ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๓๖๗] สงสาร คือ การมา การไป ทั้งการมาและการไป กาลมรณะ คติ ภพแต่ภพ
จุติ อุปบัติ ความบังเกิด ความแตก ชาติ ชรา และมรณะ ท่านกล่าวว่า สระ ในอุเทศว่า
มชฺเญ สรสฺมึ ติฏฐตํ ดังนี้.
             แม้ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏ แม้ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารก็ไม่ปรากฏ สัตว์
ทั้งหลายตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดอยู่ น้อมใจ ไปแล้ว ในท่ามกลางสงสาร.
             ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างไร? วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นชาติเท่านี้ พ้น
จากนั้น ย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างต้นแห่งสงสาร ย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้.
วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นร้อยชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างต้น
แห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้. วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นพันชาติเท่านี้ ... สิ้นแสนชาติเท่านี้ ...
สิ้นโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิชาติเท่านี้ ...
สิ้นปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยปีเท่านี้ ... สิ้นพันปีเท่านี้ ... สิ้นแสนปีเท่านี้ ... สิ้นโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิปี
เท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นกัปเท่านี้ ... สิ้นร้อยกัปเท่านี้ ... สิ้นพันกัป
เท่านี้ ... สิ้นแสนกัปเท่านี้ ... สิ้นโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิกัปเท่านี้ สิ้น
แสนโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนี้ ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่
ปรากฏแม้อย่างนี้.
             สมจริงดังพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีที่สุดอัน
รู้ไม่ได้ ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีอวิชชาเป็น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๙.

เครื่องกั้นไว้ มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป เสวยความทุกข์ความพินาศเป็น อันมากตลอดกาลนาน มากไปด้วยป่าช้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ จึงสมควรจะ เบื่อหน่าย ควรจะคลายกำหนัด ควรจะหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง ดังนี้. ที่สุดข้างต้นแห่งสงสาร ย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้. ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างไร? วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นชาติเท่านี้ พ้นจาก นั้นจักไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างปลายแห่งสงสาร ย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้. วัฏฏะ จักเป็นไปสิ้นร้อยชาติเท่านี้ ... สิ้นพันชาติเท่านี้ ... สิ้นแสนชาติเท่านี้ ... สิ้นโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้น ร้อยโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยปีเท่านี้ ... สิ้นพันปีเท่านี้... สิ้นแสนปีเท่านี้ ... สิ้นโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยปีเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้น แสนโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นกัปเท่านี้ ... สิ้นร้อยกัปเท่านี้ ... สิ้นพันกัปเท่านี้ ... สิ้นแสนกัปเท่านี้ ... สิ้น โกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิกัปเท่านี้ ... วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นแสนโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนี้ ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏ แม้อย่างนี้. แม้ที่สุดข้างต้น แม้ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏ อย่างนี้. สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน ติดอยู่ น้อมใจไปแล้วในท่ามกลางสงสาร เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลางสงสาร. คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา กปฺโป ดังนี้ เป็นบทสนธิ. ฯลฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรักเป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง. คำว่า กปฺโป เป็นชื่อ ฯลฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพระกัปปะทูลถามว่า.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๓๓๘๗-๓๔๒๒ หน้าที่ ๑๓๘-๑๓๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=3387&Z=3422&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=30&siri=29              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=366              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [367] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=30&item=367&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=879              The Pali Tipitaka in Roman :- [367] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=30&item=367&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=879              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://www.ancient-buddhist-texts.net/Texts-and-Translations/Parayanavagga/Parayanavaggo-10.htm

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :