ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ติณกุฏิทายกเถราปทานที่ ๗ (๓๓๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายกุฎีหญ้า
[๓๓๙] เราเป็นคนรับจ้างทำการงานของคนอื่น ขวนขวายในทางเกิดการงานของคน อื่น อาศัยอาหารของผู้อื่น อยู่ในนครพันธุมดี ในกาลนั้น เรานั่งอยู่ในที่ ลับแล้ว คิดอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก แต่การก่อ สร้างบุญกุศลของเราไม่มี บัดนี้ เป็นเวลาสมควรที่เราจะชำระคติ ถึงเวลา ของเราแล้ว การถูกต้องนรกเป็นทุกข์แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีบุญเป็นแน่แท้ ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปหาเจ้าของงาน ขอหยุดการงานวันหนึ่ง แล้วเข้าป่าใหญ่ ในกาลนั้น เราขนเอาหญ้า ไม้และเถาวัลย์มาแล้ว ตั้ง เสาไม้ขึ้นสามต้น ได้สร้างเป็นกุฎีหญ้า เราได้มอบถวายกุฎีนั้นเพื่อ ประโยชน์แก่สงฆ์ แล้วกลับมาหาเจ้าของ การงานในวันนั้นนั่นแล ด้วย กุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น เราได้ไปสู่ดาวดึงส์ วิมานอันบุญกรรมสร้างให้ แก่เราอย่างดีในดาวดึงส์นั้น นิรมิตให้เพราะกุฎีหญ้า เครื่องประดับพัน หนึ่ง ลูกคลีหนัง ๑๐๐ ลูก ธงสีเขียว พวงดอกไม้หนึ่งแสนพวง ปรากฏ อยู่ในวิมานของเรา เราอุบัติ ณ กำเนิดใดๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือ มนุษย์ ในกำเนิดนั้นๆ ปราสาท (ดังจะ) รู้ความดำริของเรา ผุดขึ้นตั้ง อยู่ ความกลัว ความครั่นคร้าม หรือขนลุกชูชัน ย่อมไม่มีแก่เรา เราไม่รู้ สึกความสะดุ้งหวาดเสียวเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฏีหญ้า ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาป่า และเสือดาว ทั้งปวง ย่อมละเว้น เรา นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฏีหญ้า สัตว์เสือกคลาน ภูตผีปีศาจ งู กุมภัณฑ์ และผีเสื้อยักษ์ แม้เหล่านั้น ก็ย่อมละเว้นเรา นี้เป็นผลแห่งการ ถวายกุฏีหญ้า เราระลึกไม่ได้ว่า ได้ฝันเห็นลามกเลย สติของเราตั้งมั่น นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฏีหญ้า เราได้เสวยสมบัติเพราะการถวายกุฏีหญ้า นั้นแล้ว ได้กระทำธรรมของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม ให้แจ้งชัด แล้ว ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วยกรรม นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฏีหญ้า คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระติณกุฏิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ติณกุฏิทายกเถราปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๗๐๐๖-๗๐๓๕ หน้าที่ ๓๒๓-๓๒๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=7006&Z=7035&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=339              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=339              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [339] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=339&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [339] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=339&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap339/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :