผู้นั้นเราเรียกว่าเป็นมุนีเพราะเหตุนั้น บุคคลไม่ชื่อว่า
                          เป็นอริยะ เพราะเหตุที่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง บุคคลที่เรา
                          เรียกว่าเป็นอริยะ เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ดูกรภิกษุ
                          ภิกษุยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ อย่าถึงความชะล่าใจ
                          ด้วยเหตุเพียงศีลและวัตร ด้วยความเป็นพหูสูต ด้วยการได้
                          สมาธิ ด้วยการนอนในที่สงัด หรือด้วยเหตุเพียงความดำริ
                          เท่านี้ว่า เราถูกต้องสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ ซึ่งปุถุชนเสพ
                          ไม่ได้ ฯ
จบธัมมัฏฐวรรคที่ ๑๙
คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๙๔๗-๙๘๖ หน้าที่ ๔๑-๔๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=947&Z=986&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=28              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=29              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [29-30] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=29&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=24&A=828              The Pali Tipitaka in Roman :- [29-30] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=29&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=24&A=828              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i029-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i029-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.19.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.19.budd.html https://suttacentral.net/dhp256-272/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp256-272/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp256-272/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :