ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
นารทพุทธวงศ์ที่ ๙
ว่าด้วยพระประวัติพระนารทพุทธเจ้า
[๑๐] สมัยต่อมาจากพระปทุมบรมศาสดา พระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่า สรรพสัตว์ มีพระนามชื่อว่านารทะ เป็นบุคคลผู้ไม่มีใครเปรียบ เสมอ พระองค์เป็นพระเชษฐโอรสที่ทรงโปรดปรานของพระเจ้า- จักรพรรดิ ทรงสวมใส่อาภรณ์แก้วมณี เสด็จไปยังพระราชอุทยาน ในพระราชอุทยานนั้น มีต้นไม้โตใหญ่แผ่กิ่งก้านสวยงาม พระองค์ เสด็จถึงท่ามกลางพระราชอุทยานนั้นแล้ว ประทับนั่งภายใต้ต้นอ้อย ช้างใหญ่ ณ ที่นั้น เกิดพระญาณอันประเสริฐไม่มีที่สุด เปรียบด้วย วิเชียร ทรงพิจารณาสังขารทั้งเปิดเผยทั้งปกปิดด้วยพระญาณนั้นทรง ลอยกิเลสทั้งปวงโดยไม่เหลือ ณ ที่นั้น ทรงบรรลุพระโพธิญาณ ทั้งสิ้น และพระพุทธญาณ ๑๔ ครั้ง ครั้นทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ แล้ว ทรงประกาศธรรมจักร ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์ แสนโกฏิ เมื่อพระมหามุนีทรงปราบนาคราชผู้มีตัวโตเท่าเรือโกลน ใหญ่ ได้ทรงปาฏิหาริย์แสดงให้เห็นในมนุษยโลกพร้อมด้วยเทวโลก ในการที่ทรงประกาศธรรมแก่เทวดาและมนุษย์ครั้งนั้น เทวดาและ มนุษย์เก้าหมื่นโกฏิข้ามความสงสัยทั้งปวงได้ ในกาลเมื่อพระมหาวีร เจ้าตรัสสอนพระราชโอรสของพระองค์ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มี แก่เทวดาและมนุษย์แปดหมื่นโกฏิ พระนารทบรมศาสดาทรงมีการ ประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระสาวกแสนโกฏิมาประชุมกัน ครั้งที่ ๒ ในคราวเมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธคุณพร้อม ด้วยเหตุ พระสาวกผู้ปราศจากมลทินเก้าหมื่นโกฏิมาประชุม ครั้งที่ ๓ ในคราวที่เวโรจในนาคราชถวายทานแด่พระศาสดา พระ- สาวกชินบุตรแปดโกฏิมาประชุมกัน สมัยนั้นเราเป็นชฎิลผู้มีตบะ อันรุ่งเรืองถึงที่สุดในอภิญญา ๕ เหมาะไปในอากาศได้ แม้ครั้งนั้น เราก็ถวายข้าวและน้ำให้พระศาสดาเสวยพร้อมด้วยพระสงฆ์และ บริวารชนจนเพียงพอ แล้วได้บูชาด้วยไม้จันทน์ แม้พระนารทบรม ศาสดานายกของโลกพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราในครั้งนั้นว่า ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ............... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว มีใจยินดีอย่างยิ่ง อธิษฐานวัตรเป็นอย่างเลิศเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ พระนคร ชื่อว่าธัญญวดี พระมหากษัตริย์พระนามว่าสุเทพเป็นพระชนกของ พระนารทบรมศาสดา พระนางอโนมาเป็นพระชนนี พระองค์ทรง ครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อชิตะ วิชิตะ และอภิรามะ มีพระสนมนารีกำนัลใน สี่หมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนาม ว่าวิชิตเสนา พระราชโอรสพระนามว่านันทุตตระ พระองค์ผู้เป็น บุรุษอุดม ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวช ทรงบำเพ็ญ เพียรอยู่ ๗ วัน พระนารทมหาวีรเจ้าผู้เป็นนายกของโลก อันพรหม- ทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ธนัญชอุทยาน อันประเสริฐ ทรงมีพระภัททสาลเถระและพระชิตมิตตเถระเป็น พระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าวาเสฏฐะ เป็นพระพุทธุปัฏฐาก พระ อุตตราเถรีและพระผัคคุนีเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ ของพระองค์เรียกกันว่าไม้อ้อยช้างใหญ่ อุคครินทอุบาสกและวสภ อุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก อินทวรีอุบาสิกาและคัณฑีอุบาสิกา เป็น อัครอุปัฏฐายิกา พระมหามุนีมีพระองค์สูง ๘๘ ศอก มีพระรัศมีงามเช่น กับทองคำล้ำค่าสว่างไสวไปในหมื่นโลกธาตุ พระองค์มีพระรัศมีซ่าน ออกจากพระวรกายด้านละวา ซ่านออกไปทั่วทิศน้อยใหญ่ แผ่ไปไกล โยชน์หนึ่งทั้งกลางวันกลางคืนทุกเมื่อ สมัยนั้น ในระยะโยชน์หนึ่ง โดยรอบ ใครๆ ไม่ต้องตามประทีปโคมไฟ พระพุทธรัศมีส่องให้ สว่างจ้าในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรง ดำรงอยู่เพียงนั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏฏสงสารได้มากมาย พระศาสนาของพระองค์งามวิจิตรด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย เปรียบ เหมือนท้องฟ้าย่อมงามวิจิตรด้วยหมู่ดาว ฉะนั้น พระนราสภ พระองค์นั้นทรงสร้างสะพานไว้มั่นคง สำหรับให้คนที่เหลือดำเนิน ข้ามกระแสสงสารแล้วเสด็จนิพพาน แม้พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เหมือนพระองค์นั้น และพระขีณาสพผู้มีเดชเทียบไม่ได้เหล่านั้น ก็หายไปหมดสิ้นแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระนารทชินเจ้า ผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ สุทัสนนคร พระสถูปอันประเสริฐ สูง ๔ โยชน์ก็ประดิษฐานอยู่ ณ นครนั้น ฉะนี้แล.
จบนารทพุทธวงศ์ที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๗๖๕๙-๗๗๑๙ หน้าที่ ๓๒๘-๓๓๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=7659&Z=7719&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=201              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=190              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [190] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=190&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=51&A=5908              The Pali Tipitaka in Roman :- [190] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=190&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=51&A=5908              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :