ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๓๖๕] คำว่า อกิญฺจนํ ในอุเทศว่า อกิญฺจนํ กามภเว อสตฺตํ ดังนี้ ความว่า
เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวลคือมานะ เครื่อง
กังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต. เครื่องกังวลเหล่านี้อันมุนีใดละได้
แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
มุนีนั้นตรัสว่า ไม่มีเครื่องกังวล. โดยอุทานว่า กามา ในอุเทศว่า กามภเว ดังนี้ กามมี ๒ อย่าง
คือ วัตถุกาม ๖ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่าวัตถุกาม. ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่ากิเลสกาม.
โดยอุเทศว่า ภพ ภพมี ๒ อย่าง คือ กรรมภพ ๑ ปุนภพอันมีในปฏิสนธิ ๑. ฯลฯ นี้เป็น
ปุนภพอันมีในปฏิสนธิ.
             คำว่า ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ ความว่า ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้อง
คือ ไม่เกี่ยว ไม่เกี่ยวข้อง ไม่พัวพัน ออกไป สลัดออก หลุดพ้นไม่ ประกอบในกามและภพ
มีใจอันทำให้ปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกาม
และภพ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          ผู้นั้นไม่มีความหวัง ไม่หวังอยู่ มีปัญญาและไม่มีความก่อ
                          (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา. ดูกรโตเทยยะ ท่านจงรู้จักมุนีผู้ไม่มี
                          เครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ แม้อย่างนี้.
             พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา
ของข้าพระองค์. ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบ โตเทยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๙.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๓๓๖๐-๓๓๗๘ หน้าที่ ๑๓๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=3360&Z=3378&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=30&siri=28              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=346              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [365] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=30&item=365&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=860              The Pali Tipitaka in Roman :- [365] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=30&item=365&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=860              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://www.ancient-buddhist-texts.net/Texts-and-Translations/Parayanavagga/Parayanavaggo-09.htm

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :