บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
กัปปมาณวกปัญหานิทเทส ว่าด้วยปัญหาของท่านพระกัปปะ [๓๖๖] (ท่านพระกัปปะทูลถามว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมอันเป็น ที่พึ่งแก่สัตว์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลางสงสาร เมื่อห้วงกิเลส เกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว. อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์. ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีก อย่างไร? [๓๖๗] สงสาร คือ การมา การไป ทั้งการมาและการไป กาลมรณะ คติ ภพแต่ภพ จุติ อุปบัติ ความบังเกิด ความแตก ชาติ ชรา และมรณะ ท่านกล่าวว่า สระ ในอุเทศว่า มชฺเญ สรสฺมึ ติฏฐตํ ดังนี้. แม้ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏ แม้ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารก็ไม่ปรากฏ สัตว์ ทั้งหลายตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดอยู่ น้อมใจ ไปแล้ว ในท่ามกลางสงสาร. ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างไร? วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นชาติเท่านี้ พ้น จากนั้น ย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างต้นแห่งสงสาร ย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้. วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นร้อยชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างต้น แห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้. วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นพันชาติเท่านี้ ... สิ้นแสนชาติเท่านี้ ... สิ้นโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยปีเท่านี้ ... สิ้นพันปีเท่านี้ ... สิ้นแสนปีเท่านี้ ... สิ้นโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิปี เท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นกัปเท่านี้ ... สิ้นร้อยกัปเท่านี้ ... สิ้นพันกัป เท่านี้ ... สิ้นแสนกัปเท่านี้ ... สิ้นโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิกัปเท่านี้ สิ้น แสนโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนี้ ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ ปรากฏแม้อย่างนี้. สมจริงดังพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีที่สุดอัน รู้ไม่ได้ ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีอวิชชาเป็น เครื่องกั้นไว้ มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป เสวยความทุกข์ความพินาศเป็น อันมากตลอดกาลนาน มากไปด้วยป่าช้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ จึงสมควรจะ เบื่อหน่าย ควรจะคลายกำหนัด ควรจะหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง ดังนี้. ที่สุดข้างต้นแห่งสงสาร ย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้. ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างไร? วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นชาติเท่านี้ พ้นจาก นั้นจักไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างปลายแห่งสงสาร ย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้. วัฏฏะ จักเป็นไปสิ้นร้อยชาติเท่านี้ ... สิ้นพันชาติเท่านี้ ... สิ้นแสนชาติเท่านี้ ... สิ้นโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้น ร้อยโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยปีเท่านี้ ... สิ้นพันปีเท่านี้... สิ้นแสนปีเท่านี้ ... สิ้นโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยปีเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้น แสนโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นกัปเท่านี้ ... สิ้นร้อยกัปเท่านี้ ... สิ้นพันกัปเท่านี้ ... สิ้นแสนกัปเท่านี้ ... สิ้น โกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิกัปเท่านี้ ... วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นแสนโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนี้ ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏ แม้อย่างนี้. แม้ที่สุดข้างต้น แม้ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏ อย่างนี้. สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน ติดอยู่ น้อมใจไปแล้วในท่ามกลางสงสาร เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลางสงสาร. คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา กปฺโป ดังนี้ เป็นบทสนธิ. ฯลฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรักเป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง. คำว่า กปฺโป เป็นชื่อ ฯลฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพระกัปปะทูลถามว่า. [๓๖๘] คำว่า เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ความว่า เมื่อกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เกิดแล้ว คือ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ แล้ว. คำว่า เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ความว่า เมื่อชาติภัยชราภัย พยาธิภัย มรณภัย มีแล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว. [๓๖๙] คำว่า ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว ความว่า ผู้อันชราถูกต้องถึงรอบ ตั้งลง ประกอบแล้ว อันมัจจุราชถูกต้อง ถึงรอบ ตั้งลง ประกอบแล้ว อันชาติไปตาม ชราก็แล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะก็ห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มี อะไรเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว. [๓๗๐] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นที่พึง ความ ว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ... ขอจงประกาศซึ่งธรรมเป็นที่พึ่ง คือ ธรรมเป็นที่ต้านทาน ธรรม เป็นที่ซ่อนเร้น ธรรมเป็นสรณะ ธรรมเป็นคติที่ไป. คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ, คำว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นที่พึ่ง. [๓๗๑] พราหมณ์นั้นกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระองค์ในอุเทศว่า ตฺวญฺจ เม ทีปมกฺขาหิ ดังนี้. คำว่า ขอจงตรัสบอกธรรมเป็นที่พึ่ง ความว่า ขอจงตรัสบอก ... ขอจงประกาศซึ่งธรรม เป็นที่พึ่ง คือ ธรรมเป็นที่ต้านทาน ธรรมเป็นที่ซ่อนเร้น ธรรมเป็นสรณะ ธรรมเป็นคติที่ไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์. [๓๗๒] คำว่า ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกอย่างไร ความว่า ทุกข์นี้พึงดับ คือ พึงสงบ พึง ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ พึงระงับไปในภพนี้นี่แหละ คือ ทุกข์อันมีในปฏิสนธิ ไม่พึงบังเกิดอีก คือ ไม่พึงเกิด ไม่พึงเกิดพร้อม ไม่พึงบังเกิดในกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโว- *การภพ ในคติใหม่ อุปบัติใหม่ ปฏิสนธิใหม่ ภพ สงสารหรือในวัฏฏะ พึงดับ สงบถึง ความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไปในภพนี้นี่แหละ อย่างไร? เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ทุกข์นี้ไม่พึงมี อีกอย่างไร? เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็นที่พึ่ง แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลางสงสาร เมื่อห้วงกิเลสเกิด แล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว. อนึ่ง ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์. ทุกข์นี้ ไม่พึงมีอีกอย่างไร? [๓๗๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัปปะ) เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่ง แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ที่ตั้งอยู่ในท่ามกลาง สงสาร เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ผู้อันชรา และมัจจุถึงรอบแล้ว. ดูกรกัปปะ เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่ง แก่ท่าน. [๓๗๔] สงสาร คือ การมา การไป ทั้งการไปและการมา การมรณะ คติ ภพแต่ภพ จุติ อุปบัติ ความบังเกิด ความแตก ชาติชราและมรณะ ท่านกล่าวว่า สระ ในอุเทศว่า มชฺเญ สรสฺมึ ติฏฺฐตํ ดังนี้. แม้ที่สุดข้างต้น แม้ที่สุดข้างปลายแห่งสงสาร ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ ก็สัตว์ทั้งหลายตั้ง อยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดอยู่ น้อมใจไปแล้วในท่ามกลางสงสาร. ที่สุดข้างต้น แห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างไร? ฯลฯ ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้. ที่สุด ข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างไร? ฯลฯ ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้ อย่างนี้. แม้ที่สุดข้างต้น แม้ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้. สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดอยู่ น้อมใจไปแล้วในท่ามกลางสงสาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลางสงสาร. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า กัปปะ ในอุเทศว่า กปฺปาติ ภควา ดังนี้. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัปปะ. [๓๗๕] ข้อว่า เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ความว่า เมื่อกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เกิดแล้ว คือ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว. คำว่า เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ความว่า เมื่อชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย มีแล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว. [๓๗๖] ข้อว่า ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว ความว่า ผู้อันชราถูกต้องถึงรอบ ตั้งลง ประกอบแล้ว อันมัจจุถูกต้อง ถึงรอบ ตั้งลง ประกอบแล้ว อันชาติไปตาม ชราก็แล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะก็ห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มี อะไรเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว. [๓๗๗] ข้อว่า ดูกรกัปปะ เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ท่าน ความว่า เราจะบอก ... จะประกาศ ซึ่งธรรมเป็นที่พึง คือ ธรรมเป็นที่ต้านทาน ธรรมเป็นที่ซ่อนเร้น ธรรมเป็นสรณะ ธรรมเป็นคติที่ไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่ง. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า กัปปะ ในอุเทศว่า กปฺป เต ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ดูกรกัปปะ เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ท่าน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า. เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่ง แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ที่ตั้งอยู่ในท่าม กลางสงสาร เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว. ดูกรกัปปะ เราจะบอกธรรม เป็นที่พึ่งแก่ท่าน. [๓๗๘] เราขอบอกนิพพานอันไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มีตัณหา เครื่องถือมั่น ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น เป็นที่สิ้นไปแห่งชราและ มัจจุนี้นั้นว่า ธรรมเป็นที่พึ่ง. [๓๗๙] คำว่า ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ในอุเทศว่า อกิญฺจนํ อนาทานํ ดังนี้ ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต เป็นเครื่องกังวล อมตนิพพานเป็นที่ละ เป็นที่สงบ เป็นที่สละคืน เป็นที่ระงับแห่งกิเลสเครื่องกังวล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีกิเลส เครื่องกังวล. คำว่า ไม่มีตัณหาเครื่องถือมั่น ความว่า ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่า เครื่องถือมั่น. อมตนิพพานเป็นที่ละ เป็นที่สงบ เป็นที่สละคืน เป็นที่ ระงับแห่งตัณหาเครื่องถือมั่น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มีตัณหาเครื่อง ถือมั่น. [๓๘๐] คำว่า เป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น ความว่า เป็นที่พึ่ง คือ เป็นที่ต้านทาน เป็นที่ซ่อนเร้น เป็นสรณะ เป็นคติที่ไป. คำว่า ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น คือ ที่พึ่งอื่น คือ อย่างอื่นจากนิพพานนั้นมิได้มี โดยที่แท้ พึ่งนั้นนั่นแหละเป็นที่พึ่งอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธานสูงสุด และอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่พึ่งนี้ไม่ใช่อย่างอื่น. [๓๘๑] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุสลมูล ตรัสว่า วานะ ในอุเทศว่า นิพฺพานํ อิติ นํ พฺรูมิ ดังนี้. อมตนิพพานเป็นที่ละ เป็นที่สงบ เป็นที่สละคืน เป็นที่ระงับแห่งตัณหา เครื่องร้อยรัด. คำว่า อิติ เป็นบทสนธิ. ฯลฯ บทว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า เราขอบอก คือ เราขอบอก ... ขอประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราขอ บอกนิพพานนั้นว่า. [๓๘๒] คำว่า เป็นที่สิ้นชราและมัจจุ ความว่า อมตนิพพาน เป็นที่ละ เป็นที่สงบ เป็นที่สละคืน เป็นที่ระงับแห่งชราและมรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่สิ้นชราและมัจจุ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เราขอบอกนิพพานอันไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มีตัณหา เครื่องถือมั่น ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น เป็นที่สิ้นไปแห่งชราและ นี้มัจจุนั้นว่า ธรรมเป็นที่พึ่ง. [๓๘๓] พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงนิพพานนั้นแล้ว เป็น ผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว พระอรหันตขีณาสพ เหล่านั้น เป็นผู้ไม่ไปตามอำนาจแห่งมาร ไม่ไปบำรุงมาร. [๓๘๔] คำว่า เอตํ ในอุเทศว่า เอตทญญาย เย สตา ดังนี้ คือ อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืออุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเครื่องร้อยรัด. คำว่า อญฺญาย คือ รู้ทั่วถึง ทราบ เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำให้แจ่มแจ้ง คือ รู้ทั่วถึง ... ทำให้แจ่มแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า เหล่าใด คือ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย. คำว่า เป็นผู้มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญสติปัฏฐาน เครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระอรหันตขีณาสพทั้งหลายจึงตรัสว่า เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงนิพพานนั้นแล้วเป็นผู้มีสติ. [๓๘๕] คำว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว ความว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว คือ มี ธรรมอันรู้แล้ว มีธรรมอันเทียบเคียงแล้ว มีธรรมอันพิจารณา มีธรรมอันเจริญแล้ว มีธรรมอัน แจ่มแจ้งแล้ว. คำว่า ดับแล้ว ความว่า ชื่อว่าดับแล้ว ระงับแล้ว เพราะเป็นผู้ดับราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มีธรรมอันเห็น แล้ว ดับแล้ว.เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๓๓๗๙-๓๕๓๘ หน้าที่ ๑๓๘-๑๔๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=3379&Z=3538&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=30&siri=29 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=366 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [366-385] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=30&item=366&items=20 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=879 The Pali Tipitaka in Roman :- [366-385] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=30&item=366&items=20 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=879 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://www.ancient-buddhist-texts.net/Texts-and-Translations/Parayanavagga/Parayanavaggo-10.htm
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]