ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๓. รถการีเปตวัตถุ
ว่าด้วยผลกรรมทำให้ได้อยู่ร่วมกับนางเวมานิกเปรต
มาณพคนหนึ่งถามนางเวมานิกเปรตตนหนึ่งว่า [๑๑๓] ดูกรนางเทวีผู้มีอานุภาพมาก ท่านขึ้นสู่วิมานมีเสาเป็นวิการแก้วไพฑูรย์ งามผุดผ่อง มีรูปภาพอันวิจิตรต่างๆ อยู่ในวิมานนั้น ดุจพระจันทร์ ในวันเพ็ญ งามโชติช่วงในท้องฟ้า ฉะนั้น อนึ่ง รัศมีของท่านมีสีดัง ทองคำ ท่านมีรูปร่างอันอุดมน่าดูน่าชมยิ่งนัก นั่งอยู่แต่ผู้เดียวบนบัลลังก์ อันประเสริฐมีค่ามาก สามีของท่านไม่มีหรือ ก็สระโบกขรณีของท่าน เหล่านี้มีอยู่โดยรอบ มีกอบัวต่างๆ เป็นอันมาก มีบัวขาวมาก เกลื่อน กล่นด้วยทรายทองโดยรอบ ในสระโบกขรณีนั้น หาเปือกตมและ จอกแหนมิได้ มีหงส์น่าดูน่าชมน่ารื่นรมย์ใจเที่ยวเลาะเวียนไปในน้ำ ทุกเมื่อ หงส์ทั้งปวงนั้นมีเสียงไพเราะพากันมาประชุมร่ำร้องอยู่ เสียง ร่ำร้องแห่งหงส์ในสระโบกขรณีของท่าน มิได้ขาดเสียง ดุจเสียง กลอง ท่านมียศงามรุ่งเรือง ลงนั่งอยู่ในเรือ ท่านมีคิ้วโก่งดำดี มีหน้า ยิ้มแย้มพูดจาน่ารักใคร่ มีอวัยวะทั้งปวงงามรุ่งเรืองยิ่งนัก วิมานของ ท่านนี้ปราศจากละอองธุลี ตั้งอยู่ที่ภาคพื้นอันราบเรียบ มีสวนนันทวัน อันให้เกิดความยินดีเพลิดเพลินเจริญใจ ดูกรนารีผู้มีรูปร่างน่าดูน่าชม เราปรารถนาเพื่อจะอยู่บันเทิงกับท่านในสวนนันทวันของท่านนี้. นางเวมานิกาเปรตกล่าวว่า ท่านจงทำกรรมอันจะให้ท่านได้เสวยผลในวิมานของเรานี้ และจิตของ ท่านจงน้อมมาในวิมานนี้ด้วย ท่านทำกรรมอันบันเทิงในที่นี้แล้วจักได้ อยู่รวมกับเราสมความประสงค์ มาณพนั้นรับคำนางเวมานิกเปรตนั้นแล้ว จึงได้ทำกรรมอันเป็นกุศล อันส่งผลให้เกิดในวิมานนั้น ครั้นแล้วได้ เข้าถึงความเป็นสหายของนางเวมานิกเปรตนั้น.
จบ รถการีเปตวัตถุที่ ๓.
จบ ภาณวารที่ ๒.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๔๑๐๘-๔๑๓๓ หน้าที่ ๑๖๗-๑๖๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=4108&Z=4133&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=113              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=113              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [113] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=26&item=113&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=31&A=4361              The Pali Tipitaka in Roman :- [113] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=26&item=113&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=31&A=4361              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :