ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง
[๓๓] คำว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก. กายวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่ง อยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว เที่ยว อยู่ เปลี่ยนอริยาบถ ประพฤติ รักษาเป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก. จิตตวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ บรรลุทุติยฌาน มีจิต สงัดจากวิตกและวิจาร บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ บรรลุจตุตตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและ ทุกข์ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิต สงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตน สัญญา (เมื่อภิกษุนั้น) เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้น เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างหยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกันกามราคสังโยชน์อย่างหยาบ เป็นต้นนั้น เป็นอนาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕.

กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราค- *สังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น เป็นอรหันตบุคคลมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับ รูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก. อุปธิวิเวกเป็นไฉน? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ. อมตะ นิพพาน เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้น ตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก. ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่ บุคคลผู้หมดอุปธิถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร. คำว่า ไกลจากวิเวก มีความว่า นรชนนั้นใด เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำอย่างนี้ อันกิเลส มากปิดบังไว้อย่างนี้ หยั่งลงในที่หลงอย่างนี้ นรชนนั้นย่อมอยู่ไกลแม้จากกายวิเวก ย่อมอยู่ ไกลแม้จากจิตตวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จากอุปธิวิเวก คืออยู่ในที่ห่างไกลแสนไกล มิใช่ใกล้ มิใช่ใกล้ชิด มิใช่เคียง มิใช่ใกล้เคียง. คำว่า อย่างนั้น คือ ผู้หยั่งลงในที่หลง ชนิดนั้น เช่นนั้น ดำรงอยู่ดังนั้น แบบนั้น เหมือนเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๕๕๖-๕๘๙ หน้าที่ ๒๔-๒๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=556&Z=589&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=2              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=30              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [33] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=29&item=33&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=2055              The Pali Tipitaka in Roman :- [33] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=29&item=33&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=2055              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/ati/tipitaka/kn/nm/nm.2.04.olen.html

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :